คาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจครึ่งปีหลังต่อต้นปีหน้าแนวโน้มดี


ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารกสิกรไทยประเมิน สถานการณ์เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังน่าจะมีแนวโน้มดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะสถานการทางการเมืองมั่นคงขึ้น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ปริมาณการลงทุนภายในประเทศขยายตัว และปริมาณการบริโภคดีขึ้นแต่อาจมีปัจจัยลบบ้างที่สถานการการส่งออก อาจถูกกีดกัน จากต่างประเทศ เรื่องการที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ

           จากการสัมมนาเกาะติดลาดทุนค่าเงินและเศรษฐกิจไทย ดร. บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมาการขยายตัวเศรษฐกิจของไทย GDP ในไตรมาสแรกติดลบอยู่ที่ 0.6 % ทั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคอ่อนแอ นักลงทุนห่วงว่ารัฐไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้การบริโภคลดลง นักลงทุนไม่เสี่ยงที่จะลงทุน และการท่องเที่ยวขยายตัวลดลง อีกทั้งเศรษฐกิจโลกนั้นไม่ได้ฟื้นตัวมากที่สำคัญคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นไม่ส่งผ่านมาสู่ความต้องการใช้สินค้าต่างประเทศ บวกกับ เศรษฐกิจสหรัฐ ไม่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ขยายตัวในอัตตราที่ลดลง  ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าไทยในต่างประเทศไม่ขยายตัว การส่งออกจำกัดไม่ฟื้นตัว ช่วง5เดือนแรกของปีการส่งออกไทยติดลบ 1.2%  สุดท้ายคือ รัฐบาลมีข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้นโยบายการคลังไม่เคลื่อนตัว

           โดย ดร. บัณฑิต กล่าวต่อว่า เศรษกิจไทยในครึ่งปีหลัง จะมีทิศทางไปทางใด ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ เศรษฐกิจโลก การใช้จ่างของภาครัฐ และการใช้จ่างของภาคเอกชน ซึ่งประเมินว่า เศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังจะขยายตัวดีขึ้น เพราะนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักยังกระตุ้นการใช้จ่ายต่อไป ทำให้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งปัจจัยของสภาพอากาศหนาวที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวในครึ่งปีแรกหายไป และเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวโดย GDP ของจีน ไตรมาสที่2 ประมาณ 7.4 % เพราะฉะนั้น หากเศรษฐกิจสหรัฐและจีนฟื้นตัว การค้าระหว่าสงประเทศจะดีขึ้นทำให้ไทยส่งออกได้มากขึ้น การส่งออกไทยจะขยายตัว ซึ่ง IIF ประเมินว่าเศรษกิจโลกช่วงไตรมาสที่ 3-4 ตัวเลขจะเข้มแข็งกว่าไตรมาสที่ 1-2 โดยเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวช่วงไตรมาสที่ 3 ประมาณ 3.4 % ไตรมาสที่ 4 ประมาณ 3.1 % เทียบกับไตรมาสที่ 2 คือ 2.1 %   อีกทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่คาดว่าจะสูงขึ้น รัฐจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณที่ดี มีการเตรียมงบประมาณสำหรับปีหน้า มีความชัดเจนในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ยกเลิกนโยบายจำนำข้าวและมีนโยบายใหม่  ส่วนการใช้จ่ายภาคเอกชน ความเชื่อมั่นในการลงทุนจะมีมากขึ้น แต่การลงทุนและการใช้จ่ายอาจชะลอตัว สินเชื่อไม่ค่อยขยายตัว เพราะว่าสภาพคล่องระบบการเงินมีไม่มาก สถาบันทางการเงินอาจระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ประชาชนมีหนี้ครัวเรือนมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตรมีการชะลอตัว เป็นประเด็นที่ต้องจับตามองว่าแม้ภาครัฐจะใช้จ่ายดีขึ้นแต่ภาคเอกชนจะลงทุนและบริโภคมากขึ้นหรือไม่

            เมื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลัง เห็นได้ชัดว่าครึ่งปีหลังมีปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่าครึ่งปีแรกหลายประการ นั่นคือ จากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้น ทำให้เงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น อัตตราดอกเบี้ยในสหรัฐจะยังไม่เร่งตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองมีความมั่นคง รัฐมีความสามารในการจัดตั้งนโยบาย ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น

            ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดในครึ่งปีหลัง ประการแรกคือเศรษฐกิจสหรัฐและจีนอาจจะไม่ดีขึ้นอย่างที่คาดการณ์ไว้ ประการที่สองความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลางจะเกิดความเป็นห่วงที่ขยายตัวขึ้นและอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ โดยความขัดแย้งจะนำไปสู่การระมัดระวังในการทำการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งนักลงทุนไม่ชอบความไม่แน่นอนจึงเลือกที่จะไม่เสี่ยงลงทุน และความขัดแย้งนี้อาจจะมีผลกระทบไปถึงราคาน้ำมันให้ปรับสูงขึ้น ประการที่สามแม้ความเชื่อมั่นภายในประเทศจะดีขึ้น แต่ความเชื่อมั่นไม่ได้แปลงมาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภคน้อยลงเพราะระดับหนี้ที่มากขึ้น ประการที่สี่ ดอกเบี้ยต่างประเทศจะเริ่มขึ้นเพราะสหรัฐประกาศลดQEทำให้เงินทุนต่างประเทศที่สหรัฐเคยลงทุนไหลกลับ และประเทศไทยจะเกิดเงินทุนไหลออก ซึ่งกลางปีหน้าคาดว่าอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น

            จากการเสวนาทิศทางค่าเงินและอัตราดอกเบี้ย โดย ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายการลงทุนภูมิภาค 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คุณกอบสิทธิ์ ศิลปะชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย และ คุณกิตติ เจริญกิจชัยชนะ ผู้บริหารกลุ่มงานฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ธนาคารกสิกรไทย  คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตแน่นอน เพราะทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะใช้จ่ายมากขึ้น โดยส่วนสำคัญที่ช่วยเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวคือการส่งออก ซึ่งการส่งออกในปีนี้เติบโตขึ้นร้อยละ 3  คาดการณ์ว่าปีหน้าจะเติบโตกว่านี้แต่ยังไม่ถึงร้อยละ 10 เพราะเรามีข้อจำกัดทางด้านแรงงาน ต้นทุน และสินค้าที่เราส่งออกความต้องการของตลาดน้อยลง

             ประเด็นการตัด GSP ของยุโรปส่งผลต่อการส่งออกไม่มากนัก เพราะเราส่งออกไปยุโรปเพียง 9% และส่วนที่ถูกตัดจริงๆเพียง 4% ซึ่ง 4% นี้ใช่ว่าจะส่งออกไม่ได้  ขึ้นกับว่าสินค้ามีความเข้มแข็งของการผลิตเพียงไร เป็นความต้องการของตลาดหรือไม่ และได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากน้อยเพียงใด ซึ่งสินค้าที่มีปัญหาคือ กุ้งแช่แข็ง เรามีคู่แข่งคือเวียดนาม และเวียดนามยังได้สิทธิ GSP ทำให้สินค้าถูกกว่าฉะนั้นเราจึงเสียเปรียบ หนทางการแก้ไขคือ ต้องเจรจากับทางยุโรปเรื่องเขตการค้าเสรี ซึ่งขณะนี้ยังคงหยุดอยู่ที่ขั้นตอนการเจรจาเพราะ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ

            ส่วนค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐจะแข็งค่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจภายในสหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน สหรัฐมีอัตราว่างาน 5% และ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2%   ซึ่ง FED คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจะอยู่ที่ 2.1-2.3 % และในปีหน้า จะมีอัตราว่างงาน  5.4-5.7 % และมีอัตราเงินเฟ้อที่ 2% นั่นคือในปีหน้าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น คาดอยู่ที่ 3-5%  ซึ่งผลกระทบที่เราจะได้รับ คือกระทรวงการคลังอาจจะเจอศึกหนักเพราะเมื่อขาดดุลงบประมาณ ต้นทุนในการกู้เงินมาปิดงบประมาณจะสูงขึ้น ทำให้การปิดงบประมาณนั้นยากขึ้น

           เรื่องของอัตราค่าเงิน ดอลล่าร์/บาท คาดเงินบาทจะแข็งตัวขึ้นเสี่ยงต่อการส่งออก ส่วนค่าเงินยูโร/บาท มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 44.0 ไปอยู่ที่ 43.0 – 43.5  และค่าเงินเยน/บาท ยังคงที่ไม่มีการปรับตัว             

             เรื่องของอัตตราดอกเบี้ยในเมืองไทย โดยในปีนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.6% คาดการณ์ภายใน 3 ปีข้างหน้าจะยังไม่เพิ่มไปกว่า 2.6%  แต่อีก 2  ปีถัดไปคาดอัตราเงินเฟ้อจะเพื่มขึ้นเป็น 2.9%   เพราะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกรอบ หลังจากนั้นอัตราเงินเฟ้อจะลดลง ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อไม่สูงมากเพราะแบงค์ชาติเว้นช่องว่างไว้กระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้สามารถคงอัตราดอกเบี้ยไว้โดยที่ยังไม่ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ  แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศคือ สภาพคล่องภายนอกประเทศ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของโลกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสหรัฐถอดถอน EQ แบงค์ชาติอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ