โพลล์ชี้ KPLUS ยืนหนึ่งคนใช้บริการ-พอใจ “มากที่สุด”


บ้านสมเด็จโพลล์เผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างคนใช้บริการ Mobile Banking ใน 5 บิ๊กธนาคารพาณิชย์เมืองไทย ผล “กสิกรไทย” ผงาดเบอร์หนึ่งทั้ง คนใช้มากสุด-พอใจมากสุด

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดเผยผลสำรวจ “บ้านสมเด็จโพลล์” ที่สอบถามความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นที่สอบถามคือ การใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน ความพึงพอใจในการให้บริการของธนาคารพาณิชย์และการให้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) รวมไปถึงการปรับปรุงการให้บริการในการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้

ธนาคารที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

1.ธนาคารกสิกรไทย ร้อยละ 23.3

2.ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 17.1

3.ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 16.6

4.ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 15.2

5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร้อยละ 9.9

ขณะที่ความพึงพอใจต่อการใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

1.ธนาคารกสิกรไทย ร้อยละ 23.6

2.ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 19.5

3.ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 16.1

4. ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 14.3

5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร้อยละ 9.3

ในส่วนประเด็นที่เคยใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) พบว่ามีถึงร้อยละ 81.9 ที่เคยใช้ และในส่วนการบริการของแต่ละธนาคารที่มีคนใช้มากที่สุด ประกอบด้วย

1.คือ ธนาคารกสิกรไทย (K PLUS) ร้อยละ 25.0

2.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 18.8

3.ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 16.0

4.ธนาคารกรุงไทย (Krungthai NEXT) ร้อยละ 13.8

5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (KMA Krungsri Mobile App) ร้อยละ 10.1

นอกจากนี้ ในส่วนความพึงพอใจต่อการบริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) มากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย

1.ธนาคารกสิกรไทย (K PLUS) ร้อยละ 25.6

2.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 18.6

3.ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 17.6

4.ธนาคารกรุงไทย (Krungthai NEXT) ร้อยละ 13.1

5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (KMA Krungsri Mobile App) ร้อยละ 9.2

ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ธนาคารพาณิชย์ มีการปรับปรุงในเรื่องการพัฒนาการให้บริการหน้าเคาน์เตอร์ของธนาคาร ร้อยละ 24.4 อันดับที่สองคือ การพัฒนาการให้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ ร้อยละ 22.0 อันดับที่สามคือ เพิ่มจำนวนตู้อัตโนมัติ (ATM,CDM) ให้มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 20.9 อันดับที่สี่คือ เพิ่มจำนวนสาขาของธนาคารให้มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 19.7 และอันดับที่ห้าคือ เพิ่มการให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร ร้อยละ 12.3