ศบค. อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องสั่งวัคซีนซิโนแวคเพิ่มอีก 12 ล้านโดส ให้ทันในไตรมาส 4 ของปีนี้


จากกรณีที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มีมติให้จัดหาวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อซิโนแวค เพิ่มอีก 12 ล้านโดส ในห้วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามในวงกว้าง ว่าเหตุใดยังคงสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคจำนวนมาก
.
หลังจากมีผลการศึกษาระบุว่าไม่สามารถป้องกันการติดโควิดสายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดีย สายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในตอนนี้ ซึ่งต่อมา นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาลระบุว่า วัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพสร้างภูมิคุ้มกันสูง หากฉีดแบบไขว้กับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า

โดยให้เหตุผลหลักสำหรับเรื่องนี้ไว้ 2 ประการด้วยกันคือ
.
1.) เพื่อเตรียมวัคซีนให้เพียงพอจากการที่วัคซีน จอห์นสัน&จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ไม่สามารถนำเข้ามาได้ตามกำหนดเวลา และปริมาณ แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) อยู่ที่ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน ขณะที่ต้องมีปริมาณวัคซีนให้เพียงพอ 10-15 ล้านโดสต่อเดือน จึงต้องสั่ง ซิโนแวค และ ไฟเซอร์ (Pfizer) เพิ่มในไตรมาส 4 ของปี 2564
.
2.) การฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค ตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า มีผลการศึกษาแล้วว่า มีภูมิคุ้มกันมากกว่าฉีดซิโนแวคครบ 2 หรือแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 3 เท่า และใช้เวลาฉีดครบ 2 เข็มเร็วกว่า (ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า ใช้เวลา 3 สัปดาห์ ส่วน แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ใช้เวลา 10-12 สัปดาห์)
.
โดยมีความเห็นจาก พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สำทับอีกว่า การจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่มอีก 12 ล้านโดส เป็นการดำเนินการตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลจากรายงานวิจัย ทั้งในพื้นที่และโรงเรียนแพทย์ พบบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดซิโนแวคครบโดส 2 เข็ม สามารถป้องกันการติดเชื้อ 72% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียชีวิต 98% เปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1 เข็ม ป้องกันติดเชื้อได้ 88% เมื่อนำวัคซีนมาฉีดในสูตรไขว้ สามารถป้องกันการติดเชื้อสูงมากขึ้น รวมถึงการระดมฉีดครอบคลุมประชากรจำนวนมาก ได้เป็นไปตามแผนการกระจายวัคซีนที่วางแผนไว้เป็นอย่างดี
.

.