ดอลล่าร์ฯ ผงาด แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปี


เงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเงินไทยในปี 2558 อยู่ที่ 32.92 บาทต่อดอลล่าร์ฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มการผันผวนของเงินบาทไม่เกิน 32.85-33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่อย่างไรก็ดียังต้องจับตาดูปัจจัยการเปลี่ยนแปลงหลักจากฝั่ง สหรัฐอเมริกา และยูโรโซน

                จากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เมื่อปี 2008 ดัชนีค่าเงินดอลล่าร์ฯ มีการอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการยกเลิกการทำ QE เดือนละ 85,000 ล้านดอลล่าร์ฯ ส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์ฯ มีการปรับแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 89% ทั้งนี้ยังเป็นการแข็งค่าสูงสุดในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินบาทของไทยเปิดตัวอยู่ที่ 32.95 บาทต่อดอลล่าร์ฯ เงินหยวนอยู่ที่ 6.2 หยวนต่อดอลล่าร์ฯ  เงินเยน สูงถึง 118.83 เยนต่อดอลล่าห์ฯ ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ 0.84 ยูโรต่อดอลล่าร์ ทั้งนี้ยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักเพราะยังต้องรอดูปัจจัยการเปลี่ยนแปลงหลักจากฝั่ง สหรัฐอเมริกา และยูโรโซนก่อน

นอกจากนี้ค่าเงินดอลล่าร์ยังแข็งค่ามากกว่าเงินยูโรขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยหนุนอย่างหนึ่งมาจาก สถานะการณ์ทางการเมืองของประเทศกรีซ ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง เพราะกำลังมีการเลือกตั้งใหม่ และพรรคที่มีแนวโน้มชนะการเลือกตั้งสูงคือ พรรคไซรีซา ซึ่งไม่ใช่รัฐบาลชุดเดิม ทั้งนี้ พรรคไซรีซา มีนโยบายที่ต่อต้านการรัดเข็มขัดของประเทศ หากได้รับการเลือกตั้งเกรงว่าจะเกิดการผ่อนปรนนโยบายรัดเข็มขัด และยกเลิกการปฏิรูปแผนการคลัง ซึ่งแน่นอนว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานะทางการเงินของประเทศอย่างแน่นอน

สำหรับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย กับอยู่ที่ 32.92 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ (USD) ยังถือว่าค่อนข้างทรงตัว โดยจากสถิติที่ผ่านมา อัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินไทยเคยสูดสุดอยู่ที่ 51 บาท (THB) ต่อ 1 ดอลล่าร์ (USD) เมื่อปี 2546 และต่ำที่สุดอยู่ที่ 28.56 บาท (THB) ต่อ 1 ดอลล่าร์ (USD) ในปี 2556 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มเงินบาทอาจมีการผันผวนของเงินบาทไม่เกิน 32.85-33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องจับตาปัจจัยต่าง ๆ ของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเด็นทางการเมืองของกรีซ ยูโรโซน และดัชนี PMI ภาคบริการของประเทศอื่นๆ ด้วย

                ทั้งนี้ทั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินย่อมส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงผู้ประกอบการควรติดตามข้อมูลการผันผวนของค่าเงินอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมมีผลกระทบกับผู้ประกอบการแตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบของธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่สามารถประมาทได้เลย ในโลกของการแข่งขันเช่นนี้