3 ขั้นตอนส่งออก ที่ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด


         การส่งออกสามารถสร้างรายได้มหาสารให้กับผู้ประกอบการ เพราะเป็นการขยายช่องทางการขายได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยเช่นกัน เพราะยิ่งผู้ประกอบการสามารถส่งออกได้มาเท่าใด จะยิ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศได้มากเท่านั้น

 3 ขั้นตอนการส่งออกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าออกสู่ภายนอกประเทศ แต่ยังไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนที่ 1 หาข้อมูล

        ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก ต้องทราบว่าสินค้าของตนนั้นตรงกับพิกัดศุลกากรระบบ HS พิกัดใดในระดับ 8-10 หลัก และรายการสินค้านี้เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ทั้งนี้ต้องศึกษาด้วยว่าหน่วยงานใดของไทยเป็นผู้รับผิดชอบ และมีกฎหมายหรือระเบียบใดที่ควบคุมสินค้านี้อยู่ สำหรับหน่วยงานสามารถให้คำปรึกษาได้ คือ “กระทรวงพาณิชย์” นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดการนำเข้าสินค้าของประเทศที่ต้องการส่งออกด้วย ว่ามีกฎหมายควบคุมอยากไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 2 เริ่มต้นทำธุรกิจส่งออก

        เป็นขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้

1. ผู้ประกอบการต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือ ในสายตาผู้นำเข้าจากต่างประเทศ

2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง

3. การจดทะเบียนตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าที่จำหน่าย เช่น หากผู้ประกอบการต้องการส่งออกผลไม้สด หรือแช่แข็ง ต้องไปจดทะเบียนสวนผลไม้เพื่อการส่งออกที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหากต้องการส่งออกดอกไม้ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 พิธีการศุลกากร

         พิธีศุลกากร คือ ขั้นตอนในการนำสินค้าเข้าหรือออกนอกประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  โดยผู้ส่งออกบางรายอาจต้องการใช้บริการของ “ตัวแทนออกของศุลกากร” หรือ Customs Broker หรือ Shipping Agent เพื่อทำหน้าที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ทั้งนี้พิธีศุลกากรมี 2 ระบบคือ ระบบ Manual และระบบ EDI สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรมีดังนี้

1. การขอใบรับรองทางด้านความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า

2. การขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้นำเข้าได้รับการลดหย่อนภาษีศุลกากรในตอนนำเข้า

3. ติดต่อจองเรือบรรทุก หรือเครื่องบิน ในกรณีที่ต้องขนส่ง พร้อมทำเรื่องการประกันภัยสินค้า

4. วางแผนจัดการส่งออกตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อระบุไว้ในหนังสือสั่งซื้อสินค้าที่เรียกว่า L/C หรือ Letter of Credit ให้ถูกต้อง

5. จัดทำเอกสารเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องมีเอกสารต่อไปนี้

–  ใบขนสินค้าขาออก

–  บัญชีราคาสินค้า

–  บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ (Packing List)

–  คำร้องขอให้ในการตรวจสินค้าและบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์