วิกฤติภัยแล้ง’58 จ่อซ้ำเติมกำลังซื้อเกษตรกรทรุด


        ปัญหา 2 เด้ง จ่อซ้ำเติมกำลังซื้อเกษตรกร TMB Analytics คาดหากภัยแล้งลุกลาม อาจฉุดกำลังซื้อเกษตรให้ทรุดลงอีกเกือบ 1 พันบาทต่อครัวเรือน จกปัญหาผลผลิตลดลงมาก

        ในประเทศไทยปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นทุกปี และมีพื้นที่ทางการเกษตรเสี่ยงบ่อยครั้งถึง 3 ใน 4 เกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ ในปีนี้เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำสุดในรอบ 5 ปี และอีกปัญหาคือ หากภัยแล้งมีความรุนแรง ซึ่งจะซ้ำเติมเกษตรกรถึง 2 ต่อ ส่งผลให้กำลังในการซื้อทรุดหนักกว่าเดิม เนื่องจากผลผลิตลดลงมาก

        จากข้อมูลของทางการในวันที่ 18 ก.พ. 58 ระบุว่า ระดับน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางอยู่ที่ร้อยละ 60 และร้อยละ 57 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำ ที่กักเก็บในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 5 และ ร้อยละ 11 ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณฝนในปี 2557 น้อยกว่าปีก่อนหน้า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ  ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วิเคราะห์เชิงพื้นที่ ได้ผลประเมินว่าพื้นที่เกษตรใน 58 จังหวัดจำนวน 16.17 ล้านไร่ อาจประสบความแห้งแล้งในปี 2558 แบ่งออกเป็น ภาคอีสาน 12.61 ล้านไร่ ภาคเหนือ 1.50 ล้านไร่ ภาคกลาง 1.19 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 0.81 ล้านไร่ และภาคใต้ 0.06 ล้านไร่

        ทั้งนี้ TMB Analytics ประเมินว่าหากภัยแล้งในปี 2558 สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่พื้นที่การเกษตรจำนวน 16.17 ล้านไร่ อาจก่อใหเกิดความเสียหายคิดเป็นเงินสูงสุดถึง 5.8 พันล้านบาท ร้อยละ 0.4 ของจีดีพีภาคการเกษตรราคาปัจุบัน ซึ่งหมายความว่าเกษตรกรทั่วประเทศจะมีรายได้ลดลงเกือบ 1 พันบาทต่อครัวเรือน หรือมีรายได้ลดลงเฉลี่ยรายละ 251 บาท

         อย่างไรก็ดีภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงดังกล่าว จึงได้ประกาศมาตรการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพื่อเน้นการสร้างรายได้ และกระตุ้นการจ้างงานในชุมชน ตำบลละ 1 ล้านบาท จำนวน 3,052 ตำบล ในวงเงิน 3,174 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.2 ขอจีดีพีภาคเกษตร TMB Analytics ได้ทำการคำนวนออกมาเป็นเงินช่วยเหลือภัยแล้งสำหรับเกษตรกรต่อราย เฉลี่ยรายละ 133 บาท ทั้งนี้สถานการร์ภัยแล้งยังเป็นสถานการณืที่ยังคงต้องจับตามองต่อไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่แล้งที่สุด