ธุรกิจครอบครัวในเมืองไทย : ทายาทธุรกิจ และการก้าวข้ามทฤษฎี Buddenbrook Syndrome


 

ธุรกิจครอบครัว ในความหมายตามรายงาน Understanding Family Business : A practical guide for the Next Generation ของ Andrew Drake แห่ง Institute for Family Business คือ ธุรกิจที่ผู้ก่อตั้งหรือครอบครัวมีสิทธิในการออกเสียง (Voting Rights) เป็นเสียงข้างมาก ซึ่งหากพิจารณาตามคุณลักษณะข้างต้น จะพบว่าวิสาหกิจในประเทศไทย กว่าร้อยละ 80 คือ ธุรกิจครอบครัว ที่มีการกระจายตัวไปทุกกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ และมีขนาดตั้งแต่วิสาหกิจขนาดเล็กถึงองค์กรธุรกิจระดับประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่ม SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

 

ธุรกิจครอบครัว จึงถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจไทยมานับศตวรรษ และปัจจุบันธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยจำนวนมาก ได้มีการส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นที่ 1 (ผู้บุกเบิก และก่อตั้ง) ไปสู่รุ่นที่ 2 และในบางธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้เริ่มส่งผ่านธุรกิจสู่รุ่นที่ 3 และ 4

 

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ใช่ว่าธุรกิจครอบครัวจะประสบความสำเร็จทุกๆ ครอบครัวเสมอไป เพราะจากการศึกษาของ PricewaterhouseCoopers ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าอัตราการอยู่รอด (Survival Rate) ของธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 30 ของรุ่นที่ 1 และเหลือเพียงร้อยละ 12 และร้อยละ 3 ในรุ่นที่ 3 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนการอยู่รอดที่สอดคล้องกับทฤษฎี Buddenbrook Symdrome ที่ระบุว่าธุรกิจครอบครัวจะดำรงอยู่ได้ไม่เกิน 3 รุ่น

                                                   

ทฤษฎี Buddenbrook Symdrome

Buddenbrooks Syndrome คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับวัฏจักรธุรกิจครอบครัวที่นักวิชาการด้านการจัดการ ได้พัฒนาจากนวนิยายเรื่อง Buddenbrooks : The Decline of a Family ของ Thomas Mann ชาวเยอรมัน ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการและการล่มสลายของธุรกิจครอบครัว เพียงแค่การสืบทอดธุรกิจไปสู่ทายาทรุ่นที่ 4 เท่านั้น

Buddenbrook Syndrome จึงเป็นเสมือนฝันร้ายของธุรกิจครอบครัวในทุกประเทศ ที่ผู้ก่อตั้งย่อมต้องการจะรักษาธุรกิจครอบครัวให้มีพัฒนาการและความมั่นคงที่ยั่งยืน เพื่อให้ทายาทของครอบครัวได้สืบทอดต่อไป

หากแต่ปัจจัยสำคัญของความพร้อมที่จะสืบทอดธุรกิจครอบครัว คือ ความเป็นผู้ประกอบการ และความสนใจธุรกิจของครอบครัวของทายาทในรุ่นหลังๆ ที่มักจะมีคุณสมบัติดังกล่าวลดลง เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านความรับผิดชอบในแต่ละรุ่น รวมถึง ปัจจัยด้านความยากในการสืบทอดธุรกิจ ทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสื่อมถอย (Decline) ของธุรกิจครอบครัว ตามทฤษฎี Buddenbrooks Syndrome ในที่สุด

 

แม้ Buddenbrook Syndrome จะเป็นฝันร้ายของธุรกิจครอบครัว แต่บางครอบครัวสามารถที่จะก้าวข้ามกับดับหรือทฤษฎีดังกล่าวได้ หากผู้ก่อตั้งธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ได้เตรียมความพร้อมเพื่อการส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทอย่างเป็นระบบ เช่น การกำหนดระบบการสืบทอด และการคัดเลือกทายาทที่มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง หรือแม้แต่การยอมรับที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้นำธุรกิจในสถานะของ “นักบริหารมืออาชีพ” ก่อนที่จะผลัดเปลี่ยนให้ทายาทที่มีความพร้อมได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำธุรกิจของครอบครัวในอนาคต

ประยุกต์ระบบกงสี สู่ Family Council

กงสี คือ ระบบการบริหารผลประโยชน์ของครอบครัว ที่นิยมอย่างมากในกลุ่มธุรกิจครอบครัวของผู้ประกอบการที่มีเชื้อสายจีน

 

แต่เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป จึงมีธุรกิจครอบครัวจำนวนมากประยุกต์ระบบกงสี สู่ Family Council ที่มีแบบแผน หลักการ และรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นสากล มีความเป็นระบบ โปร่งใส และยุติธรรมแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมากขึ้น เช่น Family Council ของตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของและผู้บริหารธุรกิจค้าปลีก โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ ของกลุ่มเซ็นทรัลฯ ซึ่งได้พัฒนา Family Council ของตระกูลให้มีระบบที่เข้มแข็ง โปร่งใส ยุติธรรมแก่สมาชิกทุกคนของครอบครัว

และเมื่อสมาชิกในครอบครัวมีความสามัคคี ย่อมส่งผลให้การบริหารธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลฯ มีความก้าวหน้าและมั่นคง สามารถส่งต่อการบริหารธุรกิจมูลค่านับแสนล้านบาทจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างราบรื่น กระทั่ง การบริหารกลุ่มเซ็นทรัลฯ ในปัจจุบัน ดำเนินการโดยทายาทจิราธิวัฒน์ รุ่นที่ 3 และ 4

 

ธุรกิจครอบครัวในเมืองไทย หรือแม้แต่ในประเทศต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นได้จากความเป็นผู้ประกอบการของบุคคลหนึ่งๆ ที่มีความหลงใหล (Passion)  ในธุรกิจที่จะทำ และต้องการ “สร้างงาน” มากกว่า “ทำงานให้ผู้อื่น” ด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ หากแต่ความยากในการสร้างหรือพัฒนาธุรกิจ ไม่เท่ากับการดูแลให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง และรักษาธุรกิจสู่ทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 

                                  

 

ซึ่งเคล็ดลับการเริ่มต้นธุรกิจในฐานะผู้ประกอบการ และคำตอบของการดูแลรักษาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง เช่น MK สุกี้ โดยคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน หรือการบริหารธุรกิจครอบครัวให้ส่งต่อการบริหารจากรุ่นสู่รุ่นอย่างราบรื่นของกลุ่มเซ็นทรัลฯ โดยคุณทศ จิราธิวัฒน์ จะพบได้ในงานสัมมนา “Follow Your Dreams … Thai Entrepreneurs Go Global” และรับฟังปรัชญาการศึกษาในหลักสูตรที่เน้นการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ หรือ Master of Management in Entrepreneurship (MME) ในงาน “เปิดบ้าน BUSEM” ซึ่งจัดโดยคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUSEM) ร่วมกับ Babson College แห่งสหรัฐอเมริกา

 

ในวันพุธที่ 17 กันยายน 2557 ระหว่างเวลา 8.30 – 14.30 น. โรงแรมโฟร์ซีซั่น ถ.ราชดำริ กรุงเทพฯ

 

สำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ 02 350 3500 ต่อ 1795 หรือ http://www.smartsme.tv/busem/