เปิดผลสำรวจซีอีโอชั้นนำชี้โควิดระลอกใหม่ส่งผลกระทบธุรกิจ SME หนักสุดกว่าปี 63


สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเผยผลสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 6 ในเดือนพฤษภาคม 64 ภายใต้หัวข้อ “มาตรการเยียวยาแบบไหนที่ถูกใจ SME” พบส่วนใหญ่มองว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ หนักกว่าปี 63 คาดเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวสู่สภาวะปกติกลางปี 65

การสำรวจครั้งนี้ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร ส.อ.ท. จำนวน 170 คน ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ได้บทสรุปแบ่งออกมาเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

1.โควิด-19 ระลอกใหม่กระทบต่อผู้ประกอบการ SME ในระดับใด

  • ร้อยละ 89.4 มากกว่าปี 2563
  • ร้อยละ 5.3 เทียบเท่ากับปี 2563
  • ร้อยละ 4.1 น้อยกว่าปี 2563
  • ร้อยละ 1.2 ไม่ได้รับผลกระทบ

2.โควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ในเรื่องใด

  • ร้อยละ 91.2 ความเสี่ยงจากการติดเชื้อของแรงงานในสถานประกอบการ
  • ร้อยละ 67.1 ความต้องการสินค้าและบริการลดลง/ลูกค้าชะลอการรับสินค้า
  • ร้อยละ 47.6 ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนในการบริหารจัดการแรงงานที่สูงขึ้น

3.มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SME ของรัฐ มาตรการใดมีประสิทธิภาพ

  • ร้อยละ 71.2 มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ
  • ร้อยละ 64.7 ลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือฝั่งละ 2.5% เป็นเวลา 3 เดือน
  • ร้อยละ 61.8 มาตรการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ และสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19
  • ร้อยละ 57.1 มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ และมาตรการพักหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
  • ร้อยละ 53.5 ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2564 และลดค่าธรรมเนียมการโอน

4.ภาครัฐควรออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือเพิ่มเติม ในเรื่องใด

  • ร้อยละ 59.4 ลดค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 30
  • ร้อยละ 55.3 ลดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ และค่าส่วนกลางของห้างสรรพสินค้า อย่างน้อยร้อยละ 50
  • ร้อยละ 53.5 ขยายระยะเวลาจัดเก็บภาษี VAT และเร่งคืนภาษี VAT สำหรับผู้ส่งออก
  • ร้อยละ 52.4 การนำใบสั่งซื้อสินค้ามาค้ำประกันสินเชื่อเงินกู้

5.แผนการใช้เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ควรนำไปใช้เรื่องใด

  • ร้อยละ 74.1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระตุ้นการบริโภค
  • ร้อยละ 70.6 ช่วยเหลือ เยียวยาให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
  • ร้อยละ 65.9 แก้ไขปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19

6.คาดว่าแผนการใช้เงินกู้ 5 แสนล้านบาท จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติ เมื่อใด

  • ร้อยละ 37.1 กลางปี 2565
  • ร้อยละ 23.5 ปลายปี 2565
  • ร้อยละ 21.8 ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ร้อยละ 17.6 ปลายปี 2564

7.หลังโควิด-19 ผู้ประกอบการ SME ควรปรับตัวในเรื่องใด

  • ร้อยละ 75.9 นำเทคโนโลยีและดิจิตอลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ
  • ร้อยละ 64.1 การพัฒนาทักษะแรงงาน และเพิ่ม Multi Skill ให้กับแรงงานในสถานประกอบการ
  • ร้อยละ 58.8 การบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต
  • ร้อยละ 56.5 พัฒนาธุรกิจไปสู่อีคอมเมิร์ซ และการเปิดตลาดต่างประเทศ