เมื่อเราต้องเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆที่เราไม่เคยทำมาก่อน หลายคนอาจมองว่ายาก โดยเฉพาะการเริ่มต้นทำธุรกิจยิ่งต้องคิดให้รอบคอบเป็นสองเท่า เพราะนั่นหมายถึงความคาดหวังในเม็ดเงินที่ลงทุนไป แต่หากมองถึงเอสเอ็มอี หรือสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ ต้องบอกว่าระหว่างทางของเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้ง่ายเลย เพราะต้องผ่านการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นประสบการณ์มานับไม่ถ้วน
สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องคิดคือ การวิเคราะห์ว่าธุรกิจที่กำลังจะทำอยู่นั้น มีอยู่ในตลาดแล้วรึยัง แล้วถ้ามี มีการแข่งขันสูงแค่ไหน มีช่องว่างของโอกาสตรงไหนบ้าง ที่เราจะสามารถพัฒนาสินค้า-บริการ ให้ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และจะมีวิธีใหนบ้าง ที่จะผลักดันให้ธุรกิจโดดเด่นในท้องตลาดได้
อย่างการเลือกทำสินค้า-บริการที่อยู่ในตลาดบลูโอเชียน ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากยังไม่มีการแข่งขันสูง จึงนับเป็นการเริ่มต้นที่มีอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างจากท้องตลาด แต่การจะหาความแตกต่างจากตลาดให้เจอในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก นักธุรกิจส่วนใหญ่จึงพยายามมองหา Business Model ที่สามารถทำตลาดได้ และมีการแข่งขันยังมีไม่สูงมากนัก เช่น การยืมความคิดและรูปแบบธุรกิจจากต่างประเทศเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคในประเทศ แล้วประยุกต์มันให้กลายเป็นรูปแบบธุรกิจของเราเอง
ยกตัวอย่างสตาร์อัพในประเทศไทยหลายเจ้าในตอนนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่รูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะมีแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบของสตาร์อัพต่างประเทศ แต่พวกเขาไม่ได้ลอกเลียนมาทั้งฉบับ แต่นำมาประยุกต์ พัฒนา และต่อยอด (Copy and Development) ให้เกิดความเหมาะสมกับตลาด ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสตาร์อัพบ้านเราไม่เก่งพอ แต่มันคือความชาญฉลาดของเขาเหล่านั้นที่สามารถนำรูปแบบต่างๆมาปรับใช้ให้ตอบโจทย์และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย
และเมื่อสินค้า-บริการได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว การขยายตลาดให้ถูกที่ถูกเวลาก็สำคัญ เพราะจะช่วยดึงให้ธุรกิจก้าวขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ โดยผู้ประกอบการมือใหม่บางส่วน อาจมุ่งแต่จะขยายตลาดเพียงแค่ในประเทศ เพราะมองว่าแค่ในเมืองไทยยังขยายตลาดไม่ทั่วถึง แล้วจะออกนอกไปเทศให้ยุ่งยากทำไม ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะสินค้าบางชนิด หากผู้ประกอบการสามารถรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคของแต่ละประเทศ ก็จะสามารถเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้มหาศาล
เช่น ชาวจีนและลาวที่นิยมซื้อสินค้าไทยอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไรก็ตาม เพียงแค่มีภาษาไทยติดอยู่พวกเขาก็เชื่อมั่นที่จะซื้อแล้ว ในทางกลับกันหากผู้ประกอบการนำสินค้าชนิดเดียวกันนี้มาขายที่ไทย ก็อาจขายไม่ออกเลยก็ได้ เนื่องจากตลาดเดียวกันมีจำนวนคู่แข่งมากมาย ทั้งยังต้องแข่งขันกันในเรื่องราคาอีก
นอกจากนี้ การขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการหาพาร์ทเนอร์ ทั้งในและต่างประเทศ ยังเป็นอีกทางลัดที่ช่วยให้ธุรกิจเราเติบโตได้เร็วขึ้น ซึ่งต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ในทิศทางเดียวกัน สามารถเกื้อหนุนกันได้ เช่น บริษัทขายเคสโทรศัพท์กันน้ำ เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัททัวร์ดำน้ำด้วยการมอบเคสโทรศัพท์ไว้ให้ลูกทัวร์ได้ทดลองใช้ถ่ายรูปใต้น้ำ และด้วยการจับมือกันก็ทำให้ทั้งคู่ ได้รับผลประโยชน์ win win กันทุกฝ่าย
จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจที่มีพาร์ทเนอร์มันเป็นอีกรูปแบบธุรกิจสำคัญ ซึ่งหลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จก็ใช้รูปแบบนี้ ฉะนั้นอย่าไปมองว่าเราจะทำธุรกิจเองทุกอย่าง เพื่อจะได้รวยคนเดียว เพราะโลกธุรกิจยุคนี้ ผู้ประกอบการต้องมีคอนเน็คชั่น และมีพันธมิตรที่ดี ธุรกิจถึงจะไปได้ไกลตามความต้องการ
สำหรับใครที่ต้องการต่อยอดโอกาสธุรกิจ มองหาคอนเน็กชั่น หรือสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่าลืมแวะไปที่งาน Smart SME EXPO 2019 ในแนวคิด #ที่เดียวจบพบทางรวย 4-7 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 7-8 ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี
โดยผู้เข้าชมจะได้พบกับการรวบรวมแนวคิดการทำธุรกิจไว้มากมาย อาทิ โซนธุรกิจสุขภาพ-ความงาม โซนธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม โซนนวัตกรรม โซนแฟรนไชส์ โซนสถาบันการเงิน และโซนสนับสุนนการทำธุรกิจ SMEs
ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมออกบูธ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 08-6344-5358 , 09-4915-4624