แบรนด์ต้องปรับตัวอย่างไร เมื่อโควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น


การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกภาคส่วน แม้ว่าจะมีมาตรการคลายล็อกให้ธุรกิจสามารถกลับมาให้บริการได้อีกครั้ง แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคกลับไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อพวกเขามีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่มากขึ้น ส่งผลให้มีความระมัดระวังในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย ถอยตัวเองกลับมาอยู่ในพื้นที่ Comfort Zone มากขึ้น

เหล่านี้จึงเป็นโจทย์หินของแบรนด์ที่ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหลังโควิด-19 ทั้งในเรื่องการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด, การสื่อสาร เพื่อที่จะสามารถเอาชนะใจผู้บริโภค โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกัน

วันเดอร์แมน ธอมสัน เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยในช่วงภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนกรกฎาคม จำนวน 812 คน ในช่วงอายุ 15 – 60 ปี เป็นชาย 32% หญิง 68% ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระดับดับการศึกษามัธยม-ปริญญาเอา รายได้ตั้งแต่น้อยกว่า 10,000-50,000 บาท ซึ่งมีบทสรุปดังต่อไปนี้

การเงินและเศรษฐกิจ

  • ร้อยละ 71 มีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจถดถอย
  • ร้อยละ 60 มีความกังวลว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้า
  • ร้อยละ 60 มีความกังวลว่างานที่ทำจะหยุดชะงัก

นอกจากนี้ ผู้ทำแบบสำรวจเกินกว่าครึ่ง ระบุว่าจะไม่ลงทุนใด ๆ เลย แต่เลือกจะเก็บเงินสดไว้กับตัว หรือนำไปฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่ชอบความเสี่ยง คือจะโฟกัสไปที่การออมเงิน เพรากลัวว่าเมื่อลงทุนไปแล้วจะไม่ได้รับผลตอบแทนกลับมา

อย่างไรก็ตาม หากต้องมีการเลือกลงทุน ผู้บริโภคร้อยละ 33 เลือกลงทุนไปกับการออมเงิน ,ร้อยละ 20 เลือกเปิดธุรกิจส่วนตัว และร้อยละ 12 เลือกลงทุนซื้อประกันภัย

การงานและอาชีพ

  • ร้อยละ 62 มีความกังวลเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน
  • ร้อยละ 48 มีความกังวลถูกลดเงินเดือน
  • ร้อยละ 47 กังวลกลัวถูกเลิกจ้าง หรือไม่มีงานทำ

อีกทั้งผู้บริโภคมีความคิดที่จะลงทุนลงแรงเพื่อรักษาหน้าที่การค้ามากขึ้นด้วยการเพิ่มทักษะความสามารถเข้าอบรมที่บริษัทส่งไป โดยจะมีการใช้จ่ายเงินในเรื่องนี้ร้อยละ 31.5 และเลือกใช้กับการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 19.4

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีพฤติกรรมของผู้บริโภคที่น่าสนใจ คือร้อยละ 51.6 จะลดการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน, ร้อยละ 50.1 ลดการไปเที่ยวสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน, ร้อยละ 50 ลดการทำงานกลางแจ้ง รวมถึงลดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ การไปยิมเพื่อออกกำลังกาย และการไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า

3.การเข้าสังคมและการรักษาระยะห่าง

  • ร้อยละ 70 ใส่ใจกับเรื่องสุขอนามัยของกันและกัน
  • ร้อยละ 56 ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
  • ร้อยละ 46 ลดการออกจากบ้านเพื่อความบันเทิงน้อยลง

ภายหลังสถานการณ์โควิด-19พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย การเว้นระยะห่าง และการใช้เวลาอย่างมีนัยสำคัญ

  • ร้อยละ 72 ระมัดระวังเรื่องความสะอาดภายนอกบ้านมากขึ้นเมื่อต้องออกไปซื้อของ
  • ร้อยละ 59 เลือกที่จะรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลมากขึ้น
  • ร้อยละ 58 เลี่ยงการไปสถานที่ที่มีความแออัด

อีกหนึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สำคัญ คือเลือกซื้อของผ่านทางช่องทางออนไลน์มีการเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเพียง 28% เท่านั้น เพราะยังคงมีการซื้อสินค้าเกิดขึ้นทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป

นอกจากนี้พฤติกรรมการซื้อของเพื่อความผ่อนคลายก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น 82% ด้วยเหตุนี้ทำให้ร้านค้าต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยจัดสรรพื้นที่ใหม่จากเดิมที่เน้นการสร้างประสบการณืให้ลูกค้าอยู่ในร้านนานที่สุด ต้องปรับเปลี่ยนเป็นให้มีความสะดวก รวดเร็วที่สุด ลดการสัมผัสระหว่างบุคคล รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ และออฟไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการผู้บริโภคให้มากขึ้น

4.สุขภาพความเป็นอยู่

  • ร้อยละ 47 กังวลเรื่องสุขภาพจิตใจและความเครียดมากที่สุด
  • ร้อยละ 45 กังวลในวิธีการรักษาโรค COVID-19 และการวิจัยวัคซีนที่อาจจะยังไม่สำเร็จในเร็ว ๆ นี้

สำหรับสิ่งที่ผู้บริโภคกังวลน้อยกว่าที่คาดคือเรื่องการรับมือกับการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขสามารถรับมือได้หากการระบาดระลอกใหม่มาถึง จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคเตรียมใจไว้ล่วงหน้าแล้วถึงโรคระบาดที่อาจเกิดในระลอก 2 โดยกว่า 78% ของผู้บริโภคมองว่าการระบาดของโรค COVID-19 นั้นเกิดขึ้นได้ง่ายแม้จะทำความสะอาดสถานที่นั้น ๆ มากแค่ไหนก็ตาม

วิธีการรับมือของแบรนด์

1.แบรนด์ต้องกลับมาให้คุณค่ากับแบรนด์ที่ต้องการนำเสนอไปยังผู้บริโภคให้รู้สึกถึงความคุ้มค่าเมื่อเลือกซื้อสินค้า

2.สร้างความรู้สึกนอกเหนือจากการลดราคา เช่น การสะสมแต้ม, แลกเงินคืน, แลกของรางวัล

3.ทบทวนบทบาทของสินค้าว่าสามารถสร้างประสิทธิภาพ ผลตอบแทน รายได้ หรือเพิ่มทักษะเกี่ยวกับงานผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

4.แบรนด์ควรเตรียมความพร้อมใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้ามากขึ้น

5.ร้านค้าจำเป็นปรับเปลี่ยนรูปแบบเน้นเรื่องความสะดวก ลดเวลาการซื้อของ ลดการสัมผัสระหว่างลูกค้ากับพนักงาน และมีการนำข้อมูลลูกค้าทั้งออนไลน์ และออฟไลน์มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด