แฟรนไชส์ ถือเป็นธุรกิจที่ขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย ด้วยการนำกลยุทธ์ที่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้า ได้แก่ ชื่อสินค้าหรือบริการ แบรนด์ หรือ โลโก้ ของเจ้าของแฟรนไชส์ หรือเรียกว่า แฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงระบบบริหารจัดการ เกี่ยวกับธุรกิจของตนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซี
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า และ Knowhow ที่ได้เรียนรู้ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งมีลักษณะการจ่ายที่แตกต่างกันไปตามข้อตกลงของผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น จ่ายค่าแฟรนไชส์ครั้งแรก หรือหักค่าสิทธิ์ Royalty Fees จากรายได้ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อควรศึกษาแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเอง และเป็นธุรกิจที่มีความสะดวกทั้งต่อตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์และผู้บริโภค สามารถมองเห็นโอกาสเติบโต ที่สำคัญควรศึกษาข้อมูลของแฟรนไชส์ที่ก่อนลงทุนอย่างละเอียด
ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆรอบด้าน เช่น เป็นธุรกิจประเภทที่ชอบหรือมีความสนใจหรือไม่ ยกตัวอย่าง อยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ เพราะมองว่าคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก แต่ตัวเจ้าของธุรกิจเองไม่ดื่มกาแฟ กรณีแบบนี้ก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้
โดยหลักในการเลือกลงทุนแฟรนไชส์ให้สำเร็จ มี 4 เรื่องหลักๆ ดังนี้
ชื่อเสียง หรือแบรนด์ (Brand) : แบรนด์ดี มีภาพพจน์ เป็นที่รู้จักกว้างขวาง และชื่อเสียงดี
ระบบ (System) : ต้องเรียนรู้ง่าย อุปกรณ์ใช้งานได้ดี มีการสนับสนุน อบรม และช่วยเหลือดี
ผลกำไร (Profit) : การลงทุนไม่มากเกินไป รายได้ดี มีกำไร และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการไม่เยอะ
การคืนทุน (Return) : ใช้เวลาคืนทุนไม่นาน ระยะเวลาไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของสัญญา
นอกจากนั้น ความมั่นคงของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถึงแม้จะสามารถบริหารแฟรนไชส์ที่ซื้อมาได้ดี แต่หากบริษัทแม่ต้องปิดตัวไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ ฉะนั้นควรศึกษาให้ดีว่าแฟรนไชส์เจ้านั้น ทำธุรกิจนี้มาแล้วกี่ปี ปัจจุบันมีสาขา แบ่งเป็นสาขาของตัวเองและสาขาแฟรนไชส์กี่สาขา อัตราการปิดสาขาลงไปมีความถี่มากแค่ไหน
ด้านการควบคุมคุณภาพก็ต้องพิจารณาให้ดี ซึ่งผู้ซื้อควรศึกษาว่าตัวเจ้าของแฟรนไชส์ให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือบริการหรือไม่ เช่น หากเป็นสินค้าบริโภค ต้องควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบให้สะอาด และได้มาตรฐาน สำหรับธุรกิจบริการ ควรมีการฝึกอบรมบุคลากเพื่อให้บริการในมาตรฐานเดียวกัน ฯลฯ
ส่วนการกำหนดเงื่อนไขสัญญาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรคำนวณต้นทุนทุกอย่างให้ครบ เพื่อประเมินความสามารถในการลงทุน และการทำกำไรในระยะยาว โดยต้องศึกษารายละเอียดข้อตกลง บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการตกลงกันไม่ได้ รวมถึงการถูกเอารัดเอาเปรียบในระยะยาวด้วย
ขอแนะนำ 8 ขั้นตอนอย่างฉลาด ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
1. หาความรู้ ความเข้าใจเรื่องของแฟรนไชส์ ก่อนเป็นอันดับแรก
2. ให้พิจารณาดูว่า ตนเองชอบธุรกิจ อะไร มีลักษณะอย่างไร
3. หาข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่ตนชอบ ทำการวิเคราะห์ พร้อมเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย
4. ติดต่อขอข้อมูล และแสดงความสนใจในแฟรนไชส์ที่จะลงทุน
5. เยี่ยมชมสาขาแฟรนไชส์ที่สนใจ เพื่อเห็นข้อมูลการทำธุรกิจจริงของแฟรนไชส์
6. ผ่านการสัมภาษณ์ และเจรจาธุรกิจ กับแฟรนไชส์ที่ต้องการลงทุน
7. พิจารณา ต่อรอง และตัดสินใจทำสัญญาแฟรนไชส์ที่ตนเองต้องการ
8. ลงทุน และผ่านการอบรม เตรียมการต่างๆ เพื่อเริ่มเปิดดำเนินงาน
นอกจากนี้ การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมก็สำคัญมากไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้เกิดรายได้ที่มั่นคง ทั้งยังช่วยให้ผู้ลงทุนวางแผนการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบไปยังสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการขยายสาขาแฟรนไชส์ หรือใครที่อยากลงทุนกับแฟรนไชส์มาตรฐาน แนะนำให้มาร่วมงาน Smart SME Expo 2021 #ชี้ช่องรวย #ที่เดียวจบพบทางรวย ซึ่งจัดติดต่อกันเป็นปีที่ 7 โดยงานจะเริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 1–4 กรกฎาคม 2564 ณ ฮอลล์ 7–8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมไฮไลท์ 5 โซนเด็ด เพื่อคนรักการทำธุรกิจสามารถมาต่อยอดโอกาสรับ New Normal ดังนี้
1. Franchise [Star Area] ธุรกิจดาวเด่นน่าลงทุน
2. Financial & Goverment สถาบันการเงินและหน่วยงานสนับสนุน
3. Beauty & Health ธุรกิจความงาม และสุขภาพ
4. Inno & Tech ธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี
5. Food & Beverage ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
เปิดจองบูธแล้ววันนี้
Call Center 086 314 1482 , 094 915 4624
E-Mail : [email protected]