8 ขั้นตอนส่งออก “อาหารสัตว์” ที่จะทำให้ SME บุกตลาดต่างแดนอย่างมีศักยภาพ


อาหารสัตว์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ เนื่องด้วยปัจจุบันผู้คนล้วนหันมาเลี้ยงสัตว์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาหารสัตว์ นั้นล้วนมีอยุ่มากมายหลายชนิด ตามสัตว์แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น อาหารเม็ด, อาหารที่เป็นชิ้นเนื้อ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการ SME จะเจาะตลาดคนกลุ่มนี้

อีกทั้ง ตลาดต่างประเทศ ก็ถือว่าเป็นอีกเป้าหมายที่ดึงดูดใจ ดังนั้น บทความนี้เรามาดูกันว่า หากผู้ประกอบการ SME อยากจะส่งออกอาหารสัตว์ไปยังต่างแดน จะต้องมีวิธีการอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการส่งออกอาหารสัตว์

1.ตรวจสอบสิทธิทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เช่น Form A, Form D, From E, Form FTA, Form JTEPA, Form C/O ทั่วไป ฯลฯ ตามที่ผู้นำเข้าต้องการกับกรมการค้าต่างประเทศ

2.ตรวจสอบและขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากศุลกากร เช่น การขอคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากร, ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ, คลังสินค้าทัณฑ์บน, เขตปลอดอากร หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเขตประกอบการเสรี หรือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

3.ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และขอใบอนุญาต/ใบรับรอง จากหน่วยงานที่ควบคุมหรือที่เกี่ยวข้อง ตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ

  • ขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ทั่วไป) จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) 
  • ขอใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะจาก กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์
  • ขอหนังสือรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จาก สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

4.ผ่านพิธีการศุลกากร (e-Customs)

  • ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless)
  • ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร (e-Export)

5.ส่งออกทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ

6.ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า จากกรมการค้าต่างประเทศ เช่น Form A, Form D, Form E, Form FTA, Form JTEPA, Form C/O ทั่วไป ฯลฯ ขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form C/O) จากหอการค้าไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

7.ส่งเอกสารทางการค้าที่เกี่ยวข้อง (Shipping Documents) ไปยังผู้นำเข้าในต่างประเทศ

8. บริหารสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตามที่ได้รับการส่งเสริมภาครัฐ (จากข้อ 2)

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ