รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมแก้กฎหมาย เล็งเติม “น้ำเสีย” ลงทะเล หลังบำบัดจนสะอาดเกิน ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมง “สาหร่าย-ปลา” ขาดสารอาหาร
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานข่าวที่น่าสนใจ ระบุว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำเสียลงทะเล เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารอาหารในน้ำ ที่ส่งผลกระทบต่อการประมงเนื่องจากน้ำทะเล “สะอาดเกินไป”
รายงานระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ทะเลเซโตะ ทางตะวันตกของญี่ปุ่น “สะอาดเกินไป” จนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่ออุตสาหกรรมประมงในท้องถิ่น เนื่องจากความหนาแน่นของเกลือ สารอาหารไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่ลดลงจากน้ำที่สะอาด ทำให้สาหร่ายในฟาร์มเปลี่ยนสีจนซีดและจำนวนปลาน้อยลง
ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายในปี 1973 หลังจากสภาพน้ำในทะเลโซตะเสื่อมโทรมเนื่องจากการไหลเข้าของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมในช่วงที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง กระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดเป้าหมายการบำบัดน้ำเสียด้วยการลดเกลือ (Nutrient Salts) ในน้ำลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำขุ่นแดง รวมทั้งกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับน้ำเสียจากโรงบำบัดของแต่ละโรงงาน
อย่างไรก็ตาม การลดเกลือที่มีส่วนในการสร้างสารอาหาร ได้ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสาหร่ายทะเล และอุตสาหกรรมประมง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุล กระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงวางแผนการเพิ่มระดับน้ำเสียในช่วงฤดูการเลี้ยงสาหร่าย คือระหว่างฤดูใบไม้ร่วง และฤดูใบไม้ผลิ ด้วยเพิ่มปริมาณเกลือที่ปล่อยออกจากโรงบำบัดน้ำเสีย เพื่อสร้างสารอาหารลงสู่ทะเล
โดยทางกระทรวงกำลังพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะเพิ่มเกลือมีส่วนในการสร้างสารอาหาร ก่อนจะส่งร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขกฎหมายมาตรการพิเศษเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของทะเลเซโตะเข้าสู่การประชุมสามัญในต้นปีหน้า
ที่มา: japantimes