เจาะลึกเมียนมาขุมทรัพย์เม็ดงามกับธุรกิจน่าลงทุนเหมาะเข้าไปเปิดตลาด


สถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาตอนนี้อาจจะวนลูปเดิมอีกครั้งกับการถูกรัฐประหาร หลังจากนางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐฯ และแกนนำพรรค MLD รวมถึง อู วิน มิน ประธานาธิบดี และบุคคลสำคัญของรัฐบาลเมียนมา ถูกกองทัพควบคุมตัวในกรุงเนปิดเนปิดอว์

แน่นอนว่าหลายฝ่ายกำลังติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตข้างหน้า เช่นเดียวกับในเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนที่อาจจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สำหรับเมียนมาถูกยกให้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความดึงดูดใจให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนจากนโยบายการเปิดประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงทำให้หลายอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักการค้า การลงทุนในเมียนมาให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร นี่คือประเทศขุมทรัพย์ที่นักธุรกิจไม่ควรพลาด

อยากเข้าไปลงทุนในเมียนมาต้องทำอย่างไร

แม้ว่าเมียนมาจะเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่กฎระเบียบจากทางรัฐบาลยังดูเคร่งครัด โดยผู้ประกอบการที่อยากเข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดตั้งบริษัทจะต้องจดทะเบียนโดยบุคคลสัญชาติเมียนมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และมักนิยมทำกันบ่อย ๆ คือ การหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เพื่อร่วมงานระหว่างกัน

อุตสาหกรรมน่าลงทุนในเมียนมา

คำถามต่อมาที่หลายคนต้องสงสัยอย่างแน่นอน คือ ธุรกิจอะไรเป็นที่นิยม น่าลงทุนในเมียนมา โดยรายงานเศรษฐกิจการค้าเมียนมา ในเดือนพฤษภาคม 2563 ของกระทรวงพาณิชย์ เผยว่าอุตสาหกรรมที่ชาวต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุนในเมียนมามากที่สุดในช่วงต้นปีงบประมาณ 2019-2020 (เดือนตุลาคม 2562-เมษายน 2563) 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.พลังงาน คิดเป็นมูลค่า 1,026.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 2.อสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นมูลค่า 895.822 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 3.การผลิต คิดเป็นมูลค่า 544.891 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้านประเทศที่เข้าไปลงทุนในเมียนมามากที่สุดอันดับ 1 คือ ฮ่องกง มีมูลค่าการลงทุน 1,335.324 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับ สิงคโปร์ มีมูลค่าการลงทุน 917.093 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับ 3 จีน มีมูลค่าการลงทุน 434.621 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 7 มีมูลค่าการลงทุน 47.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้าไทยที่นิยมในเมียนมา

ในเดือนมกราคม-เมษายน 2563 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย รวมทั้งสิ้น 2,432.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.39 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาคิดเป็นมูลค่า 1,397.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.69 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวลงหลังจากการส่งออกมีการขยายตัว (YoY) ขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงเดือนที่แล้ว

สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,034.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากไทยเริ่มให้เอกชนสามารถนำเข้าสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมาได้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563

โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์

อยากนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องทำอย่างไร
ผู้ที่จะทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าจะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า และส่งออกที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า-ส่งออก กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาทีมีสัญชาติเมียมา หรือที่แปลงสัญชาติเป็นเมียนมา, ห้างหุ้นส่วน บริษัททั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นในเมียนมา, ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทร่วมทุน ทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายการลงทุนต่างประเทศของเมียนมา และสหกรณ์ทั้งหลายที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายสหกรณ์ของเมียนมาปี 2533

ขั้นตอนการส่งออกสินค้า

1.ผู้ส่งออกที่จดทะเบียนก่อนที่จะส่งสินค้าออก จะต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกจากระทรวงพาณิชย์มีระยะเวลา 6 เดือน

2.ผู้ซื้อในต่างประเทศจะต้องเปิด L/C ที่ Myanmar-Investment-and-Commercial-Bank (MICB) หรือ Myanmar -Foreign-Trade-Bank (MFTB) ผ่านทางธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและจะต้องแจ้งต่อเรือที่จะขนสินค้าด้วย

3. ในกรณีที่จะต้องตรวจสินค้าก่อนขนส่ง The-Inspection-and-Agency-Service-Departmentจะดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะ น้ำหนัก คุณภาพ และการบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่จะขนส่งทางเรือ

4. เอกสารเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางเรือ เช่น Shipping-Bills-Freight-Bill เป็นต้น จะต้องยื่นต่อธนาคารที่ได้เปิด L/C

การนำเข้าสินค้า

1.ผู้นําเข้าจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศที่ Myanmar-Investment-andCommercial -Bank (MICB) หรือ Myanmar-Foreign-Trade-Bank (MFTB) เพื่อยื่นใบอนุญาตนําเข้าสินค้าจากกระทรวงพาณิชย์

2.แบบสัญญาขาย (Sale Contact) และ Proforma Invoice ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า บรรจุภัณฑ์ และระยะเวลาการส่งมอบ

3. ในกรณีที่ซื้อเป็นราคา FOB ผู้นําเข้าจะต้องทำการประกันภัยสินค้ากับ Myanmar Insurance Company และใช้บริษัท Myanmar Five Star Line เป็นผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้น

4. ผู้นําเข้าสินค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการนําเข้าภายใน 21 วัน นับจากวันตามที่ระบุไว้ในอนุญาตนําเข้า

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการที่อยากสนใจเข้าไปลงทุนในเมียนมามีการศึกษาข้อมูลการค้า การลงทุนในละเอียดครบทุกด้าน การทำธุรกิจในเมียนมาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น