เปิดพฤติกรรมคนไทยช่วงเศรษฐกิจซบเซาหันไปทำบุญ-ขอพร ดันเงินสะพัด 10,800 ล้านบาท


การทำบุญ-ขอพรยังเป็นพึ่งทางใจให้กับคนไทยอยู่เสมอ โดยเฉพาะที่ช่วงเศรษฐกิจซบเซา และปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้คนหันไปเข้าวัด พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันมากขึ้น ดันเงินสะพัด 10,800 ล้านบาท

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนค.) ที่ทำการเก็บกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 7,904 คน เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงเดือนต.ค. 2563 พบว่าแม้เศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงซบเซา และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ผู้คนยังเดินทางไปทำบุญ ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่าเดิม คิดเป็น 44.98%

สำหรับวัตถุประสงค์ของการทำบุญไหว้พระขอพรสิ่งศักด์สิทธิ์

อันดับ 1 เพื่อเป็นขวัญและกำลังในชีวิต คิดเป็น 42.42%
อันดับ 2 ขอโชคลาภ เงินทอง คิดเป็น 29.64%
อันดับ 3 ขอเรื่องการงาน ธุรกิจ คิดเป็น 10.95%
อันดับ 4 ขอเรื่องสุขภาพ คิดเป็น 8.74%
อันดับ 5 ขอเรื่องความรัก ครอบครัว คิดเป็น 5.90%
อันดับ 6 ขอเรื่องการเรียน การศึกษา คิดเป็น 2.34%

ค่าใช้จ่ายในการทำบุญแต่ละครั้ง

  • เฉลี่ย 100-200 บาท คิดเป็น 44.72%
  • น้อยกว่า 100 บาท คิดเป็น 24.57%

ลักษณะการทำบุญ

  • บริจาคตู้ทำบุญ คิดเป็น 47.58%
  • ถวายสังฆทาน คิดเป็น 39.46%
  • บูชาเครื่องรางของขลัง คิดเป็น 5.59%
  • สะเดาะเคราะห์ คิดเป็น 5.10%
  • เสี่ยงทาย (เซียมซี ยกพระเสี่ยงทาย) คิดเป็น 2.28%

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก นอกเหนือจากการทำบุญในศาสนสถานได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ก่อให้เกิดรายได้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย โดยสนค. ประมาณการว่าการเดินทางไปทำบุญของประชาชนจะสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบประมาณ 10,800 ล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 0.36% ของมูลค่าท่องเที่ยวรวมของไทยในปี 2562