Flash Express ทุ่ม 200 ล้านบาท เยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากการปิดคลัง


หลังจากที่ Flash Express พบว่าพนักงานได้รับเชื้อโควิด19 ส่งผลทำให้คลังสินค้าต้องปิดตัวไป 3 วัน และมีสินค้าคงค้างไม่ได้รับการจัดส่ง จำนวนมาก โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงในครั้งนี้ คือลูกค้าปลายทาง และผู้ประกอบการที่ใช้บริการ นั่นเอง

.

เมื่อวานนี้ ทางบริษัท Flash Express ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการตั้งงบประมาณ200 ล้านบาทเพื่อเป็นการชดชเยความเสียหายที่เกิดขึ้น ตามนโยบายดังนี้ครับ

.

  1. สำหรับผู้ส่งพัสดุ – สินค้าที่ถูกจัดส่งระหว่างวันที่ 16 – 31 กรกฎาคม 2564 หากเป็นปัญหาที่พัสดุอยู่ที่ศูนย์กลางกระจายพัสดุ (Hub) (ยกเว้น ช่วงขารับและขานำส่งพัสดุ) เกินกว่า 3 วัน ทางบริษัทฯ ยินดีคืนเงินค่าขนส่ง 100%
  2. หากลูกค้าปลายทางปฏิเสธการรับพัสดุเนื่องจากความล่าช้าของปัญหาจากศูนย์กลางกระจายพัสดุ (Hub) ข้างต้น ทางบริษัทฯ รับผิดชอบค่าตีกลับไปยังผู้ส่งต้นทาง และบริษัทฯ จะคืนเงินค่าขนส่ง 100%
  3. หากผู้รับปลายทางที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการส่งล่าช้าจากปัญหาของศูนย์กลางกระจายพัสดุ (Hub) ข้างต้น ทางบริษัทฯจะมอบคูปองของแฟลช เอ็กซ์เพรสมูลค่ารวม 50 บาท
  4. หากพัสดุเสียหายหรือสูญหายเนื่องจากปัญหาของศูนย์กลางกระจายพัสดุ (Hub) ข้างต้นทางบริษัทฯจะชดเชยค่าเสียหายเต็มจำนวนอย่างเร็วที่สุด (ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทฯ ที่กำหนด)

.

ทั้งนี้ทุกท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียดอื่นได้เพิ่มเติม ที่ www.flashexpress.co.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน แฟลชเอ็กซ์เพลส

.

สำหรับ ‘Flash Express’ เป็นบริษัทขนส่งพัสดุที่เพิ่งขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพ ‘ยูนิคอร์น’ รายแรกของคนไทย ด้วยมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมมีบริษัทยักษ์ใหญ่เป็น ‘เเบ็กอัพ’ ร่วมลงทุนด้วยอย่าง SCB 10X , OR บริษัทลูกของ ปตท. , กรุงศรีฟินโนเวต เเละ Durbell ฯลฯ

.
โดยในปี 2563 บริษัทมี ‘ยอดส่ง’ มากกว่า 300 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

.
‘Flash Express’ ใช้กลยุทธ์เรื่อง ‘ราคา’ มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก’ พร้อมขยายสาขาไปตามชุมชน เเละธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น

.

เมื่อพูดถึง Flash Express ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัท ที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่ตามโมเดลแรกเริ่มซึ่งกำเนิดพร้อมยุคโควิด โดยมีแหล่งเงินทุนให้การสนับสนุน อาทิ

.

SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน

.

อีกเจ้าที่เรียกได้ว่าเป็นรุ่นใหญ่พลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็น ‘ศูนย์กระจายสินค้า’ เเละ ‘จุดรับส่งพัสดุ’ ภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

.

แลไม่ได้มีแค่สถาบันการเงินเดียว เพราะยังมี ‘กรุงศรีฟินโนเวต’ ในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

.