เมื่อ 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ “โทรคมนาคม” มีแววจะควบรวมกิจการ จะเกิดอะไรขึ้นกับเรื่องนี้ และจะส่งผลอย่างไรต่ออนาคต


ข่าวกระแสความร่วมมือของ 2 ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่จนอาจจะควบรวมเป็นบริษัทเดียว สร้างความสนใจให้คนไทยมากมายครับ เราจะมาไล่เรียงกัน

1. ประเทศไทยมี ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 ราย คือ AIS,True,DTac และ NT(National Telecom ที่รวมกันของ CAT และ TOT) นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการ MVNO(Mobile Virture Network Operator) หรือเครือข่ายเสมือนอีกจำนวนหนึ่ง โดย 3 รายแรกมีลูกค้าร่วมๆ 100 ล้านราย ที่เหลือมีจำนวนหลักหมื่นเท่านั้น

2. AIS เป็นผู้นำตลาด ก่อตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรี และขายต่อให้กลุ่ม Temasek โดย Singtel เป็นผู้ดูแล ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Gulf บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย

3. True เป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 โดยเริ่มจากไอเดียเจ้าสัวที่อยากเข้าธุรกิจโทรคมนาคมในนาม Telecom Asia เริ่มทำโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย Fixed Line และเข้าสู่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกับ Orange ของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีบริการ Cable TV รวมถึง Internet Boardband ด้วยวิสัยทัศน์ Covergence ที่ให้บริการครบวงจร

4. DTac ผู้ให้บริการอันดับ 3 ก่อตั้งโดยครอบครัวเจ้าสัวบุญชัย เบจญรงค์กุล ที่มีการค้ากับ Motolora มาตั้งแต่ยุค วิทยุสื่อสาร จนมาถึงยุค Mobile เจ้าสัวจึงได้รับความรู้จากพันธมิตรมาทำ หลังปี 1997 กลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมบาดเจ็บหนัก จากการลงทุนจำนวนมากและกู้เงินต่างประเทศมากจึงต้องเพิ่มทุนขายให้ต่างประเทศ โดย Dtac ขายให้ Telnor ยักษ์ใหญ่จาก Norway

5. ช่วงปี 1997 ทั้ง True และ Dtac บาดเจ็บจากค่าเงินบาทลอยตัว ในขณะที่ AIS มีการซื้อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงไว้ จึงไม่ได้รับผลกระทบส่งผลให้ธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด อย่างไรก็ดีอุตสาหกรรม Telco ต้องลงทุนต่อเนื่อง จาก 1G เป็น 3G อดีตนายกมองว่า เงินลงทุนต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงขายหุ้นให้คนที่ชำนาญกว่าแทน ช่วงเปลี่ยน 3G ไทยเราช้ากว่าเพื่อนเพราะ Dtac กับ True ยังไม่ฟื้นตัว

6. และก็เป็นไปตามคาด คือเทคโนโลยีเปลี่ยนไว จาก 3G เป็น 4G และ 5G ที่ต้องลงทุนระบบอัพเกรดความเร็วให้ทันโลก ต้องใช้เงินลงทุนต่อเนื่องในขณะที่รายได้จากการขายลดลง คือ ความเร็วต้องเพิ่มราคาขายต้องลด ใครความเร็วช้ากว่าเพื่อน ลูกค้าหนี โลกเปลี่ยนจากยุคการพูดคุยทางโทรศัพท์ กลายเป็นอินเตอร์เน็ตทุกที่

7. วิสัยทัศน์ของ True ที่บอกว่ามีบริการครอบคลุมกลับกลายเป็นภาระใหญ่ เพราะต้องลงทุนหลากหลาย หลายธุรกิจที่ตัวเองผูกขาดได้เช่น CableTV กลับโดน Streaming อย่าง Netflix มาแข่ง อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีลูกค้ามากมาย แต่วันนี้ AIS ที่เพิ่งเริ่มทำเพิ่งลงทุนได้ของใหม่ที่เร็วกว่า แถมเข้ามาแข่งธุรกิจ CableTV ได้พร้อมกัน True เองมีภาระหนี้เก่ากับการลงทุนใหม่ ต้องหาพันธมิตรจากจีนมาช่วย แต่สุดท้าย CP ก็ต้องเข้ามาอุ้ม ถึงขนาดเจ้าสัวพูดว่าทำงานมาทั้งชีวิต สินทรัพย์ทั้งหมดต้องมาช่วย True โดยที่ไม่ยอมปล่อยขายให้ต่างชาติเหมือนรายอื่น

8. Telnor ผู้ถือหุ้นใหญ่ มีทิศทางการลงทุนใน Asia เปลี่ยนไป ส่งสัญญาณไม่ลงทุนเพิ่มรอรับปันผลอย่างเดียว รอการติดต่อจาก partner รายใหม่มาหลายปี

9. เข้าสู่ยุค 5G ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ได้เป็นแค่ บริการโทรคุยกัน ไม่ได้เป็นแค่ให้สัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่จะมีบริการใหม่ๆมากมาย เช่น Mobile Banking (Vodaphone Africa ชนะธนาคารท้องถิ่น) M commerce, Telemedicine, Smartcity, IOT wareable โอกาสธุรกิจมหาศาล มี data มหาศาล ยังมี Cloud computing True ไม่อยากทิ้งโอกาสนี้ AIS วิ่งไปไกลแล้ว ประเทศไทยถ้าตัด AIS ออก คนอื่นแข่งไม่ได้แล้ว scale ไม่พอ

10. การตัดสินใจควบกิจการ หรือ ร่วมมือกัน มีความเสี่ยงจาก ผู้กำกับดูแลทั้งตลาดหลักทรัพย์ และ กสทช (สำนักงานแข่งขันไม่ได้ดูแลเรื่องนี้เป็นของ กสทช) เพราะการรวมกิจการ หรือ ร่วมมือ มีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบ แต่บ้านเราไม่ค่อยสนใจ กฎหมายเขียนว่า มีอำนาจเหนือตลาดไม่ผิด แต่ห้ามใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ผิด…!!!

11. การควบกิจการส่งผลดีในเรื่องประหยัดต้นทุนมหาศาล ได้ economic of scale และจะมีผู้ใช้บริการเป็นอันดับ 1 แซง AIS แต่สุดท้ายผู้บริโภคจะได้ใช้สัญญาณที่บริการแย่ลง ติดๆดับๆ ล๊อกความเร็วทั้งที่บอกว่าซื้อ Package unlimit หรือไม่ ราคาการให้บริการจะแพงขึ้นไหม ประเทศจะได้อะไรจากดีลนี้ น่าติดตามมากครับ

พลัฏฐ์ ศิริกุลพิสุทธิ์(ต๊ะ)
อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

.

.