การผลิตโซดาและน้ำดื่มของไทยหดตัวในระยะสั้น แต่ขยายตัวมากในระยะยาว


ดัชนีผลผลิตโซดาและน้ำดื่ม เดือน สิงหาคม 2557 หดตัวอยู่ที่ 1.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ย้อนกลับไป 10 ปี กลับมีการขยายตัวสูงถึง 32.8% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2553 อยู่ที่ 7.3%

โดยข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ พบว่า ดัชนีผลผลิตโซดาและน้ำดื่ม เดือนสิงหาคม 2557 หดตัวลงเพียง 1.4%  เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2556 และมีการหดตัวลงจากเดือนที่แล้วอยู่ที่  12.3% ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา หดตัวเพียง 1.2% เท่านั้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่กลับมีค่าเฉลี่ยขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2547-2556 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.8% และสูงสุดในช่วงเดียวกันของปี 53 อยู่ที่ 7.3%

ทั้งนี้ผลผลิตโซดาและน้ำดื่ม ในเดือนสิงหาคม 2557 มีปริมาณที่ 69.1 ล้านลิตร หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว มีการหดตัวลงเพียง 0.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และ 14.8% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยหากพิจารณาระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่ต้นปี ผลผลิตโซดาและน้ำดื่มมีปริมาณ 629.4 ล้านลิตร ซึ่งขยายตัว 3.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปี 53 อยู่ 13.2% และสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2447-2556

ส่วนในด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตโซดาและน้ำดื่มในเดือนสิงหาคมนี้ อยู่ที่ 81.7% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 88.4% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 91.8% ของเดือนก่อน หากพิจารณา 8 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 94.7% ซึ่งลดลงจาก 103.2% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าเฉลี่ยยังสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2547-2556 อยู่มากถึง 80.8%

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ดัชชีผลผลิตโซดาและน้ำดื่มในเดือนสิงหาคม 2557 จะหดตัวลง แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าตกใจเท่าใดนัก และเป็นเพียงการหดตัวในระยะสั้น ๆ เท่านั้น เนื่องจากค่าเฉลี่ยการเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันย้อนหลังไป 10 ปี คือปี 2547-2556 กลับมีอัตราที่สูงขึ้นมาก ถือได้ว่ามีแนวโน้มการเติบโตได้อีกมาก

นอกจากนี้สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มน้ำดื่ม อาจมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะนอกจากจะมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่สามารถเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้ยากแล้ว ยังมีแบรนด์เล็ก ๆ ในแต่ละภูมิภาค เริ่มมีการเปิดตัวมาตีตลาดมากยิ่งขึ้น และ House Brand ที่มีการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันต่าง ๆ จึงเป็นไปได้ยากในการทำการตลาดน้ำดื่ม ส่วนด้านผลิตภัณฑ์โซดา อาจมีคู่แข่งไม่มาก แต่กลับเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง โซดาตราสิงห์ ที่กินส่วนแบ่งทางการตลาดไปแล้วกว่า 80% เนื่องจากระยะเวลาในการก่อตั้งที่มีเวลานาน และผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ รวมถึงช่องทางการกระจายสินค้าที่แข็งแรง มีเครือข่ายขนาดใหญ่ในการส่งสินค้าถึงผู้บริโภค รวมถึงมีการจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับผู้ทำยอดขายได้สูงสุด จึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบที่ต้องการตีตลาดใหม่ ๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ แต่ใช่ว่าจะไร้ช่องทางในการทำการตลาด เพราะการรับรองจาก อย. ของไทยค่อยข้างมีมาตรสูง และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศ ดังนั้นการส่งออกไปต่างประเทศอาจเป็นอีกหนึ่งที่ช่วยเปิดตลาดใหม่ ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการตีตลาดผลิตโซดาและน้ำดื่มไทย