ธ.ก.ส. ปล่อย “สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ” ให้วงเงินกว่า 1 แสน ปลอดชำระต้น 2 ปี


ธ.ก.ส. ปล่อย “สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ” ให้กู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ช่วยเกษตรกรและครอบครัว เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่าย หรือค่าลงทุน ในการเริ่มต้น ประกอบอาชีพ สนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชนเมืองและภาคชนบท

ความน่าสนใจของสินเชื่อ

– สร้างอาชีพในระยะยาว

– ระยะเวลาปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก

– ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

– ดอกเบี้ยต่ำมาก คิดที่ 4% ต่อปี ใน 3 ปีแรก

คุณสมบัติผู้กู้

– เป็นบุคคลสัญชาติไทย

– เป็นเกษตรกร ทายาทเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนเกษตรกร

– ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่มีแผนในการประกอบอาชีพเกษตร

– ประกอบอาชีพการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

– อาชีพนอกภาคการเกษตร ที่มีลักษณะเป็นการลงทุนค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือนซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากนักอัตราดอกเบี้ย

– กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่าย คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ระยะเวลาชำระคืน ไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้

วงเงินปล่อยกู้

– ให้กู้ได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย

– กรณีกู้เป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ปีที่ 4 – 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืน ไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก แต่ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้

.

สำหรับรายละเอียดโครงการสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ ธ.ก.ส.ได้ตั้งวงเงิน 30,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย โดยหากกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน หรือสูงสุดไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้ แต่หากกู้เพื่อลงทุน ปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ย 4 %ต่อปี ปีที่ 4 – 5 ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ซึ่งเท่ากับ 6.5%ต่อปี กำหนดเวลาชำระไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก

เริ่มกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 มี.ค.67 โดยแจ้งขอสินเชื่อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ แอพพลิเคชันไลน์ BAAC Family และรับนัดหมายผ่านเอสเอ็มเอสเพื่อจัดทำสัญญา หรือติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

“โครงการสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร ทายาทเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนเกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ให้สามารถนำเงินกู้ไปใช้ประกอบอาชีพเกษตรหรือการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรืออาชีพนอกภาคการเกษตร หรืออาชีพที่มีลักษณะเป็นการลงทุนค้าขาย เพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือนได้”

.

.