วันศุกร์, กันยายน 20, 2567

การค้าไทยในเวียดนาม น่าจับตามอง

by Smart SME, 7 พฤศจิกายน 2557

เวียดนาม ประเทศน่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทย จากจำนวนประชากรที่มากมาย และการเปิดประเทศที่ส่งผลให้ประชากรมีกำลังในการซื้อเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งค่าแรงที่มีราคาถูก รวมถึงการยกเว้นภาษีสำหรับการร่วมลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้เวียดนามเป็นที่น่าจับตามอง

ประเทศเวียดนามถือเป็นอีกหนึ่งประเทศอาเซียนที่น่าสนใจในการลงทุนทำธุรกิจ เนื่องจากจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับ 13 ของโลก ทั้งนี้หลังจากเปิดประเทศ ชาวเวียดนามมีกำลังการซื้อมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของชาวเวียดนามอยู่ที่ 28,860 พันด่อง หรือ 42,400 บาท ในด้านการขยายฐานการผลิต ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากแรงงานมีราคาถูก มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมันดิบ ซึ่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาค แร่ธาตุ ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม และประมงที่มีดีทั้งปริมาณ และคุณภาพ รวมถึงทรัพยากรในการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่าง ฮาลองเบย์ ที่ได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก ผนวกกับ เสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วประเทศไทย และเวียดนามยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอดในแง่ของการทำการค้า ทำให้ไทยค่อนข้างมีความได้เปรียบมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนในการเจาะตลาด เวียดนาม

 สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเจาะตลาดชาวเวียดนาม ควรมีการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวเวียนนามอย่างถ่องแท้ โดยพฤติกรรมชาวเวียดนามส่วนใหญ่ชอบซื้ออาหารสดจากตลาดสด หรือตลาดนัด ที่มีราคาไม่สูง ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ แต่ด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป บวกกับแม่บ้านต้องทำงานเช้า และเลิกงานตอนเย็น ซึ่งเวลานั้นตลาดสด หรือตลาดนัด ก็ปิดแล้ว จึงทำให้การซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น อีกทั้งชาวเวียดนามค่อนข้างใส่ใจในเรื่องสุขภาพ ความสะอาด และสุขอนามัย จึงนิยมซื้ออาหารในตลาดสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น และเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ โดยปกติแล้วชาวเวียดนามนิยมดื่มน้ำอัดลมมาก หนึ่งคน โดยเฉลี่ยดื่มน้ำอัดลมกว่า 1 ลิตร ใน 1 วัน แต่ปัจจุบันเริ่มมีการห่วงใยสุขภาพมากขึ้น และตระหนักในเรื่องของโรคเบาหวาน อาจส่งผลให้แนวโน้มน้ำอัดลมลดลงก็เป็นได้  ส่วนช่องทางการจัดจำหน่าย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ตลาดสด หาบเร่ ร้านขายของชำ เป็นต้น และร้านค้าสมัยใหม่ อย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้า  ซึ่งเวียดนามมีซูเปอร์มาร์เก็ตมากกว่า 600 แห่ง ศูนย์การค้ามากกว่า 100 แห่งและตลาดมากกว่า 8,500 แห่ง สำหรับการสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากชาวเวียดนามมีการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างยาก หากต้องการทำการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตอาจใช้ต้นทุนในการประชาสัมพันธ์สูงมาก ส่วนในด้านทัศนคติต่อสินค้าไทย ชาวเวียดนามส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทย ในด้านของคุณภาพ ราคาไม่แพง และอยู่ในเกรดดี เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศจีน แต่ถึงอย่างไรก็ตามประเทศไทยกลับมีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมาก เมื่อเทียบกับแบรนด์ อื่น ๆ จากต่างประเทศในเวียดนาม

ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศเวียดนามมีการวางแผนทั้งในระยะยาวและระยะสั้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม (Ministry of Planning and Investment: MPI) จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าในปี 2556 เวียดนามขยายตัวประมาณร้อยละ 5.4 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเป็นผลจากภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคการเกษตรทรงตัว นอกจากนี้รัฐบาลยังมีการดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลร้อยละ 7.1 ของ GDP จากปี 2555 ที่ขาดดุลร้อยละ 6.4 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งคลอดมาตรการอีกหลายอย่างเพื่อช่วยฟื้นฟูภาคการเงิน

ส่วนภาคการค้าต่างประเทศ จากข้อมูล CEIC และ GSO พบว่า รายได้จากการส่งออกของเวียดนามในปี 2556 มีมูลค่า 132.1 พันล้านดอลลาร์  ขยายตัวร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยมีการเพิ่มขึ้นของสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ ร้อยละ 67.0 สิ่งทอและเสื้อผ้า สำเร็จรูป อยู่ที่ร้อยละ 24.3 สินค้าอิเล็คทรอนิกส์และส่วนประกอบ ร้อยละ 35.9 รองเท้า ร้อยละ 15.1 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 132.1 พันล้านดอลลาร์  ขยายตัวร้อยละ 16.1 ทั้งนี้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 34.1 ผ้าผืน ร้อยละ 18.3 โทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ ร้อยละ 60.0 เม็ดพลาสติก ร้อยละ 18.8 วัตถุดิบสำหรับสิ่งทอและเครื่องหนัง ร้อยละ 19.4 เวียดนามเกินดุลการค้า 9,400 ล้านดอลลาร์  และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 6.5 ของ GDP แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เวียดนามมีเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในปี 2556 มูลค่าการลงทุน 22.4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 นักลงทุนสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น

โดยนโยบายด้านการค้าและการลงทุนของเวียดนาม มีกฏระเบียบ  และมาตรการทางการค้าหลายประการที่แม้จะไม่ขัดต่อกติกาสากล แต่มาตรการบางอย่างก็เป็นอุปสรรคต่อการค้าจากต่างประเทศได้ เช่น การกําหนดโควต้าสินค้านําเข้า หรือมาตรการสุขอนามัยสําหรับสินค้านําเข้าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น สำหรับนโยบายด้านภาษีในส่วนของภาษีส่งออกและนำเข้า สินค้าที่ต้องเสียภาษีได้แก่ การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติและเศษเหล็ก เรียกเก็บอัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 45 ส่วนภาษีนำเข้ามีการเก็บสินค้าอุปโภคบริโภคในอัตราสูง โดยเฉพาะสินค้า ฟุ่มเฟือย ในขนาดที่สินค้าประเภทเครื่องจักรกล และวัตถุดิบที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม มีการเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำ หรือไม่เก็บเลย นอกจากนี้หากเป็นธุรกิจที่ร่วมลงทุนกับต่างชาติ BCC จะได้รับการยกเว้นภาษี ในการนำเข้าเครื่องจักร

                อนึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าทำธุรกิจในเวียดนามคือต้องรู้จักประเทศเวียดนามอย่างถ่องแท้เสียก่อน โดยเฉพาะภาษาที่ใช้เนื่องจากต้องมีการติดต่อสื่อสารในการทำธุรกิจกัน และควรทำความเข้าใจกับกฏระเบียบด้านการค้าการลงทุนของเวียดนามเป็นอย่างดี นอกจากนี้เข้าใจอุปนิสัยของชาวเวียดนามด้วย เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้การเจรจาทางการค้าราบรื่น และสำเร็จไปได้ด้วยดี


Mostview

ย้อนเส้นทาง Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดที่มี KFC เป็นคู่แข่งสำคัญ

เฟซบุ๊ก Texas Chicken Thailand ได้โพสต์ข้อความว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่ดีของ Texas Chicken ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เราดีใจที่มีโอกาสได้เสิร์ฟความสุขให้กับทุกท่าน

คำตอบอยู่ที่นี่! เพราะอะไร OR ถึงเลือกปิดกิจการ Texas Chicken

หลังจาก Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดสัญชาติสหรัฐฯ มีอันต้องปิดฉากธุรกิจกว่า 9 ปีในประเทศไทย เหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ โดยทุกสาขาจะปิดตัวลงวันที่ 30 กันยายน 2567 นี้

เมืองหลวงควันและฝุ่นมากมาย รู้จัก “DustBoy” รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปรู้จักกับผลงาน “เครือข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy สำหรับระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ระดับชุมชน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมาช้านาน

ไขกลยุทธ์ McDonald’s ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทำตู้สั่งอาหาร สร้างทั้งรายได้-ประสบการณ์ลูกค้า

เมื่อพูดถึงแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดีอย่าง McDonald’s หากมองในแง่มุมของธุรกิจ หลายคนอาจมองว่านี่คือแบรนด์ที่ติดตลาดไปเป็นที่เรียบร้อย เพราะเมนูอย่างเบอร์เกอร์ ตลอดจนโปรโมชันต่าง ๆ ได้เข้าไปอยู่ในใจ

SmartSME Line