ทางออกที่จะทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดในยุคดิจิทัล


นอกเหนือจากการแข่งขันอันดุเดือดทั้งจากคู่แข่งที่มีอยู่เดิมและคู่แข่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการลดต้นทุนในการดำเนินงาน

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบไอทีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจทุกระดับ ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ หากไม่เรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้งาน นั่นหมายถึง พื้นที่ยืนในสมรภูมิเศรษฐกิจดิจิทัลของคุณก็จะยิ่งเหลือน้อยลงทุกที

คำถามก็คือ แล้วคุณพร้อมแค่ไหนที่จะอยู่รอดในยุคดิจิทัล?

ลำพังการจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งานอาจไม่ใช่สูตรสำเร็จของการอยู่รอด เพราะธุรกิจยุคดิจิทัลยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยไซเบอร์, การจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล, การนำเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ มาใช้งาน และการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ

จะจัดการกับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ ได้อย่างไร?

โลกดิจิทัลสร้างโอกาสมากมายให้ธุรกิจ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงจากภัยคุกคาม การไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการรับมือกับมัลแวร์ แฮกเกอร์ การจารกรรมข้อมูล แรนซัมแวร์ ข้อมูลรั่วไหล ที่รัดกุมเพียงพอก็จะสร้างความเสียหายจนเราคาดไม่ถึง ทั้งเวลา, ค่าใช้จ่าย และความเชื่อมั่นของลูกค้า

ระบบอัตโนมัติและ AI ช่วยธุรกิจได้จริงหรือ?

วันนี้หลายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้เริ่มนำกระบวนการทำงานอัตโนมัติและ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงานกันแล้ว ถ้าเรายังไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ ส่วนแบ่งการตลาดที่มีอยู่ก็จะยิ่งลดลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด ธุรกิจก็คงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และถึงเวลาล่มสลาย แล้วคุณจะเริ่มต้นนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในธุรกิจอย่างไรดี

จะนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

ข้อมูลคือทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น ข้อมูลลูกค้านับแสนหรือล้านราย ข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต การสั่งซื้อวัตถุดิบ หากวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง คุณก็สามารถคาดการณ์แนวโน้มการตลาด และรู้จักลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาคือคุณจะเริ่มต้นจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร มีเครื่องมืออะไรช่วยได้บ้าง

จะปฏิบัติตามกฏหมายดิจิทัลอย่างถูกต้องได้อย่างไร?

หนึ่งในประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับองค์กรที่มีการเก็บข้อมูลของลูกค้า พนักงาน หรือบุคคลอื่น เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจ คือการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับกฎหมายความคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของบุคคล (Privacy Laws) หรือ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฏหมายดังกล่าว จะเป็นการกำหนดกฎข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติ และบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญาอย่างชัดเจน หากผู้ถือครองข้อมูลไม่ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล นำข้อมูลไปใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล

ทั้งหมดคือเรื่องที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอด

หลายคนอาจมองว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเข้ามาคุกคามธุรกิจ แต่อันที่จริงมันกลับเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามเลยทีเดียว ทุกสิ่งที่กล่าวมาจะเป็นการทำให้ธุรกิจของคุณดีขึ้น และสามารถทำการแข่งขันได้ แต่คุณจะต้องทำในสิ่งที่เรียกว่า Digital Transformation นั่นเอง และในเรื่องนี้หากคนภายในองค์กรของคุณทำไม่ได้ทั้งหมด ทางออกก็คือต้องมองหาพันธมิตรจากภายนอกที่มีประสบการณ์และโซลูชันดี ๆ เข้ามาช่วย