SMEs มีความสำคัญต่อรากฐานของเศรษฐกิจไทยถึง 99% โดยเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง 11,700 ราย และบริษัทขนาดใหญ่มีค่อนข้างน้อยมาก ดังนั้นรากฐานของประเทศที่เห็นได้ชัดเลยคือธุรกิจขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง ในบรรดา SMEs ขนาดเล็ก จากข้อมูลพบว่าอยู่ในภาคบริการ 82% ภาคการผลิต 8% จึงเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ผู้ประกอบการของไทย ทำงานด้านการบริการเป็นจำนวนมาก
โดยม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาถึงเรื่อง การเป็นผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จว่า ต้องมีช่องส่งเสริมใหม่ ๆ สำหรับช่วยส่งเสริม และต้องใช้ IT พิเศษ รวมถึงการส่งเสริมด้านการเงินจำเป็นมาก หน่วยงานต่าง ๆ มีหน้าที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เราจะโตไปได้ต้องดูแลหลายด้านโดยได้ฝากหลักเศรษฐศาสตร์เมืองพุทธ เพื่อผู้ประกอบการ SME ว่า “อันดับแรก ต้องดูแลลูกน้องให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับที่เขาได้ทุ่มแรงกายกาย แรงงานให้แก่เรา ต่อมาคือดูแลลูกค้าให้พอใจ และต้องไม่ลืมดูแลคุณภาพสินค้าและบริการ ให้คุ้มค่ากับกำลังเงินที่ลูกค้าจ่าย ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยรอบองค์กร ทั้งนี้หมายถึงการทำ CSR อาจช่วยส่งเสริมชุมชนโดยรอบ เพื่อให้เกิดความประทับแก่องค์กร ข้อนี้จะสามารถลดปัญหาด้านความขัดแย้งต่อบุคคลภายนอกได้ รวมถึงการไม่เอาเปรียบตนเอง ทำงานแต่พอดี และไม่ทำให้ตนเองต้องเดือนร้อนทั้งเรื่องสุขภาพ และเรื่องอื่น ๆ”
สำหรับพื้นฐานสำคัญของ SMEs ผู้ประกอบการควรมี ความขยัน ต่อมาคือแผนธุรกิจ และความมีวินัยทางการเงิน เป็นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จแล้วส่วนใหญ่มีทุกคน และถึงแม้ว่าจะมีความสามารถและบุคคลิกที่พึงมีในตัวของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าเป็นการยากมากหาก SMEs เล็ก ๆ จะต้องเข้าแข่งขันในตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต้องปรับตัวกับการผันแปรต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นโจทย์ที่ยากกว่าเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมามาก เพราะเมื่อ 4-5 ปีก่อน ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลายหลากและเข้มแข็งมาก โดยสังเกตจากภาคการส่งออกนั้นสูงมาก มีการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และช่วยทำให้ SMEs มีตลาดการค้าเกิดขึ้นจากความสนับสนุนทางด้านเทคนิคและการตลาดจากบริษัทแม่ที่เข้ามาลงทุน
ดังนั้นปัจจุบันนี้ SMEs จึงต้องปรับตัว เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเริ่มจากการเสริมสร้างตนเองก่อน ในด้านความรู้ คือสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มสมรรถนะในหลาย ๆ ด้าน ให้ดีขึ้น คุณโฆษิต ปั่นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า “สำหรับผู้ประกอบการไทยนั้นอ่อนเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเพิ่มทักษะในด้านนี้ และต้องพยายามใช้คู่แข่งขันให้เป็นพันธมิตรทางการค้า ซึ่งในต่างประเทศทำกันอย่างมากมาย แต่ประเทศเราไม่ค่อยมี แต่ SMEs สมควรทำมาก เพื่อให้เราสามารถสู้กับบริษัทที่ใหญ่กว่าได้ด้วยการใช้ความร่วมมือจากธุรกิจเล็ก ๆ หลายธุรกิจมารวมมือกัน จะทำให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่ และสามารถนำพาธุรกิจให้สามารถดำเนินไปได้และมีการเติบโต”
รวมถึงผู้ประกอบการต้องมีการบริหารบุคลากร ในหลาย ๆ ธุรกิจมีการบริหารจัดการบุคลากรน้อยมาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากการหาบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพได้ยาก จึงส่งผลให้ SMEs หลายท่านมีความสุขที่จะไม่ขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น และประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการจัดการด้านการตลาด จากหนังสือของธนาคารกรุงเทพชื่อเรื่อง “ผู้ประกอบการ ขุนพลเศรษฐกิจตัวจริง” โดยชื่อหนังสือแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจขับเคลื่อนเดินหน้าไปได้ด้วยผู้ประกอบการ เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการต้องเกิดการปรับตัว และการปรับที่ดีที่สุด คือไม่จำเป็นต้องแก่งแย่งกันมากนัก เพียงแต่ต้องรักษาระดับความสามารถของตัวเองให้ดี ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นสิ่งสำคัญ และมีความพร้อมอยู่เสมอ ด้วยการวางแผนเป็นอย่างดี แผนการธุรกิจ การจัดการ การบริหารตามความถนัด และลักษณะของตัวผู้ประกอบการเอง
โดยคุณอาทิตย์ วุฒคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เสริมในเรื่องของ ดิจิตอล SMEs ซึ่งเป็นนโยบายเรื่องการผลักดันดิจิตอล 5 แผนปฏิบัติการ ดิจิตอล SMEs ว่า “จะมีการสร้างผู้ประกอบการใหม่ด้านดิจิทัล (New Digital Entrepreneur) เพื่อการให้ความรู้ เตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ IT โดยมีเป้าหมาย 500 คน ต่อมาคือเอสเอ็มอีอัจฉริยะ (Intelligence SMEs) เป็นการนํา IT มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของธุรกิจ SMEs ที่มีอยู่แล้วให้เข้าสู่การตลาดระดับสากลมากยิ่งขั้น โดยนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพมีเป้าหมายรวม 480 กิจการ รวมถึงการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่มีศักยภาพสามารถ ทําการตลาดด้วยสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์ ผ่านกระบวนการอบรมและให้คําปรึกษาแนะนําในการใช้สื่อออนไลน์ ดิจิทัลเพื่อวิสาหกิจชุมชน (Digital OTOP) เพื่อสามารถนําเสนอวัฒนธรรม อัตลักษณ์และภูมิปัญญาเข้าสู่ตลาดระดับสากลได้ในเบื้องต้นอย่างน้อย 70 ผลิตภัณฑ์ พร้อมกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Knowledge Society)เป็นการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจและมีองค์ความรู้ในด้าน IT และการดําเนินธุรกิจกิจโดยใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจโลกไซเบอร์ (Cyber Service Provider) เป็นการอบรมพัฒนากลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจจํานวน 60 คนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดําเนินธุรกิจในโลกออนไลน์
ส่วนด้านสภาอุตสาหกรรม คุณสุพันธุ์ มงคลสุธ ประธารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมไม่ได้ดูแลแต่บริษัทใหญ่ ๆ แต่เราดูแล SMEs เป็นหลัก ทุกหน่วยงานของเราได้มีการร่วมกันเพื่อจะขับเคลื่อน SMEs ให้ก้าวไกลต่อไป ปัจจุบันเรามี ICTI สถาบันเทคโนโลยีและการสื่อการเพื่ออุตสาหกรรมซึ่งดูแลส่งเสริมภาคเทคโนโลยีสารสนเทศภาคอุตสาหกรรมโดยตรง ทั้งE-Commerce โดยเราประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมโดยตรง ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมจะเป็นส่วนนึงที่ช่วยให้ท่านบรรลุได้ในระดับหนึ่งนะครับ”
แท้จริงแล้วธุรกิจ SMEs เป็นฟันเฟื่องเล็ก ๆ หลาย ๆ ชิ้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวไปข้างหน้า และสามารถช่วยลดความเหลือบล้ำทางสังคมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธุรกิจ SMEs สามารถสร้างงานและเพิ่มชนชั้นกลางได้มากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมรายได้ในเข้าประเทศด้วยธุรกิจเล็กหลาย ๆ ธุรกิจรวมกัน ดังนั้น SMEs จึงมีความสำคัญมากในการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ หากผู้ประกอบมีศักภาพสูงเท่าใดก็จะหนุนนำประเทศเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจได้มากเท่านั้น และสามารถเติบโตเพื่อยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างสง่างาม