ตลาดโลกขานนาม น้ำตาลไทย เป็น Unwanted sugar


สถานการณ์น้ำตาลไทยน่าเป็นห่วง จากปัญหาน้ำตาลทรายน้ำหนักไม่มคุณภาพ ในสายตาตลาดโลก ถูกเรียก Unwanted sugar กระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายกรมการค้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการควบคุมดูแลเครื่องชั่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน

โดยน้ำตาลทรายของไทยขาดคุณภาพด้านน้ำหนัก ซึ่งถูกมองไม่ดีในสายตาของตลาดโลก โดนเรียกว่า Unwanted sugar หรือแปลเป็นไทยแบบตรงตัวคือ น้ำตาลที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์จึงได้มอบหมายให้กรมการค้าภายแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในการ ชั่ง วัด ตวง ควบคุมดูแลเครื่องชั่งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และอีกประเด็นปัญหาคือราคาน้ำตาลผันผวนมาก จากผลของการซื้อขายของนักเก็งกำไรที่วิตกกับ D&S ของตลาด

จากข้อมูลกรมศุลกากร ปริมาณการส่งออกในตลาดสินค้าประเภทน้ำตาลทรายลดลง โดยปริมาณการส่งออกน้ำตาลทราย ปี 2557 อยู่ที่ 4.66 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีปริมาณ 5.25 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 11 โดยส่งออกไปประเทศ อินโดนีเซีย 26% ญี่ปุ่น 12% มาเลเซีย 9% เกาหลีใต้ 8% และ กัมพูชา 8% ทั้งนี้ เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตของไทยลดลง ผนวคกับสต๊อกน้ำตาลในตลาดโลกมีจำนวนมาก จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้นผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐควรพัฒนาศักยภาพในส่วนที่ควรปรับปรุงก่อนที่สินค้าไทยจะมีปริมาณการส่งออกลดลง ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกิดผลเสียแก่เศรษฐกิจของประเทศแน่นอน ทั้งนี้สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ แนะนโยบายและมาตรการของไทย ในด้านการส่งออก ผู้ประกอบการควรขออนุญาตส่งออก และผู้ส่งออกต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลโดยเฉพาะ ซึ่งจะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ส่วนด้านการนำเข้าน้ำตาลทราย ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลง ดังนี้

  1. ตามข้อผูกพันของ WTO ปี 2557 ปริมาณการนำเข้าในโควตา 13,760 ตัน ภาษีนำเข้าร้อยละ 65 และภาษีนอกโควตาร้อยละ 94 ซึ่งค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 47 ให้ให้ใช้ตารางผูกพันสินค้าปี 2547 ไปจนกว่าจะมีข้อผูกพันใหม่ อีกทั้งต้องมีปริมาณการนำเข้าตามข้อตกลง WTO ปี 2557 คือ  242.35 ตัน
  2. ตามความตกลงไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) ปี 2557 ปริมาณนำเข้าในโควตาอยู่ที่ 3,244.54 ตัน ภาษีร้อยละ 26 ภาษีนอกโควตาร้อยละ 84.6 ทั้งนี้อัตรานอกโควตา WTO หัก MOP ร้อยละ 10
  3. ตามความตกลงไทย และนิวซีแลนด์ (TNZCEP) ปี 2557 ในเรื่องการไม่จำกัดปริมาณ ภาษีร้อยละ 0
  4. ตามความตกลงไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) ปี 2557 ด้านปริมาณนำเข้าในโควตาตามข้อผูกพัน WTO ภาษีในโควตาน้ำตาลอ้อยร้อยละ 0 ส่วนนอกโควตาร้อยละ 94
  5. ตามความตกลงอาเซียน-เกาหลี (AKFTA) ปี 2557 ปริมาณนำเข้าในโควตาตามข้อผูกพัน WTO ภาษีในโควตา ร้อยละ 14.44 นอกโควตาร้อยละ 94 ส่วนการนำเข้าทั่วไป ต้องขออนุญาตนำเข้าและเสียภาษีนำเข้า 3.50 ต่อกิโลกรัม

ประเทศไทยถือได้ว่าอยู่ในกลุ่มผู้ผลิต และผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก มีทรัพย์กรเพียงพอต่อการผลิต และภูมิอากาศที่เหมาะสม หากการส่งออกน้ำตาลลดลง ไม่เพียงแต่ผู้ส่งออกเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ กลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ก็จะได้รับผลกระทบจากส่วนนี้เช่นกัน และปัจจุบันประเทศคู่แข่งมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นประเทศไทยจึงไม่สามารถนิ่งนอนใจกับปัญหานี้ได้