ติดตามอ่าน บทความ
โลจิสติกส์ สร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืน : ฐาปนา บุญหล้า (ตอนที่ 1) >>> คลิ๊ก <<<
การกำหนดประเด็นสำคัญยิ่งของผลปฏิบัติการบริการโลจิสติกส์ คือ ความเหมาะสม, การเข้าถึงได้ง่าย, ความปลอดภัยของสินค้า, เวลาดำเนินการ, ความเชื่อถือได้และความยืดหยุ่นได้
1. ความเหมาะสม สิ่งนี้คือความสามารถในการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยการ ได้แก่ รถขนส่ง การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บของสินค้าพิเศษ หรือสิ่งของที่ต้องการ ตัวอย่างของความเหมาะสมเป็นสิ่งอำนวยการจัดเก็บที่สามารถจัดหาวิธีการควบคุมอุณหภูมิ หรือความชื้นเครื่องมือการเคลื่อนย้ายพิเศษและยานพาหนะที่สามารถลำเลียงบรรจุของพิเศษได้
2. การเข้าถึงได้ง่าย สิ่งนี้คือความสามารถในการจัดหาบริการระหว่างสิ่งอำนวยการพิเศษและเพื่อการได้สัมผัสจากการเข้าถึงสิ่งอำนวยการบริการ การกำหนดความเหมาะสมและการเข้าถึงได้ง่ายของผู้จัดหาสามารถดำเนินการสนองตามความต้องการบริการด้านโลจิสติกส์ได้อย่างสะดวก
3. ความปลอดภัยของสินค้า สิ่งนี้เกี่ยวกับสินค้าที่จัดส่งในเงื่อนไขทางกายภาพและจำนวน เมื่อมีการส่งมอบสำหรับการจัดเก็บและจัดส่งความไม่มั่นคงของการบริการโลจิสติกส์อาจจะส่งผลต่อต้นทุนเสียโอกาส หรือการเพิ่มผลผลิต เพราะว่าสินค้ามีไม่เพียงพอต่อการขาย หรือการใช้งานหรือจะต้องขายในราคาต่ำกว่าที่ตั้งไว้
4. เวลาดำเนินการ สิ่งนี้เป็นการรู้จากเวลาส่งมอบสินค้า ที่เป็นเวลารวมเริ่มตั้งแต่เมื่อรับคำสั่งซื้อแล้ว จัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า รวมถึงเวลากระบวนการคำสั่งซื้อ การนำของขึ้นรถ การจัดส่ง การเคลื่อนย้ายและเคลื่อนที่ระหว่างจุดกำเนิดจนถึงปลายทางที่ตรงต่อเวลา
5. ความเชื่อถือได้ สิ่งนี้อ้างถึงความสม่ำเสมอของช่วงเวลาดำเนินการ การจัดหาเป็นการบันทึกข้อพิสูจน์หรือชื่อเสียงของการจัดหาเพื่อการรักษาเวลานำในการจัดส่งที่สม่ำเสมอในการเตรียมการล่วงหน้ของกระบวนการคำสั่งซื้อ การจัดของและเวลาการส่งมอบสินค้า
6. ความยืดหยุ่นได้ สิ่งนี้คือบทพิสูจน์ความสามารถ ความพร้อมและความตั้งใจ เพื่อจัดการความผันแปรอย่างมีประสิทธิผลในคำสั่งซื้อ และจำนวนสินค้าที่จัดส่ง เวลาส่งมอบและที่ตั้งในการส่งมอบ โดยปราศจากความสูญเสียที่เป็นนัยสำคัญของประสิทธิภาพทั้งหมด
เวลาดำเนินการที่สั้นลง ความเชื่อถือที่สูงขึ้น ความยืดหยุ่นที่มากขึ้น นำไปสู่ระดับสินค้าคงคลังต่ำลง และต้นทุนการขาดสินค้าต่ำลง จากนั้นก็จะกลายเป็นแหล่งที่ได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
การศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และความมั่งคั่งภายในโซ่อุปทานได้มีการระบุไว้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการจัดการอย่างโลจิสติกส์ ให้สร้างโซ่อุปทานเพื่อการสนับสนุนความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของทั้งโซ่อุปทาน ยิ่งกว่านั้นเพื่อปรับปรุงความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของทุกองค์กรสมาชิกในกลุ่มโซ่อุปทาน
2. วิธีการบรรลุความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน คือการสร้างคุณค่าองค์กรรวมสำหรับกลุ่มลูกค้าสมาชิกในการเพิ่มส่วนเพิ่มที่เสนอโดยคู่แข่งขัน
3. คุณค่าของผู้บริโภค คือการสร้างความสัมพันธ์และการประสานงานเพื่อปรับปรุงการประหยัดต้นทุน หรือประสิทธิผลของการบริการในวิถีที่มีมูลค่าสูงสุด แก่ลูกค้าหลักขององค์กร
4. ความตั้งใจเพื่อจ่ายให้กับคุณค่ามิใช่สิ่งที่ติดกับสินค้าเท่านั้น แต่ยิ่งกว่าการกำหนดโดยมุมมองของลูกค้าและลูกค้าประจำ
5. เพื่อความสมบูรณ์ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนในมุมมองคุณค่าของลูกค้าและลักษณะสินค้าที่ต้องการโดยตัวมันเอง
6. มุมมองคุณค่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของผู้บริโภคองค์กรจะต้องแยกแยะกลุ่มผู้บริโภคว่ามีความสำคัญ สำหรับความสำเร็จ ในระยะยาวและการปรับความสามารถตอบสนองเพื่อการส่งมอบคุณค่าที่สำคัญแก่ลูกค้า
7. การแข่งขันของสมาชิกในกลุ่มสามารถปรับปรุงได้ ถ้าเพียงแต่ละสมาชิกพยายามสร้างให้เกิดการประหยัดและประสิทธิผลการบริการลูกค้าสูงขึ้น
8. การส่งมอบคุณค่าผู้บริโภคในมิติที่ให้ความสำคัญแก่ผู้บริโภคดีกว่าการแข่งขันจะนำไปสู่ความพึงพอใจของผู้บริโภคและความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
9. ด้วยความพึงพอใจของลูกค้าจำเป็นและการบรรลุความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน องค์กรในการที่โซ่อุปทานหนึ่งมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเพื่อมีทางเลือกและตอบสนองในวิถีทางที่ปรับปรุงผลปฏิบัติการทางการเงินแก่ทุกองค์กรสมาชิกในโซ่อุปทานเดียวกัน
การสร้างความมั่งคั่งองค์รวม
1. ตัวขับเคลื่อนการสร้างความมั่งคั่ง กลยุทธ์โลจิสติกส์ธุรกิจ กลวิธีและการปฏิบัติการสามารถส่งเสริมความมั่งคั่งในระยะยาวขององค์กรใน 4 พื้นที่ ได้แก่การเติบโตของรายได้ การลดต้นทุนปฏิบัติการ ประสิทธิภาพของการใช้เงินทุนและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
2. การเติบโตของรายได้ โลจิสติกส์ในการบริการผู้บริโภคสามารถมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนยอดขายและการรักษาลูกค้าโดยตรงถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ความเป็นไปได้ในการกำหนดความสัมพันธ์ร่วมที่แท้จริงระหว่างระดับการบริการลูกค้าและจำนวนยอดขาย จากการศึกษามากมายได้แสดงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่าง 2 ตัวแปรข้างต้น การสนับสนุนการบริการผู้บริโภค (ในเงื่อนเวลาของความเชื่อถือได้และการตอบสนองลูกค้า) สามารถเพิ่มความสามารถทำกำไรที่ผู้บริโภคจะยังคงภักดีต่อผู้ค้า จากประสบการณ์บอกเราว่าระดับการรักษาลูกค้าที่สูงกว่าได้นำไปสู่การเพิ่มยอดขาย ลูกค้าชอบที่จะสั่งซื้อเพิ่มสัดส่วนกับผู้ค้าผู้ซึ่งให้บริการที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
3. การลดต้นทุนการปฏิบัติงานการมีศักยภาพเป็นนัยสำคัญสำหรับการประหยัดต้นทุนการดำเนินงานโลจิสติกส์ทั้งหมด สัดส่วนจำนวนมากในหลายธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยการปฏิบัติการโลจิสติกส์การประหยัดต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการคลังสินค้า ต้นทุนคุณภาพ (ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อและการผลิตที่แตกต่างขนาดการผลิต) ต้นทุนระบบสารสนเทศและต้นทุนความสูญเสียโอกาสของการจัดเก็บสินค้าศักยภาพทั้งหมดที่สามารถเพิ่มกำไรจากการดำเนินงาน นวัตกรรมโลจิสติกส์ที่สามารถลดต้นทุน ดังเช่น แรงกดดันของเวลาในโซ่อุปทานจะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริหารระดับสูง องค์กรต้องตระหนักอยู่เสมอถึงการส่งเสริมสนับสนุนการประหยัดเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
4. ประสิทธิภาพของการใช้เงินทุนหมุนเวียนโลจิสติกส์สามารถมีอิทธิพลต่อความต้องการเงินทุนผลหมุนเวียน โดยทั่วไปความยาวของโซ่อุปทานได้สะสมจำนวนสินค้าคงคลังด้วยไปในตัว การขยายเวลาของการติดต่อธุรกรรมและความถูกต้องของกระบวนการสั่งซื้อและใบส่งของสามารถมีผลโดยตรงต่อความสามารถการเก็บเงินที่ตรงเวลา การเก็บเงินที่เร็วขึ้นและมีสินค้าต่ำลงเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินสำหรับโอกาสการลงทุนอื่นๆ ด้วย ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสามารถลดลงทั้งเวลา กดดันในหน่วยงานโลจิสติกส์และการปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องของวงจรเวลาเงินสด (ตัวอย่างเช่น เวลาตั้งแต่การจ่ายเงินชำระค่าจัดซื้อพัสดุ จนกระทั่งขายสินค้าสำเร็จรูปได้และเก็บเงินได้) เวลาวงจรเงินสดอาจจะเกินหกเดือนในหลายอุตสาหกรรมการผลิต ควรมุ่งเน้นการลดเวลาในหน่วยงานโลจิสติกส์ เมื่อไม่ก่อเกิดมูลค่าเพิ่ม การลดเงินทุนหมุนเวียนก็สามารถจะบรรจุผลได้
4.1. ประสิทธิภาพการใช้เงินทุนคงที่โลจิสติกส์เป็นผลลัพธ์ของเงินทุนและในหลายองค์กรที่สร้างโอกาสสำหรับการลดสินทรัพย์ที่สำคัญการลงทุนในยานพาหนะ อุปกรณ์เคลื่อนย้ายและสิ่งอำนวยการ เช่น สถานที่ทำงาน สถานีและคลังสินค้า) ที่มีนัยสำคัญ เมื่อไรก็ตามที่มีการลดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็ควรได้รับการพิจารณา ศึกษาความเป็นไปได้ของมูลค่าเพิ่มที่คาดหวัง โดยการชักนำกลยุทธ์ทางเลือกที่ควรตรวจประเมินก่อน
4.2. ตัวอย่างของกลยุทธ์การสร้างความมั่งคั่ง
แผนงานการขับเคลื่อนของผู้ประกอบการรายหนึ่งเป็นตัวอย่างของกลยุทธ์การสร้างความมั่งคั่งภายในองค์กรธุรกิจ เมื่อการไปปฏิบัติอย่างประสบความสำเร็จผู้ผลักดันแผนงานให้ มีศักยภาพเกิดมูลค่าเพิ่มภายในองค์กรตลอดทั่วทั้งองค์กรของการสร้างความมั่งคั่ง
แผนงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ้างกิจกรรมขนส่งทั้งยานพาหนะและคนขับผู้ซึ่งไม่ใช่พนักงานขององค์กร ในหลายกรณีลักษณะเป็นเอกเทศเหล่านี้ คือการใช้พนักงานภายนอกองค์กรผู้ซึ่งปฏิบัติการจัดส่งสินค้าอย่างอิสระ (ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม)
เป้าหมายเบื้องต้นของแผนงานขับเคลื่อนด้วยตนเองเป็นการสนับสนุนองค์กรให้สามารถทำกำไรได้ในระยะยาวตลอดการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นสามารถส่งผลบรรลุเป้าหมายการประหยัดต้นทุนและการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน การประหยัดต้นทุนได้เป็นการบรรลุเป้าหมาย โดยการดำเนินการบทบาทการขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น การเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนอาจส่งผลจากข้อเท็จจริงให้องค์กรได้รับโอกาสมุ่งเน้นทำเฉพาะสมรรถนะหลักของธุรกิจและผู้ประกอบการ เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดผลผลิตสำหรับตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ประการที่สองแผนการขับเคลื่อนของผู้ประกอบการยังสามารถลดปัญหาแรงงานและกระจายอำนาจไปยังบุคลากรอีกด้วย
กิจกรรมหลักโลจิสติกส์ธุรกิจ
การเคลื่อนไหวของสินค้าและสารสนเทศ ระหว่างจุดเริ่มและจุดสุดท้ายการบริโภคหรือการประยุกต์ใช้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพยากรณ์อุปสงค์ การเลือกพื้นที่อำนวยการและการออกแบบ การจัดหา การเคลื่อนย้ายพัสดุ การบรรจุภัณฑ์ การจัดการคลังสินค้า การจัดเก็บสินค้าคงคลัง กระบวนสั่งซื้อ การสื่อสารโลจิสติกส์ การขนส่ง การกำจัดของเสีย การจัดการคืนสินค้าและชิ้นส่วนและการสนับสนุนการบริหาร
1. การพยากรณ์อุปสงค์ การพยากรณ์อุปสงค์เกี่ยวโยงไปถึงกระบวนการของการกำหนดมูลค่าของสินค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดธุรกิจอนาคตของการตลาด การผลิต และโลจิสติกส์
การพยากรณ์การตลาดของอุปสงค์ในอนาคตเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาด การจัดสรรการสนับสนุนการขาย กลยุทธ์ราคา กิจกรรมวิจัยตลาดและการจัดตารางและขนาดการผลิตที่เหมาะสม
ตารางการผลิตกำหนดจากกลยุทธ์ความต้องการของผู้บริโภค การตัดสินใจในสินค้าคงคลัง และขนาดกำลังการผลิตที่ถูกต้อง ในสายงานที่สอดคล้องกับการพยากรณ์การตลาด
การจัดการโลจิสติกส์ได้พยากรณ์ปริมาณความต้องการแต่ละรายผลิตสินค้าที่จะต้องจัดส่งสินค้าไปยังตลาดที่หลากหลายการจัดการโลจิสติกส์จำต้องกำหนดอุปสงค์จะเกิดขึ้นที่ไหนเพื่อที่จะได้สนองด้วยจำนวนสินค้าที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของตลาด การรู้ระดับอุปสงค์ในอนาคตทำให้ผู้จัดการโลจิสติกส์สามารถวางแผนกิจกรรมบริการที่สนองอุปสงค์ได้อย่างถูกต้อง
2. การคัดเลือกพื้นที่อำนวยการและการออกแบบ ลักษณะ แผนผัง ที่ตั้งจำนวนและความสามารถของสิ่งอำนวยการถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพิจารณาประการแรกเริ่ม จากการคัดเลือกพื้นที่ตั้งขององค์กรที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและการตลาด สถานที่อำนวยการขายที่ใกล้ตลาดขององค์กรจะสามารถปรับปรุง การบริการลูกค้าได้ดีกว่าสัดส่วนที่ตั้งสิ่งอำนวยการสามารถทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลงตั้งแต่ที่ตั้งโรงงานผลิตวัตถุดิบ หรือขั้นตอนการจัดหาตลาดทั้งเครือข่ายจนถึงผู้บริโภค ความต้องการของผู้บริโภคและที่ตั้งของวัตถุดิบและแหล่งทรัพยากรอื่นๆ คือ สิ่งสำคัญเมื่อพิจารณาทางด้านการนำสินค้าโรงงานการจัดเก็บวัตถุดิบและการกระจายสินค้าขององค์กร
ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ของการคัดเลือกพื้นที่ :
· ต้นทุนแรงงาน
· ต้นทุนการขนส่ง
· ต้นทุนที่ดิน และโครงสร้าง
· อัตราค่าถือครองกรรมสิทธิ์และภาษีอากร
· ต้นทุนสิ่งอำนวยการ ค่าบริการ และโครงสร้างพื้นฐาน
· ค่ารักษาความปลอดภัย
· กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
· ท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น ทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นนั้นที่มีต่ออุตสาหกรรมใหม่
3. การจัดหา การจัดหาเป็นกระบวนการเสาะหาแหล่งซื้อสินค้า บริการและสารสนเทศ ที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะสนับสนุนกระบวนการผลิตและการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บทบาทหน้าที่ของการจัดหาได้รวมถึง
· การคัดเลือกแหล่งทรัพยากรและผู้ค้า
· กำหนดความต้องการพัสดุนำเข้าตามที่ต้องการ
· การเจรจาราคาและเงื่อนไขการจัดซื้อ
· การควบคุมคุณภาพของสินค้าขาเข้า
4. การเคลื่อนย้ายพัสดุ การเคลื่อนย้ายพัสดุเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่หรือการไหลของวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าสำเร็จรูปที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและภายในโรงงาน ความสำเร็จของการเคลื่อนย้ายพัสดุ คือการสนับสนุนกระบวนการปฏิบัติการผลิตได้อย่างราบรื่นสามารถลดสินค้าคงคลัง ลดกระบวนการจัดเก็บและการจัดส่งสินค้า และเพิ่มผลผลิตภายในโรงงาน
5. การบรรจุภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์สนับสนุน 2 บทบาท คือ การตลาดและโลจิสติกส์ในบทบาทสนับสนุนการตลาดทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาสินค้าและบริการ ด้วยขนาดมวลรวมสีสันที่มองเห็นและข้อมูลที่สิ่งพิมพ์ลงบนหีบห่อนั้นสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า และให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แต่ในมุมมองของโลจิสติกส์ทำหน้าที่ปกป้องสินค้าไม่ให้ได้รับความเสียหาย มีความปลอดภัย มีความสะดวก และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ เคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้า
6. การจัดการคลังสินค้า การคลังสินค้าประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ที่จำเป็นต่อการจัดเก็บหรือรักษาสินค้าคงคลัง สินค้าจำต้องจัดเก็บเพื่อสำรองไว้สำหรับการขาย การบริโภคและตามที่ลูกค้าต้องการทันทีหลังจากการผลิตเสร็จโดยทั่วไปเวลามักจะล่าช้าไประหว่างการผลิตและการบริโภคด้วยจำนวนที่มากขึ้นที่ลูกค้าต้องการ ข้อกำหนดการตัดสินใจของการจัดการคลังสินค้าได้แก่
· ที่ตั้งคลังสินค้า ความสามารถและการออกแบบ
· พิจารณาถึงสิ่งอำนวยคลังสินค้าควรลงทุนสร้างหรือเช่า
· ระดับความสามารถของอุปกรณ์เครื่องมือหรือระดับความเป็นอัตโนมัติของคลังสินค้าและต้นทุนการลงทุน
· การพิจารณาส่วนผสมของสินค้า
· ความปลอดภัยและการบำรุงรักษา
· การฝึกอบรมพนักงาน
· การวัดผลการเพิ่มผลผลิต
· มาตรฐานการปฏิบัติงาน
· ระดับการให้บริการลูกค้า
7. การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งของธุรกิจ ความต้องการทั้งการผลิตและการตลาดจะต้องบรรลุเป้าหมายความสมดุลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนสินค้าที่มีครอบครองมาก คือเงินทุนที่จมอยู่พื้นที่คลังสินค้า ในขณะที่ความเป็นเจ้าของสินค้าคงคลังก็ต้องการเงินสนับสนุนที่มากด้วย ต้นุทนของพื้นที่คลังสินค้าและมูลค่าของสินค้าคงคลังต่างเป็นต้นทุนของโอกาสทั้งนั้น โอกาสทางการค้าจะต้องบรรลุเป้าหมายระหว่างต้นทุนโอกาสและผลกระทบที่รุนแรงที่อาจจะเกิดจากสถานการณ์การขาดสินค้า ประเด็นสำคัญคือความแม่นยำและถูกต้องของการพยากรณ์อุปสงค์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อพยายามตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าโดยปราศจากความไร้ประสิทธิภาพ
8. กระบวนการคำสั่งซื้อ กระบวนการคำสั่งซื้อเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากผู้บริโภคได้รวมถึงรายละเอียดของคำสั่งซื้อมายังฝ่ายขายขององค์กรการพิสูจน์ถึงคุณค่าของความเชื่อถือจากผู้บริโภครายละเอียดบรรจุภัณฑ์เพื่อควบคุมสินค้าคงคลังของบุคลากรสำหรับจัดส่งสินค้าไปยังแผนกขนส่งการเตรียมการของเอกสารการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าการสื่อสารสถานะของคำสั่งซื้อ วิธีการชำระเงินและรายละเอียดการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า ระยะเวลาและความถูกต้องของกระบวนการคำสั่งซื้อเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดระดับการบริการลูกค้าระบบอัตโนมัติก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเล็กทรอนิกส์ และการโอนและชำระเงินผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ สามารถลดเวลาระหว่างการสั่งซื้อกับการจัดส่งสินค้า ระบบเหล่านี้ถึงแม้จะมีราคาแพงในระยะเริ่มแรก ก็สามารถปรับปรุงทั้งกระบวนการคำสั่งซื้อความถูกต้องและเวลาในการตอบสนองลูกค้า การประหยัดได้ในค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ เช่น การควบคุมสินค้าคงคลังการขนส่งและการคลังสินค้า หรือการเพิ่มยอดขายจากการปรับปรุงยกระดับการบริการลูกค้า บ่อยครั้งต้องพิจารณาถึงต้นทุนการลงทุนของระบบงานที่เพิ่มประสิทธิภาพ
9. การสื่อสารโลจิสติกส์ โลจิสติกส์ที่ประสบความสำเร็จต้องการจัดการอย่างมีประสิทธิผลของสารสนเทศและระบบสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิผลต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรและลูกค้าทั่วไปและลูกค้าประจำองค์กรและผู้ค้าองค์ประกอบหน้าที่หลักขององค์กร เช่น ฝ่ายการตลาดฝ่ายผลิต และฝ่ายโลจิสติกส์ ความหลากหลายของกิจกรรมโลจิสติกส์ ได้แก่ การวางแผน การจัดหา การคลังสินค้า กระบวนการคำสั่งซื้อ การควบคุมสินค้า การขนส่งและการบริการลูกค้า
องค์ประกอบหลากหลายของแต่ละกิจกรรมโลจิสติกส์ ความถูกต้องและการสื่อสารที่ทันเวลาเป็นพื้นฐานสำคัญของการบูรณาการที่ประสบความสำเร็จและการประสานงานการจัดการโลจิสติกส์การไหลและความสำคัญของสารสนเทศ
10. การขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นกิจกรรมหลักสำคัญและมักจะเป็นองค์ประกอบต้นทุนมากที่สุดของโลจิสติกส์ ได้รวมถึงการตัดสินใจที่สำคัญดังนี้
· การปฏิบัติการขนส่งของเจ้าของกับการว่าจ้างการขนส่ง
· รูปแบบ ผู้ประกอบการและการเลือกใช้บริการขนส่ง
· วิธีการรวบรวมการขนส่ง
· เส้นทางเดินรถ คนขับรถ และการตรวจสอบเดินทาง
· การเลือกเครื่องมืออุปกรณ์ การทดแทนและการขอซื้อ
· จัดซื้อ จัดจ้าง เช่าซื้อหรือเช่าเหมา ภายในหน่วยงานโลจิสติกส์ ระบบการขนส่งเป็นสิ่งที่ขาดมิได้ที่กำหนดให้ลูกค้าได้รับสินค้าเมื่อต้องการ
11. การกำจัดของเสีย ของเสียเป็นผลพวงมาจากกระบวนการผลิตและการเผาผลาญ เมื่อไรก็ตามของเสียสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้ใหม่ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และการขนย้ายเข้าโรงงานก็คือความรับผิดชอบของการจัดการโลจิสติกส์ ถ้าไม่สามารถผ่านกระบวนการเพื่อใช้ใหม่ได้ก็จะกลายเป็นของเสีย ในกรณีของสินค้าอันตราย จำเป็นจะต้องตามมาตรฐานและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
การกำจัดของเสียจะมีแนวโน้มเพิ่มความสำคัญต่อการระบบนำกลับมาใช้ใหม่และการพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
12. การเคลื่อนย้ายสินค้าคืน การเคลื่อนย้ายสินค้าคืนจากคู่ค้าเป็นบูรณาการส่วนหนึ่งของกระบวนการโลจิสติกส์ ลูกค้าอาจจะคืนสินค้าที่ขายเนื่องจากของเสีย ส่วนเกินหรือเป็นเพราะการรับสินค้าผิดรายการ ระบบโลจิสติกส์มักจะไม่ติดตั้งระบบที่มีศักยภาพดีพอในการเคลื่อนย้ายคืนสินค้าหรือสอดคล้องกับการเดินรถ เมื่อไรก็ตามที่ลูกค้ามีรายการคืนสินค้าสำหรับการรับประกันสินค้า การซ่อม การชดเชย หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ต้นทุนอาจจะสูง การคืนสินค้าสามารถทำโดยไม่ต้องขนส่ง จัดเก็บและหรือการจัดส่งโดยง่าย ด้วยการจัดส่งสินค้าใหม่ให้ การสัญญาเคลื่อนย้ายสินค้าคืนได้กลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตามที่ผู้บริโภคต้องการให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและนโยบายการผ่อนผันการคืนสินค้าตราบเท่าที่การแข่งขันยังมีอยู่
13. ชิ้นส่วนและการสนับสนุนบริการหลังการขาย ส่วนของกิจกรรมการตลาดมักจะจัดสรรเพื่อผู้บริโภคที่มีบริการหลังการขาย สิ่งเหล่านี้รวมถึงการจัดสรรการชดเชยชิ้นส่วนเมื่อสินค้าใช้งานตามข้อกำหนดบทบาทหน้าที่ของโลจิสติกส์ คือ ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความมั่นใจว่าชิ้นส่วนจะมีจำนวนเพียงพอในเวลาและสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ความล้มเหลวของสินค้าสามารถคิดเป็นต้นทุนให้ลูกค้า ถ้าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเพื่อให้แน่ใจถึงความพึงพอใจลูกค้า องค์กรต้องมีนโยบายชดเชยชิ้นส่วนที่สามารถตอบสนองได้ทันที
บริการหลังการขายมักต้องการรองรับรายการที่ผิดพลาดจากผู้ค้า เมื่อไรก็ตามที่เกิดขึ้นต้องมีระบบจัดส่งชิ้นส่วนตอบสนองโดยเร็ว
สรุป
ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของโลจิสติกส์ คือ สิ่งนั้นมิใช่ความต้องการที่ถูกต้องของเจ้าของคนเดียว แต่มันเป็นวิธีการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เป็นวิถีที่ทำให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการ สารสนเทศที่จัดเตรียมให้มีความพร้อมเมื่อต้องการ ถ้าองค์กรใดสามารถจัดสรรอย่างสม่ำเสมอให้กับลูกค้าทั่วไปและลูกค้าหลักด้วยการบริการโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพตามทึ่ต้องการได้ก็สามารถได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาด
ความเต็มใจของผู้บริโภคที่ส่งผลสะท้อนการจ่ายเงินต่อความคุ้มค่าในผลิตภัณฑ์จำนวนมูลค่าสูงสุดของเงินที่ผู้บริโภคตั้งใจที่จะจ่ายเงินเป็นประเด็นสำคัญจากอรรถประโยชน์ของสินค้าที่ผู้บริโภคคาดหวังที่นำเสนอต่อเขา สิ่งสำคัญสูงสุดของผลปฏิบัติการบริการโลจิสติกส์ที่กำหนด คือ การบริการที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก มีความปลอดภัยในสินค้าเวลาของธุรกรรม ความเชื่อถือได้ ต้นทุนต่ำและความสามารถยืดหยุ่นได้
กลยุทธ์โลจิสติกส์ธุรกิจ กลวิธีและการปฏิบัติการสามารถสนับสนุนความเจริญเติบโตในระยะยาวของธุรกิจได้ใน 4 ประเด็น ได้แก่ การเติบโตของรายได้ การลดต้นทุนปฏิบัติการ การใช้เงินทุนอย่างคุ้มค่า และการใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหลากหลายของแนวทางกิจกรรมโลจิสติกส์ ที่ส่งผลต่อการไหลของสินค้าและสารสนเทศตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงสถานที่ของการบริโภคที่มีการประยุกต์ใช้ ดังนี้
· การพยากรณ์อุปสงค์
· การคัดเลือกพื้นที่อำนวยการและการออกแบบ
· การจัดหา
· การเคลื่อนย้ายพัสดุ
· การบรรจุภัณฑ์
· การจัดการคลังสินค้า
· การจัดการสินค้าคงคลัง
· กระบวนการคำสั่งซื้อ
· การสื่อสารโลจิสติกส์
· การขนส่ง
· การเคลื่อนย้ายสินค้าคืน
· ชิ้นส่วนและการสนับสนุนการบริการ