ด้วยสถิติภาพรวมภัยคุกคามในประเทศไทยของปีที่ผ่านมา รายงานระบุว่าอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นหนึ่งในแหล่งของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศ มีการตรวจจับภัยทางอินเทอร์เน็ตได้ถึง 30,203,943 ชนิดในประเทศไทย
ปี 2561 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยกว่า 31.8% ได้ถูกโจมตีโดยภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากปี 2560 ที่ Kaspersky Lab ได้ตรวจจับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้เพียง 12,696,011 ชนิด และมีผู้ใช้ที่ได้รับการโจมตีเพียง 29.0%
การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทยล้อตามเทรนด์ทั่วโลก ด้วยอัตราการเติบโตโดยภาพรวมของการติดตั้งของแพคเกจภัยคุกคามที่เป็นอันตราย และโทรจัน ที่อันตรายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือธนาคารบนมือถือ
หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังกลายเป็นประเทศติดอันดับท็อปเท็นในโลกที่มีอัตราการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตสูง ตัวอย่างเช่น โทรจันของการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือที่ชื่อว่า DanaBot ได้ถูกตรวจจับเมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 2561 และยังเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายอย่างรวดเร็ว
ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลกที่จัดอันดับจากระดับอันตรายจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ที่เราได้ตรวจจับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่าจะถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ทางเราก็ยังคงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศใช้การป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต จากการที่เราได้ป้องกันกว่า 30 ล้านชนิด เมื่อปีที่แล้ว พิสูจน์ได้ว่าประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายของการโจรกรรมทางไซเบอร์ ดังนั้นควรจะเสริมเกราะป้องกันและเปลี่ยนนิสัยการใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่าตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว
ข้อแนะนำที่จะช่วยปกป้องเงินและข้อมูลของคุณ
อย่าคิดไปเองว่าลิ้งค์จะปลอดภัย
คุณควรจะพิมพ์ URL ด้วยตัวเอง แทนที่จะคลิกจากลิ้งค์ อย่าเข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกเข้าไปจากอีเมล ข้อความหรือจากโซเชียล เน็ตเวิร์ก ต่าง ๆ ข้อความจากห้องแชท แบนเนอร์โฆษณาที่เป็นเว็บไซต์ที่น่าสงสัย ลิ้งค์ต่าง ๆ ที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก
ระวังการสื่อสารปลอม
องค์กรส่วนใหญ่จะไม่ขอให้ลูกค้าส่งข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล หรือต้องขออนุมัติในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กร และใส่ข้อมูลส่วนตัวในหน้าต่าง pop-up
ตรวจสอบ URL
เมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ให้ตรวจสอบดูที่อยู่ URL ว่าตรงกับเว็บไซต์ที่เราต้องการหรือตั้งใจเข้าไปหรือไม่ หากพบว่า URL ทำขึ้นมาจากตัวอักษรและตัวเลขแบบสุ่ม หรือดูน่าสงสัย อย่าใส่ข้อมูลใด ๆ เด็ดขาด
ใช้การเข้ารหัส
ต้องมั่นใจว่าเมื่อคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวจะต้องทำการเข้ารหัสทุกครั้ง ต้องตรวจสอบ URL ทุกครั้งให้ขึ้นต้นด้วย ‘https’นอกจากนี้ address bar และ browser’s status bar จะต้องแสดงสัญลักษณ์เล็กๆ ว่าล็อค
ใช้คอมพิวเตอร์ของตัวเอง และเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตของตัวเอง
หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและสัญญาณไวไฟสาธารณะ เครื่องคอมพิมเตอร์สาธารณะอาจจะมีสปายแวร์อยู่จำนวนมาก ในสัญญาณไวไฟสาธารณะอาจมีความเสี่ยงในการถูกดักจับข้อมูลจากผู้ให้บริการเครือข่ายหรือจากอาชญากรไซเบอร์ และอาจถูกโจมตีด้วยไวรัสเครือข่าย
ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากบนอุปกรณ์และบัญชีออนไลน์ของคุณ
ใช้รหัสผ่านความยาวตั้งแต่ 12 ตัวอักษรขึ้นไปในทุกที่ที่ทำได้ และใช้รหัสที่ต่างกัน ในแต่ละบริการหรือบัญชี
กำจัดช่องโหว่ — ในระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันของคุณด้วยการอัพเดท
เป็นการช่วยให้ลดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน ที่จะทำให้ถูกโจมตีจากโปรแกรมที่เป็นอันตรายได้
ป้องกันอุปกรณ์ของคุณจากมัลแวร์และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต
โซลูชั่นที่ป้องกันมัลแวร์สามารถป้องกันคุณจากไวรัสคอมพิวเตอร์ เวิร์ม โทรจันและไวรัสต่าง ๆ ในบางโซลูชั่นประกอบด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ให้ความปลอดภัยอีกระดับเมื่อคุณช้อปปิ้งออนไลน์และทำธุรกรรมทางธนาคาร