เป้าหมายสูงสุดของการดำเนินการจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจตลอดโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) คือเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความคงอยู่ในระยะยาวของทั้งองค์กรสมาชิกภายในกลุ่มคู่ค้า เพื่อที่จะบรรลุผลผลิตสูงสุดในระยะยาว วัตถุประสงค์เร่งด่วนของปฏิบัติการโลจิสติกส์ธุรกิจคือทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมวลรวมทั้งอุปทานและสนองต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคและลูกค้าประจำ
ลักษณะสำคัญของโลจิสติกส์ คือสามารถสนองความต้องการของลูกค้าที่ดีกว่า, การประหยัดมากขึ้น, ความเชื่อถือได้และความปลอดภัย ที่ทำให้มั่นใจถึงการส่งมอบสินค้าที่ถูกต้อง, การบริการที่ประทับใจและสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็ว ด้วยการออกแบบสถานที่และเวลาตามเงื่อนไขที่ต้องการ, จำนวนสินค้า ต้นทุนและราคาที่ลูกค้ายอมรับได้ ถ้าองค์กรสามารถจัดหาและสนองลูกค้าหรือผู้บริโภคด้วยการบริการโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพตามที่เขาต้องการ ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน
ในบทความนี้มุ่งเน้นเพื่อการสำรวจถึงหลักการจัดการโลจิสติกส์ที่สามารถช่วยให้องค์กรได้รับความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดยุคโลกาภิวัฒน์อย่างยั่งยืน
โลจิสติกส์เชิงบูรณาการ
นิยามของการจัดการโลจิสติกส์ที่ใช้ในที่นี้อ้างอิงจาก The Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP), Supply Chain and Logistics Terms and Glossary Update October 2006, www.cscmp.org หมายถึงกระบวนการวางแผนการปฏิบัติงานและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งล่วงหน้าและย้อนกลับของการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บสินค้า, การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจากการบริโภคสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโลจิสติกส์และอนาคต ที่มุ่งเน้นไม่เพียงแต่โลจิสติกส์ขาเข้า โลจิสติกส์ขาออก, การเคลื่อนที่ของสินค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กรแล้ว ยังรวมถึงโลจิสติกส์ขากลับ และโลจิสติกส์สีเขียวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
นิยามนี้เป็นความชัดเจนที่เป็นจริงของกระบวนการโลจิสติกส์ว่าควรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลข้ามสายงานทั้งระบบองค์รวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นระบบที่กระชับที่สุดด้วย การกระจายต้นทุนจากสายการขนส่งและการกระจายสินค้าในระยะทางที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเหตุนี้จึงไม่มุ่งเน้นเพียงการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำสุดและรวดเร็วที่สุดหรือลดสินค้าคลังให้เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องมุ่งระบบการบูรณาการและการประสานงานตามแนวทางกระบวนการโลจิสติกส์ การยอมรับของแนวคิดต้นทุนรวมโลจิสติกส์ได้เปลี่ยนความสำคัญเชิงความสัมพันธ์ของความแตกต่างในกิจกรรมโลจิสติกส์ ตัวอย่างเช่นแนวทางต้นทุนรวมได้นำไปสู่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างการให้บริการขนส่งกับต้นทุนการปฏิบัติงานของสิ่งอำนวยการที่ใช้และมีความสำคัญมากกว่า
ถึงแม้ว่าจากบทนิยามโลจิสติกส์องค์รวมที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็ยังไม่แสดงถึงการประนีประนอมของกิจกรรมเหล่านี้ ระบบที่พยายามขยายผลต้นทุนต่ำสุด ในขณะที่มีการสนองความต้องการของลูกค้าได้ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ถูกต้อง แต่ก็ควรจะสอดคล้องกับบริบทของจุดหมายทั่วไปด้วย จากมุมมองขององค์กรจุดมุ่งหมายสูงสุด ควรเป็นความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
ด้วยพันธกิจให้ได้ต้นทุนต่ำและกำไรสูงสุด ดังนั้นจะต้องขจัดความสูญเปล่าและสูญเสียทั้งหมด และไม่ควรรวมถึงต้นทุนจำเป็นที่มีผลต่อรายได้ การลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่มีเหตุผล ถ้ากำไรของปีก่อนน้อยกว่าการลดต้นทุน ในทางเดียวกันการยอมรับในการเพิ่มต้นทุนโลจิสติกส์ได้ก็ต่อเมื่อส่งผลต่อรายได้ที่สูงมากขึ้นในอัตราส่วนที่น่าพึงพอใจ ตัวอย่างเช่น ค่าขนส่งทางอากาศที่เลือกใช้ที่สนองความต้องการลูกค้าได้ดีกว่า แทนที่จะเลือกใช้รูปแบบการขนส่งทางเรือที่ถูกกว่า และการลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง รวมทั้งลดระยะเวลาการทำงานก็สามารถเพิ่มผลกำไรได้อีกด้วย
บทบาทการเพิ่มมูลค่าของโลจิสติกส์
อรรถประโยชน์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ คืออรรถประโยชน์ด้านตัวผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์โดยกิจกรรมการผลิต, อรรถประโยชน์ด้านสถานที่และเวลา สร้างโดยกิจกรรมโลจิสติกส์และอรรถประโยชน์ด้านกระบวนการสร้างโดยกิจกรรมการตลาด
1. อรรถประโยชน์ตัวผลิตภัณฑ์ เป็นผลมาจากเมื่อวัตถุดิบเชื่อมโยงเข้าสู่กระบวนการผลิตแปลงสภาพจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า
2. อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ สามารถมองเห็นคุณค่าได้จากความสามารถมีสินค้าได้ในสถานที่สามารถสนองความต้องการลูกค้าโลจิสติกส์สร้างอรรถประโยชน์จากสถานที่โดยการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่ ซึ่งแหล่งผลิตที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์หรือสร้างส่วนเกินสินค้าไปยังสถานที่ ซึ่งมีกระบวนการใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือขาดแคลนสัมพันธ์กับความต้องการ ตัวอย่างเช่น ลักษณะที่แน่นอนของวัตถุดิบอาจจะมีการกระจายสินค้าจำนวนน้อยและการแยกส่วนทางภูมิศาสตร์จากโรงงานผลิต เพื่อที่จะดำเนินกระบวนการผลิต แล้วขนส่งไปยังจุดรวบรวมสินค้าในสถานที่ใกล้ที่สุด การผลิตสินค้าที่มากเกินความจำเป็นในสถานที่โรงงาน จึงต้องกระจายสินค้าด้วยการจัดส่งไปยังสถานที่ที่มีความต้องการสินค้าเพื่อเชื่อมต่อกับจำนวนสินค้าที่มีอยู่ในระยะเวลาอันสั้น อรรถประโยชน์จากสถานที่ คือ มูลค่าเพิ่มของสถานที่โดยการจัดส่งสินค้าจากสถานที่ที่ไม่มีความต้องการไปยังสถานที่ที่ต้องการสินค้า
3. อรรถประโยชน์ด้านเวลา โลจิสติกส์สร้างอรรถประโยชน์จากเวลาโดยการจัดเก็บและแล้วจัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ต้องการในเวลาที่ลูกค้ากำหนดไว้
4. อรรถประโยชน์ด้านกระบวนการ เป็นการสร้างตลอดกิจกรรมการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ โลจิสติกส์สนับสนุนและสร้างอรรถประโยชน์ในกระบวนการ เพราะว่าอรรถประโยชน์ด้านสถานที่และเวลาเป็นความต้องการที่มีมาก่อน เพื่อจัดให้มีสินค้าสนองลูกค้าและจัดส่งสินค้าในสถานที่และเวลาที่ลูกค้าต้องการ
ส่วนเกินของผู้บริโภค
ความตั้งใจของผู้บริโภคในการจ่ายเงินสะท้อนถึงคุณค่าของเงินต่อผลิตภัณฑ์ และความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผู้บริโภคตั้งใจจ่ายกับราคาที่จ่ายจริง สำหรับสินค้าเป็นที่ทราบกันว่าเป็นส่วนเกินของผู้บริโภค มูลค่าสูงสุดของเงินที่ลูกค้าตั้งใจจ่าย คือ สิ่งสำคัญที่เกิดจากอรรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังจากข้อเสนออรรถประโยชน์ต่อหน่วย คือ การเห็นแนวโน้มจากการบริโภคส่วนเพิ่มของหน่วยการผลิตในช่วงเวลาที่กำหนด จึงเกิดส่วนเพิ่มของผู้บริโภค เพราะว่าผู้บริโภคมีความตั้งใจเพื่อจ่ายสำหรับส่วนเพิ่มต่อหน่วยนี้ที่ขึ้นอยู่กับจุดที่เกิดคุณค่าจากอรรถประโยชน์ของหน่วยสุดท้ายเท่ากับราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากลูกค้าขององค์กรที่ได้รับประโยชน์จากหน่วยงานโลจิสติกส์สามารถเปิดเผยแนวโน้มความตั้งใจจ่ายสำหรับหน่วยส่วนเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในช่วงเวลาให้ไว้ ตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดความสามารถภายในคลังสินค้าและสิ่งอำนวยการอื่นๆ อาจจำกัดจำนวนสินค้าของธุรกิจที่มีอยู่จริงที่สามารถจัดการสินค้าส่วนเกินทำให้สูญต้นทุนโอกาสและจำนวนผลิตที่มากเกินจะส่งผลต่อความด้อยประสิทธิภาพโลจิสติกส์ทางปฏิบัติ
มุมมองด้านคุณค่า
คุณค่าของผู้บริโภคจะต้องกำหนดจากมุมมองของลูกค้าบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญต่อลูกค้า ได้แก่องค์ประกอบหลากหลายด้านราคา, ต้นทุนรวม, การใช้งานและผลประโยชน์การเป็นเจ้าของหรือการใช้สินค้าหรือบริการ
มุมมอง 4 ประการ ของความแตกต่างของคุณค่าที่ลูกค้าพึงจะได้รับ ดังนี้
1. ราคาถูก ลูกค้าต้องการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการในราคาที่คุ้มค่า มิตินัยสำคัญสูงสุดของคุณค่าดูเหมือนว่าเป็นจำนวนเงินที่น้อยสำหรับลูกค้าที่ต้องจ่าย แต่ได้รับสินค้าหรือบริการจำนวนมาก
2. ความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ ลูกค้าต้องการคุณค่าในประโยชน์ใช้งานสูงสุดในตัวสินค้าที่มีคุณภาพตามข้อกำหนด
3. คุณภาพที่คุ้มค่า ลูกค้าต้องการคุณค่าจากคุณภาพผลิตภัณฑ์ในการแลกเปลี่ยนกับราคาที่ต้องจ่าย เป็นคุณค่าที่สมควรได้ในการชั่งน้ำหนักระหว่างคุณภาพกับราคา
4. สิ่งที่รับคุ้มค่ากับสิ่งที่ให้ลูกค้าต้องการคุณค่าจากสินค้าหรือบริการตามคาดหวังที่คุ้มค่า โดยพิจารณาจากผลประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ รวมทั้งความเสียสละ หรือต้นทุนที่จ่ายด้วยโลจิสติกส์มีกี่วิธีอะไรบ้าง
การบริการลูกค้า
การบริการผู้บริโภคดำเนินการด้วยความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวของกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด ความพึงพอใจของผู้บริโภคเกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตหรือจัดหาบริการ การตลาดและความพยายามของโลจิสติกส์ให้ประสบความสำเร็จรวมทั้งการเพิ่มคุณค่าที่พอเพียงเพื่อป้องกันผู้บริโภคหนีไปซื้อจากผู้อื่น ความพึงพอใจของลูกค้า คือปฏิกิริยาทางบวกต่อสินค้าหรือบริการ ที่ขึ้นอยู่กับส่วนเกินของคุณค่าที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการที่มากกว่าบางมาตรฐานที่นำเสนอ
ความคาดหวังของผู้บริโภคของสินค้าและบริการแต่ละองค์ประกอบของระบบโลจิสติกส์ขององค์กรสามารถมีผลกระทบต่อสิ่งที่ผู้บริโภคได้สินค้าที่ถูกต้อง, บริการที่ถูกต้อง, สารสนเทศที่ถูกต้อง, ณ สถานที่ที่ถูกต้อง, ในเวลาที่ถูกต้อง, เงื่อนไขและจำนวนที่ถูกต้อง, และด้วยราคาที่ถูกต้อง การบริการผู้บริโภคที่เหมาะสมต้องการระบบโลจิสติกส์ที่มีการจัดการที่ดี เพื่อที่จะจัดหาระดับความจำเป็นของลูกค้าและความพึงพอใจของลูกค้า ณ จุดต้นทุนรวมต่ำสุด ระดับของการรักษาผู้บริโภคไว้ได้นี้จะต้องทราบถึงการตอบสนองผู้บริโภคด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงบวก โดยความต้องการแสดงความพึงพอใจกับคุณค่าของสินค้าและบริการ ปฏิกิริยาเหล่านี้สามารถสนับสนุน ส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ขึ้น หรือปรับปรุงความสามารถทำกำไรของกิจการได้ ตัวอย่างเช่น การตอบสนองผู้บริโภคจากการซื้อซ้ำ, ความภักดีของผู้บริโภคด้วยคำพูดที่สร้างสรรค์ในการเจรจาสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการ
ติดตามอ่าน บทความ
โลจิสติกส์ สร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืน : ฐาปนา บุญหล้า (ตอนที่ 2) >>> คลิ๊ก <<<