จากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนก่อนเข้าสู่ยุคโควิด ไตรมาสแรกในปี 2565 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,055 ตัวอย่าง ผลสำรวจออกมาอย่างเห็นได้ชัดว่า การซื้อขายอ่านออนไลน์ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนั้น มากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ ร้านอาหาร ร้อยละ 21 ของใช้ในบ้าน ร้อยละ 17 เสื้อผ้า ร้อยละ 16 เป็นการซื้อผ่านทางแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงของร้านอาหารต่าง ๆ ร้อยละ 70
ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสนใจซื้ออาหารผ่านด้านออนไลน์ เพราะว่า มีความสะดวกไม่ต้องเดินทางถึงร้อยละ 21 รวมถึงการชำระเงินก็สะดวก ร้อยละ 21 และมีการส่งเสริมการขายจากช่องทางนี้อย่างน่าจูงใจประมาณ ร้อยละ 18 แล้วราคาที่ตัดสินใจถูกเปรียบเทียบประมาณร้อยละ 49 เห็นได้ชัดว่าโดยเฉพาะการชำระเงินมีสิทธิ์ให้เลือกทั้งเงินสดและแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ กลุ่มประชากรที่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์นี้ ผลสำรวจออกมาแล้ว 3 ลำดับแรกปรากฏว่าเป็นกลุ่ม Baby Boom อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และกลุ่ม Gen X และ Gen Y ตามลำดับ จะเห็นได้ชัดว่าอายุไม่ใช่ปัญหาต่อการซื้อ แต่กำลังซื้อต่างหากที่จะเป็นประเด็นในการปรับตัวของผู้บริโภค
ขั้นตอนที่มีการสำรวจมาว่าทำไมถึงมีการสนใจซื้ออาหารผ่านช่องทางดิจิทัลออนไลน์ เพราะว่า
1.สามารถรับรู้หรือติดตามข่าวสารจาก Facebook , Line
2.สามารถเปรียบเทียบราคาได้ผ่านช่องทางออนไลน์
3.ตัดสินใจซื้อ
ช่องทางที่ซื้อสำคัญมาก แพลตฟอร์มร้านอาหารที่ผ่านช่องทางใหญ่ ๆ นั้นสะดวกและราคาก็แพงมาก ถ้าถามว่ากลับมาซื้อซ้ำไหม ตอบได้เลยว่าส่วนใหญ่กลับมาซื้อซ้ำ
ดังที่สำรวจชัดเจนว่า ร้านอาหารร้านไหนที่สามารถปรับตัวใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว เห็นได้ชัดว่าสามารถเพิ่มรายได้ จากผลสำรวจของพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคช่วงหลังโควิด
การลดต้นทุนนอกจากจะเพิ่มรายได้แล้ว ข่าวสารถึงตัวผู้ที่มีอำนาจซื้อโดยตรง และก็ยังลดต้นทุนด้วย หน้าร้านก็เป็นต้นทุนที่รอลูกค้ามาเยี่ยม แต่การทำผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เราวางแผนได้ในวันถัด ๆ ไป เรื่องนี้มีการ Feedback เร็วเพราะว่าปกติแล้วการใช้บริการผ่านช่องทางนี้ก็มีช่องทางในการให้ลูกค้าตอบสนองและให้เรตติ้ง
ผมคิดว่าวันนี้การส่งเสริมทักษะความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นนโยบายที่เป็นมาตรการที่จะสามารถทำให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการได้ และที่สำคัญคือ สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการได้มากและสิ่งที่เราต้องการมาก คือ การลดต้นทุน จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีไม่ได้เพิ่มแค่ช่องทางหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ความรู้ทางด้านดิจิทัลนั้นสามารถที่จะมีศักยภาพการประยุกต์ใช้สามารถลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ สังเกตได้ว่าตอนนี้ร้านกาแฟเล็ก ๆ จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ๆ วางอยู่หน้าร้าน เวลาสั่งซื้อก็สามารถสั่งผ่านตรงนี้ได้เลย เมนูที่เราเคยเห็นบนแผ่นกระดาษ ร้านอาหารบางร้านไม่มีแล้ว นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ในร้านอาหารต่าง ๆ เพื่อส่งอาหารตามโต๊ะ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศจีนก็เริ่มเอากาแฟที่ใช้บาริสต้าหุ่นยนต์เป็นคนทำ แต่อย่างไรก็ตาม คน และพนักงานก็ยังจำเป็นอยู่ แต่อาจจะใช้น้อยลง ดังนั้นก็สามารถลดต้นทุนได้ เพราะฉะนั้น การใช้ชีวิตหรือประกอบวิชาชีพ ต้องมีการใช้ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเสริมสร้าง แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการจะสร้างโอกาสหรือเติบโต สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่เราจะต้องรับมือ เราต้องรู้ว่าตัวเราอยู่กลุ่มไหน เราต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจที่เราทำว่าสูงหรือต่ำ ทักษะของเทคโนโลยีดิจิทัลเราเข้าใจและใช้ได้มากน้อยแค่ไหน สูงหรือต่ำ ถ้าเอามาบวกกันเป็น 2 แกน จะเบ่งคนออกเป็น 4 ประเภทคือ
1.ถ้าความรู้ในด้านธุรกิจและมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สูงก็จะทำให้สามารถที่จะเดินหน้าและทำในสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรม ทั้งเพิ่มรายได้และลดต้นทุนได้อย่างแน่นอน
2.ถ้าคนไหนมีความรู้ด้านธุรกิจสูงแต่ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่ำ ก็ควรที่จะไปเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
3.ถ้าคนไหนมีความรู้ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงแต่ความรู้ในด้านธุรกิจต่ำ หรือไม่เคยทำธุรกิจร้านอาหารมาก่อน ก็ต้องหาแฟรนไชส์ หรือหาอะไรที่มีความเสี่ยงต่ำในการทำธุรกิจร้านอาหารเสริมเข้ามา
4.ถ้าคนไหนมีความรู้ด้านธุรกิจต่ำ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่ำ กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุดในยุคนี้
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีเหตุผล พัฒนาเรื่องนี้ให้ดี สิ่งที่เราหวังเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้คือ ถ้าใครไม่เพิ่มรายได้หรือลดต้นทุน ก็จะอยู่ได้ยากในภาวะเงินเฟ้อ ที่มีผลกระทบมาจากการขัดแย้งจากราคาน้ำมันจนถึงการขัดแย้งของวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มาใช้เป็นอาหาร ก็ล้วนแต่ขึ้นราคา
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ประกอบการทุกคนจะใช้โอกาสเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มรายได้และลดต้นทุน จะทำให้อยู่รอด อยู่เป็น และอยู่ยาว.