จีพีดีเกษตรหดตัว ส่อเค้ากำลังซื้อภูมิภาคทรุด


         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระลอกใหม่ เน้นสร้างรายได้และกระตุ้นการจ้างงานในชุมชน TMB Analytics ประเมินโครงสร้างรายได้และกระตุ้นการจ้างงานชุมชนตำบลละ 1 ล้านบาทภาคอีสานน่าจะได้เงินอัดฉีดมากที่สุด

         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระลอกใหม่ เน้นสร้างรายได้และกระตุ้นการจ้างงานในชุมชน ทั้งส่วนส่วนที่ได้รับการเห็นชอบแล้วคือโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชมในพื้นที่แล้งซ้ำซาก โดยจัดสรรงบประมาณให้ตำบลละ 1 ล้านบาท จำนวน 3,052 ตำบล ใน 58 จังหวัด วงเงินรวมค่าบริหารจัดการทั้งสิ้น 3,174 ล้านบาท

          TMB Analytics ประเมินว่า หากแต่ละตำบลได้รับการอนุมัติโครงการเต็มจำนวน เม็ดเงินส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในภาคอีสานเป็นหลักกว่า 2,000 ล้านบาทเนื่องจากมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรุนแรงราวร้อยละ 70 จากทั้งหมด 3,052 ตำบลที่ประเมินโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนเม็ดเงินที่เหลืออีกกว่า 1,000 ล้านบาท จะกระจายเข้าสู่พื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้งรุนแรงในภาคกลาง ภาคเหนือ และสุดท้ายที่ภาคใต้ ทั้งนี้จากจำนวนเกษตรกรทั้งประเทศประมาณ 23 ล้านคน หากประเมินเม็ดเงินต่อรายที่เกษตรกรได้รับ โดยอิงจากจำนวนเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ จะพบว่าเม็ดเงินที่ได้รับเฉลี่ยต่อรายสูงที่สุดคือ ภาคอีสาน คิดเป็นเงิน 190 บาท ภาคกลางและภาคเหนือได้รับรายละ 128 บาท และ 84 บาท ตามลำดับ สำหรับภาคใต้เกษตรคาดว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือต่อรายน้อยที่สุด เพียง 15 บาท เท่านั้น เนื่องจากมีพื้นที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่าภาคอื่นๆ

         โดยมีการพิจารณาถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งอิงจากโครงสร้างรายจ่ายของเกษตรกรที่สำรวจโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อประเมินว่าเม็ดเงินทัง้ หมดจานวน 3, 052 ล้านบาท พบว่า เกือบร้อยละ 50 ของรายได้ที่ได้รับเกรษตรกรมรการนำไปซื้อปัจจัยการผลิตการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น ร้อยละ 35 และด้านอื่น ๆ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ชาระหนี้ ฉะนั้น หากคำนวนกลับมาเป็นเม็ดเงินจะเห็นได้ว่า จำนวนเงินเกือบ 2,000 ล้านบาทถูกหมุนเวียนอยู่ในเศรษฐกิจชุมชน ส่วนเงินอีก 1,000 ล้านบาทเกษตรกรจะใช้จ่ายเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตทำการเกษตร

          แม้โครงการเน้นสร้างรายได้และกระตุ้นการจ้างงานในชุมชน ตำบลละ 1 ล้านบาท อาจก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินดังที่ประเมินข้างต้น แต่คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.2 ของจีดีพีภาคเกษตรเท่านั้นซึ่งช่วยพยุงเศรษฐกิจได้เพียงระดับหนึ่ง ทั้งนี้สภาพัฒน์ฯ ประกาศจีดีพีภาคเกษตรกรรมหดตัวถึงร้อยละ 4.1 จากผลผลิตของปาล์มน้ำมันและสับปะรดที่ออกสู่ตลาดลดลง รวมถึงการลดพื้นที่เพาะปลูกยางพารา เนื่องจากราคาที่ตกต่ำลงมาก ราคาที่ลดลงของสินค้าเกษตรหลายชนิด ยังคงเป็นปัจจัยฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภคในเขตภูมิภาค