ISMED เผยภาวะเศรษฐกิจเดือน มค.-กพ. 58 ที่ผ่านมาหดตัวลงต่อเนื่อง


ISMED หรือสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยสถานการณ์ด้านธุรกิจภาคการค้า และบริการ มีมูลค่าการส่งออกหดตัวลงตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า ไม่ว่าจะเป็นตลาดอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มสหภาพยุโรปก็มีทิศทางหดตัวลง ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ว่า มีค่าดัชนี 40.3 ซึ่งปรับตัวลดลงจาก 48.9 ในเดือนก่อน โดยองค์ประกอบปรับตัวลดลงคือ กำไร การลงทุน การจ้างงาน และยอดจำหน่าย เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเท่าไรนัก รวมไปถึงทางด้านการส่งออกที่เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็ยังคงปรับตัวลดลง อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

ดังนั้นหากเปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นทั้ง 4 ภาคธุรกิจ ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาค การค้าและบริการ (TSSI) ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) พบว่า ดัชนีTSSITISI CCI ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน แต่ยกเว้น CCI ที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าว และยางพาราที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจนการส่งออกและการท่องเที่ยวยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ภายใต้ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้กำลังซื้อโดยรวมทั่วประเทศยังปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก นอกจากนี้ส่วนทางด้านภาคอุตสาหกรรมมีดัชนีผลผลิตมูลค่าเพิ่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่เพียง 79.6 ได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.1 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันในส่วนของการจัดตั้งกิจการใหม่ก็ได้ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.0 และมีการยกเลิกกิจการมีจำนวน 1,113 ราย ซึ่งขยายตัวสูงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 72.8

สำหรับทางด้านการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาพบว่า SMEs มีมูลค่าการส่งออก 144,055.38 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 5.7 เมื่อ เทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ถ้าหากอยู่ในรูปของดอลล่าร์สหรัฐฯ จะมีทิศทางหดตัวลงร้อยละ 10.7 ทั้งนี้สำหรับสินค้าสำคัญที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์และส่วนประกอบ หมวดของทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ส่วนตลาดสำคัญมีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการขยายตัวการส่งออกเพิ่มขึ้น

 

ส่วนข้อสังเกตที่น่าสนใจของสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถสังเกตได้ดังนี้

 1. มูลค่าการส่งออกหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มสหภาพยุโรปก็มีทิศทางหดตัวลง ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการขยายตัวร้อยละ 4.4 อีกทั้งสินค้าส่งออกรายการสำคัญของ SMEs ไทยยังคงเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง จากราคาสินค้าส่งออกที่ลดต่ำลง

2. การส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรของ SMEs ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ลดลง ร้อยละ -12.5 (YoY) ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าหมวดยาง และของทำด้วยยาง ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของไทยได้หดตัวลง ร้อยละ 43.5 (YoY) เช่นกัน เนื่องจากผลผลิตที่มีปริมาณมาก และความต้องการในตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร

3. สาเหตุที่มีอัตราการขยายตัวของการยกเลิกกิจการสูงถึงร้อยละ 72.8 (YoY) เป็นผลจากการเข้มงวดกิจการค้าสลากโดยบังคับผู้ที่จดทะเบียนจัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงทุกประเภทที่เกี่ยวกับธุรกิจ ค้าสลากต้องแสดงหลักฐานยืนยัน ส่งผลให้เดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจค้าสลาก เพียง 3 รายเท่านั้น ขณะที่มีการจดทะเบียนเลิกเพิ่มขึ้นถึง 446 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 149 มีนาคม 2558

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาวะทางเศรษฐกิจของไทยตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 มีการหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจภาคการค้าและบริการที่มีอัตราลดลง ฉะนั้นผู้ประกอบการทุกคนควรมีการวางแผนระบบการผลิต  และควรติดตามความคืบหน้าภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์จะได้หลีบหลีกความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว