ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่คิดจะลุกขึ้นมาทำธุรกิจ เอสเอ็มอี เชื่อว่าการมองหาแรงบันดาลใจ เพื่อสร้างไอเดีย มีความคิดสร้างสรรค์ คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำธุรกิจ ซึ่งควรมองเป็นอันดับแรกมากกว่าการหาเงินทุนเสียอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ เราจะมีหลักการมองสร้างความคิดสร้างสรรค์อย่างไร เพื่อต่อยอดให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา และนำไปใช้ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
โดยในบทความนี้ได้นำเทคนิคของ ศ.ดร.กุนเธอร์ ฟาลติน “นักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสอนวิชาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการ มาถ่ายทอดสำหรับผู้ที่ยังหาแรงบันดาลใจสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจให้ได้อ่านกัน
1.ค้นพบสิ่งที่มีอยู่แล้ว
ศ.ชุม พีเทอร์ บนโลกนี้มีการแยกความแตกต่างระหว่าง ”ประดิษฐกรรม” และ “นวัตกรรม”เอาไว้แล้ว เราไม่จำเป็นต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ เช่น ในทศวรรษที่ 40 ตอนนั้นมีเครื่องโทรสารอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครกล้าที่จะซื้อ เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าเครื่องนี้จะประสบความสำเร็จ แต่พอมาถึงทศวรรษที่ 70 คนญี่ปุ่นได้นำเครื่องโทรสารมาพัฒนา และเสนอขายในตลาดอีกครั้ง จนสุดท้ายประสบความสำเร็จ โดยไม่ต้องคิดอะไรขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด
หรือจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราขึ้นมาอีก เช่น มีชาวบราซิลเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยและจีน ซึ่งที่นี่ทำให้เขาค้นพบว่าผู้คนนิยมรับประทานตีนไก่ กลับกันในบราซิลแม้จะเป็นประเทศที่มีการผลิตไก่รายใหญ่ของโลก แต่ผู้คนกลับไม่นิยมรับประทานตีนไก่ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์เป็นอย่างนี้จึงเป็นโอกาสทองทางธุรกิจที่จะนำตีนไก่เข้ามาขายในประเทศไทยและจีน
เหล่านี้จึงสรุปได้ว่า หนึ่งในการหาไอเดียทำธุรกิจ คือการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วนั่นเอง
2.คิดต่างจากแผนเดิม
ศ.ดร.กุนเธอร์ ฟาลติน สังเกตว่าการขายชาแบบเดิมๆ จะเป็นลักษณะถุงขนาดเล็ก 100 กรัม, 50 กรัม และ 25 กรัม ซึ่งต้องขายในร้านที่มีการตกแต่งแบบเดิม อย่างไรก็ตาม หากเราคิดต่างจากแบบแผนนี้ แล้วมองเรื่องต้นทุนด้วยการเปลี่ยนกลยุทธ์จากการขายถุงเล็กเปลี่ยนมาเป็นถุงใหญ่ จะช่วยประหยัดในเรื่องค่าฉลากและหีบห่อเป็นอย่างมาก หากเราไม่ขายชาเยอะจนเกินไป
อีกทั้ง หากมองพฤติกรรมของผู้บริโภค เราจะพบว่าคนจะไม่นิยมดื่มชาตลอดทั้งปี ดังนั้น ทำไมเราไม่ขายชาในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่คนนิยมดื่มกาแฟมากที่สุด
จะเห็นว่า นี่คือแนวคิดง่ายๆ ที่จะช่วยลดโครงสร้างต้นทุนต่างจากแบบแผนดั้งเดิมที่มีมา
3.เอาสิ่งต่างๆ มารวมกันในวิถีทางใหม่ๆ
ในประเทศแอฟริกาใต้มีศิลปินเครื่องปั้นดินเผา เกิดความแปลกใจขึ้นมาว่าทำไมบ้านที่ทำด้วยดินเหนียวผสมกับกิ่งไม้ ถึงมีอายุใช้งานได้แค่ 2 ฤดูฝนแล้วก็พัง ดังนั้น เขาจึงทดลองด้วยการนำถ้วยมาคว่ำ แล้วจินตนาการให้มันใหญ่ขึ้น โดยเจาะรูมันก็ไม่เป็นถ้วยแต่จะเป็นบ้าน แล้วเอาเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผามาประยุกต์ เขาสามารถสร้างอาคารตามความคิดตัวเองแล้วชวนคนทั้งหมู่บ้านก่อไฟขนาดมหึมา ทำให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นบ้าน เทคนิคนี้อาจจะเก่าแก่แต่สามารถนำมาใช้ในรูปแนวคิดใหม่ๆได้
4.บูรณาการเข้าด้วยกัน
อุปกรณ์เครื่องมือแต่ละอย่างล้วนมีหน้าที่เป็นของตัวเอง แต่หากเราสามารถบูรณาการนำเอาเครื่องมือเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์อื่นๆ ก็จะทำให้ประหยัดเงินได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากธรรมชาติสร้างอะไรก็ตามแต่ขึ้นมาบนโลกไม่ได้มีเพียงแค่จุดประสงค์เดียว
5.นำปัญญาเปลี่ยนเป็นโอกาสทางธุรกิจ
ดร.กุนเธอร์ ประสบความสำเร็จจากธุรกิจชา แต่มองเห็นปัญหาของผักตบชวา จึงหันมาทำธุรกิจเครื่องเรือนที่ทำมาจากผักตบชวา จนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด และนี่คือตัวอย่างนำปัญญามาเปลี่ยนเป็นความรู้ในการเกิดธุรกิจใหม่
6.จัดระบบงานให้เป็นเรื่องสนุก
ทอม เซอร์เยอร์ เคยทำความผิด และถูกลงโทษให้ทาสีรั้ว แต่ทอมได้ออกอุบายชวนเพื่อนๆ มาทาสี ด้วยการแบ่งงานคนละนิด สร้างให้งานนี้กลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เพื่อให้งานแล้วเสร็จ ที่สำคัญกลายเป็นทอมที่ยังเก็บเงินเพื่อนที่อยากจะมาทาสีอีกด้วย
7. ทำวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง
ดร.กุนเธอร์ ยกเรื่องเล่าขึ้นมาว่า มีคนๆ หนึ่งเกิดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการระเบิดของแก๊ส นำไปขับเคลื่อนรถม้า ซึ่งจะทำให้คนยอมรับได้ก็ต้องทำขึ้นมาให้เป็นเรื่องจริง อย่างไรก็ตาม การทดลองดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแรงระเบิดของแก๊สทำให้รถม้าเคลื่อนที่ได้ แต่ประตูโรงรถเล็กเกินไปรถม้าออกไปไม่ได้ สรุปทุกคนจึงกล่าวหาว่า “เขาโง่”
กระทั่งวันหนึ่ง คนที่ถูกกล่าวหาว่าโง่ ไปแข่งรถ และรถของเขาเป็นคันเดียวที่เข้าเส้นชัย ซึ่งชายคนนี้คือ ”เฮนรี่ ฟอร์ด” โดยเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงว่า แม้จะล้มเหลว ก็ไม่ละพยายาม เพราะเขามีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้เป็นจริงได้
Source : Bangkokbanksme