รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
‘มังสวิรัติ’ หรือ ‘วีแกน’ ถือเป็นกระแสการบริโภคที่กำลังมาแรงในสังคมยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาสนใจรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระแสนี้ไม่เพียงจะส่งผลให้สุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น แต่ยังทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาและเติบโตมากขึ้น จนทำให้ผู้ประกอบการไม่อาจมองข้ามถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกระแสนี้ได้
ทั้งนี้ตามคำจำกัดความของมังสวิรัติ (The Vegetarian Society) คือผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาจากการทรมานสัตว์ โดยชาวมังสวิรัติจะเลือกบริโภคอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ เท่านั้น แต่สำหรับวีแกนในปัจจุบันยังสามารถแบ่งตามความเคร่งครัดในการปฏิบัติได้ อีกอย่างน้อย 3 ประเภท คือ
(1) วีแกน (Vegan) หรือผู้บริโภคที่ไม่บริโภคทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเนื้อสัตว์ ชิ้นส่วนที่ได้จากการเบียดเบียนสัตว์ หนัง ขน เขา กระดูกหรืออะไรก็ตามที่เป็นการเบียดเบียนสัตว์อย่างเคร่งครัด ซึ่งชาว Vegan กลุ่มนี้จะบริโภคเฉพาะอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากผัก ผลไม้ ธัญพืชแบบ 100%
(2) Vegetarian หรือผู้บริโภคที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ยังสามารถบริโภคน้ำผึ้ง ไข่ นม และเนยได้
(3) Flexitarian หรือผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น สามารถทานเนื้อสัตว์ได้เป็นครั้งคราว
ข้อมูลจาก The Vegan Society ได้เผยว่า แนวโน้มความนิยมการเป็นวีแกนจากทั่วโลกเพิ่มสูงมากถึง 987% จากปี 2560 โดยในปี 2561 ยอดขายของอาหารวีแกนเติบโตสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้บริษัทวิจัยตลาด Markets and Markets ได้คาดการณ์อีกว่า ตลาดวีแกนจะเติบโตขึ้นสูงถึง 200,000 ล้านบาทภายในปี 2566
โดยปัจจุบันพบว่าแนวโน้มการบริโภคอาหารมังสวิรัติในสหราชอาณาจักรที่มีประชากรชาววีแกนมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 350% ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ขณะที่ในยุโรปประชากรมังสะวิรัติมากที่สุดคือ เยอรมนี และสเปน ตามลำดับ
รวมทั้งตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่มีประชากรวีแกนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งจากการสำรวจและวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาด Fior Markets พบว่า ตลาดสำหรับสินค้าอาหารสำเร็จรูปแบบวีแกนกำลังเติบโตขยายตัวอย่างมาก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2026 จากที่เคยมีมูลค่าเพียง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2018 ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งมีการบริโภคสินค้าประเภทนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงกว่าร้อยละ 35 ของทั้งหมด ซึ่งทำให้มูลค่าการจำหน่ายอาหารที่ทำจากพืช (Plant-based Foods) ในสหรัฐอเมริกาที่มากกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 8 จากปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เทรนด์วีแกนประเทศในทวีปเอเชียเองก็เติบโตรวดเร็วไม่แพ้ตะวันตก โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีทั้งพืชเศรษฐกิจและวัตถุดิบสำคัญสำหรับการทำอาหารมังสวิรัติ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ‘วีแกน’ เจาะตลาด Niche Market ทางเลือกผู้ผลิตอาหารไทย