ธุรกิจโทรคมนาคมใช้งาน AI ด้านไหนบ้าง?


ข้อมูลจาก Tractica ชี้ว่าการลงทุนด้านโทรคมนาคมในเทคโนโลยี AI คาดว่าจะแตะระดับ 36.7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2568

สองปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยอาศัยระบบงานอัตโนมัติ และการมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า กรณีการใช้งาน AI ที่สำคัญในภาคธุรกิจโทรคมนาคมคาดว่าจะเป็นเรื่องของการตรวจสอบและจัดการการดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่าย โดยครองสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้าน AI สูงที่สุดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ส่วนกรณีการใช้งาน AI ที่สำคัญอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับโปรแกรมผู้ช่วยเสมือนจริงสำหรับบริการลูกค้า, ระบบ CRM อัจฉริยะ และไซเบอร์ซีเคียวริตี้

การใช้งาน AI ที่ได้รับความนิยมในธุรกิจโทรคมนาคม

การปรับปรุงเครือข่าย

ใช้ AI เพื่อทำนายการเชื่อมต่อที่เหมาะสมสำหรับเครือข่ายโทรคมนาคม ขับเคลื่อนการวิเคราะห์เครือข่ายและการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน และการวางแผนเกี่ยวกับเครือข่ายอัจฉริยะ และผลักดันให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ

แชทบอท

โปรแกรมแชทแบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI สำหรับตอบข้อซักถามของลูกค้า โอนการติดต่อของลูกค้าไปยังเจ้าหน้าที่ในแผนกที่เกี่ยวข้อง และโอนลูกค้าเป้าหมายไปยังทีมงานฝ่ายขาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินงาน

ตัวอย่าง: Spectrum ใช้โปรแกรมผู้ช่วยเสมือนจริง ‘Ask Spectrum’ ซึ่งขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสำหรับการแก้ไขปัญหา การตรวจสอบข้อมูลบัญชี และการตอบคำถามทั่วไป

ตัวอย่าง: CenturyLink ได้ปรับใช้โปรแกรมผู้ช่วยเสมือนจริง ‘Angie’ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI สำหรับงานขายและการตลาด โดยทำหน้าที่ส่งอีเมล 30,000 ฉบับต่อเดือน และตีความการตอบกลับเพื่อระบุลูกค้าเป้าหมาย

บริการสั่งงานด้วยเสียง

ผู้ให้บริการพยายามที่จะปรับเปลี่ยนอุปกรณ์รีโมทคอนโทรลให้มีความสามารถในการจดจำเสียงพูด เพื่อให้สามารถขายคอนเทนต์และบริการในลักษณะที่เป็นแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น

ตัวอย่าง: ‘XI Talking Guide’ คือเครื่องมือ AI ที่สั่งงานด้วยเสียงพูดจาก Comcast โดยสามารถพูด แสดงชื่อรายการ ช่อง และช่วงเวลา

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (หอส่งสัญญาณ สายไฟ ฯลฯ) ก่อนที่จะเสีย รวมทั้งตรวจจับสัญญาณและจุดเปลี่ยนที่มักจะนำไปสู่ความล้มเหลวในการทำงาน เช่น การใช้โดรนเพื่อตรวจสอบเสาสัญญาณโทรศัพท์

ตัวอย่าง: AT&T พัฒนาอัลกอริธึมที่ใช้ DL เพื่อควบคุมสั่งการโดรนแบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์สำหรับการตรวจสอบเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือโดยใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอ

การประยุกต์ใช้งาน AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลที่สอดประสานกันระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง (edge) ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก (core) และระบบคลาวด์ ดังนั้นการจัดการข้อมูลอย่างไร้รอยต่อจึงมีความสำคัญ องค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่น AI บนระบบคลาวด์สาธารณะหรือระบบที่ติดตั้งภายในองค์กรก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล ขนาดของชุดข้อมูล และต้นทุนค่าใช้จ่าย

อ้างอิง: Netapp