เมื่อโลกนี้เปลี่ยนเร็ว “ฟินบิส โดย ทีทีบี” เสริมแกร่งความรู้ สู่การเป็น Smart SME ในยุคดิจิทัล


จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีปัจจัยมากมายที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ SME เช่น ภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้น้ำมัน-อาหารแพง สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กระทบการค้าโลก การฟื้นตัวจากโควิด ฯลฯ ไปจนถึงปัญหาจากตัวผู้ประกอบการเอง ที่อาจจะขาดการวางแผนและการบริหารงาน ขาดความเชี่ยวชาญด้านการตลาดยุคดิจิทัล และขาดตัวช่วยเรื่องการเงินทุน เหล่านี้ทำให้ SME ไม่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง

ด้วยข้อจำกัดมากมายที่เล่าเกริ่นไปนั้น ทีเอ็มบีธนชาต เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น โดยได้พัฒนาโครงการ finbiz by ttb ซึ่งเป็น Hub แห่งการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ SME ด้วยแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ด้วยแนวคิด “ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง” โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ยังได้ร่วมกับ ISMED (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) หน่วยงานวิชาการที่ให้คำปรึกษา แนะนำเชิงวิชาการให้กับ SME มุ่งเน้นสนับสนุนการปรับแผนธุรกิจ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมมือกันถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานสัมมนาออนไลน์ finbiz by ttb | Road to Digital Transformation พลิกโฉมธุรกิจ… สู่การเป็น Smart SME ในยุคดิจิทัล

ความพิเศษของการจัดงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ คือการคัดสรรเนื้อหาแบบเจาะลึกเพื่อปรับมุมมองดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) มาเสริมความแข็งแกร่งให้ SME ทั้งกลยุทธ์การบริหารธุรกิจ การตลาด และการเงิน ผ่าน 3 แนวคิด ได้แก่ 1. พลิกมุมมองบริหารสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน 2. พลิกมุมมองการตลาด เจาะโอกาสตลาดใหม่ และ 3. พลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัลโซลูชัน

พลิกมุมมองบริหาร >> เมื่อโมเดลลูกค้าเปลี่ยน SME ต้องอ่านเกมให้ออก และปรับกลยุทธ์ให้เร็ว เพราะทักษะที่เคยใช้ได้และดีที่สุด อาจใช้ไม่ได้กับโลกอนาคต

 

คุณสายัณห์ ไวรางกูร ผู้ก่อตั้งและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์ Backster Co., Ltd ได้ชี้ถึงการพลิกมุมมองบริหารสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน โดยเล่าว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลทุกอย่างได้ถูกเก็บไว้บนคลาวด์ทั้งหมด ทำให้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการยุคนี้จึงต้องมีความสามารถในการอ่านเกมให้ออก ว่าโมเดลธุรกิจของเราอยู่บนความไม่แน่นอนในระดับใด มีโอกาสเสี่ยงถูกดิสรัปได้มากแค่ไหน เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ให้เร็วและถูกต้องแม่นยำ ที่สำคัญต้องหมั่นสร้างกระแสเงินสดไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

พร้อมได้แนะนำหลักเช็คลิสต์ 5 ข้อ หรือ 5F เพื่อสะท้อนสุขภาพธุรกิจ ณ ปัจจุบัน ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงในอนาคตไว้ดังนี้

1. Fat – ธุรกิจเราใหญ่พอมั้ย? ถ้าวันนี้ ธุรกิจเราใหญ่พอ ก็แปลว่าเรายังคงได้เปรียบ มีอำนาจการต่อรองสูง

2. Fast – ธุรกิจเราปรับเปลี่ยนได้เร็วแค่ไหน? ถ้าวันนี้ธุรกิจเรามีทิศทางที่ชัดเจน กล้าที่จะก้าวข้ามออกมาจากกรอบเดิม ๆ สิ่งที่ต้องมาดูต่อคือความสามารถในการปรับเปลี่ยน เพราะโลกทุกวันนี้มี Topic ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากเราสามารถปรับตัวให้ทันกระแส ก็จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากขึ้น

3. First – ธุรกิจเราเป็นเบอร์หนึ่งในด้านใด? ถ้าธุรกิจที่เราทำอยู่มาจากการคิดค้นนวัตกรรมเป็นคนแรก หรือเข้ามาจับธุรกิจประเภทนี้เป็นรายแรก ก็จะแสดงถึงความเป็นเจ้าตลาด และมีความได้เปรียบเหนือผู้ที่ตามมาทีหลัง

4. Friendly – ธุรกิจเรามีเครือข่าย หรือ Ecosystem หรือไม่? ยิ่งธุรกิจมีพันธมิตรมากเท่าไหร่ ก็จะเกิดเป็นเครือข่ายที่ช่วยขับส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นสายป่านที่ยาวไกลมากขึ้น

5. Focus – โฟกัสถึงความเป็นไปได้ในอนาคต? เช่นการทำธุรกิจ ณ เวลานี้ ผู้ประกอบควรมองให้ออกว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สิ่งใดคือภัยคุกคามธุรกิจและสิ่งใดคือโอกาส เพื่อการปรับตัวได้ทัน เช่น หากธุรกิจที่ทำอยู่ไปต่อได้ยาก ก็ไม่ควรขยับขยาย แต่ควรปรับโครงสร้างหนี้ แล้วนำกระแสเงินสดไปลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ ที่เห็นโอกาสมากกว่า

พลิกมุมมองการตลาด >> Data คือ คีย์สำคัญของทุกธุรกิจ SME จึงต้องวางแผนการตลาดให้ตรงจุด พร้อมสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมการเข้าถึงลูกค้าอย่างตอบโจทย์ Pain Point

 

คุณอลงกรณ์ สุวรรณเวช อาจารย์ประจำด้านการตลาดดิจิทัล คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล่าถึงการพลิกมุมมองการตลาด เจาะโอกาสตลาดใหม่ ว่าแม้ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้มีการปรับโมเดลจาก B2B และผู้ผลิตหรือ OEM มาตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยตรง DTC (Direct To Consumer) แต่การปรับโมเดลก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกดิสรัปทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความต้องการลึกซึ้งภายในของผู้บริโภคตัวจริง (End user) จึงควรเลือกเครื่องมือดิจิทัลที่เห็นผล จับต้องได้ เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจแม่นยำ โดยเฉพาะการเก็บ Data ลูกค้า ซึ่งเป็นเทรนด์เครื่องมือดิจิทัลที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคต เนื่องจากสามารถนำข้อมูลการซื้อ เวลาซื้อ และรูปแบบการซื้อ มาวิเคราะห์ต่อยอดไปวางแผนกลยุทธ์การตลาด ให้ตอบโจทย์ Pain Point ของลูกค้าได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องนำเครื่องมือดิจิทัลมาสร้าง Ecosystem ให้ธุรกิจมีความสะดวกรวดเร็ว เช่น การรับ-จ่ายผ่านดิจิทัลเพย์เมนท์ การขนส่ง การตลาด ฯลฯ ด้วย

และด้วยปัจจุบัน การใช้เครื่องมือการตลาด ทั้งในแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ และอีมาร์เก็ตเพลสต่าง ๆ ยังไม่พอต่อการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงสร้างธุรกิจให้เป็นแพลตฟอร์มของตัวเองขึ้นมา โดยแพลตฟอร์มนั้นต้องมีบิสซิเนสโมเดลใหม่ ๆ ภายใต้การจัดสรรงบประมาณการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ที่มีความเหมาะสม เพื่อเข้าถึงลูกค้าตัวจริง

พลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัลโซลูชัน >> โควิดเร่งการเปลี่ยนโลกสู่ออนไลน์ ควรเร่งเดินหน้า โดยมีทีเอ็มบีธนชาต พร้อมซัพพอร์ทเทคโนโลยีที่ยั่งยืน และเต็มไปด้วยโอกาส

 

 

คุณกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต เล่าถึงการพลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัลโซลูชัน ว่าสถานการณ์โควิด-19 คือโรคเปลี่ยนโลก เป็นปัจจัยที่เข้ามาเร่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย การเรียน และการทำงาน ไปสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้น ธุรกิจจึงต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ข้อดีคือประเทศไทยมีความพร้อมรอบรับการทำธุรกิจบนยุคดิจิทัล มีจำนวนรายการสแกนจ่ายด้วย QR Code เติบโตขึ้นเป็น 3 เท่าในปี 2565 ที่ผ่านมา ในส่วนของภาคธุรกิจเองก็หันมาใช้ดิจิทัลแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรมแทนการไปสาขา โดยผู้ประกอบการ SME ของธนาคาร มีจำนวนรายการผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 160% และมีสัดส่วนการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลสูงถึง 80%

เหล่านี้สะท้อนถึงการก้าวข้ามจากการใช้เงินสดแบบเก่า ๆ ไปสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้ง เนื่องผู้ประกอบการมองว่ามีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ

ttb มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนลูกค้าธุรกิจ SME ผ่านการพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ ภายใต้หลักการทำงานแบบ Agile Way มุ่งทำความเข้าใจลูกค้าในเชิงลึก ทำงานกันเป็นทีมเวิร์คจากหลายส่วนงาน เพื่อระดมสมอง คิดนอกกรอบจากหลายมุมมอง และสุดท้ายคือการทดสอบให้ลูกค้ากลุ่มเล็กได้ใช้งานจริงก่อน เพื่อรับความเห็นลูกค้ามาขัดเกลาโซลูชันก่อนนำออกสู่ตลาด

 

ภายใต้หลักการนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินทั้งบริการด้านรับ-จ่ายเงิน และผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้ตรงจุดและทันต่อสภาวะตลาด ไม่ว่าจะเป็น

• ttb smart shop ตัวช่วยในการจัดการร้านค้า รับชำระเงินผ่าน QR Code จากทุกธนาคารแทนการรับเงินสด ที่มีฟีเจอร์ที่แตกต่างและตอบโจทย์ เงินเข้าบัญชีทันที ไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งานเพื่อรองรับธุรกิจที่มีหลายสาขาหลายจุดรับเงิน และมี Dashboard ที่เจ้าของกิจการสามารถเรียกดูยอดขายได้เรียลไทม์จากทุกที่

• ttb quick pay บริการสร้างลิงค์เพื่อรับชำระผ่านบัตรเครดิตแบบง่าย พร้อมใช้งานโดยไม่ต้องมีการพัฒนาและเชื่อมต่อระบบ ธุรกิจสามารถสร้าง Link ส่งให้ลูกค้าเพื่อรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีความปลอดภัย แทนการโทรศัพท์ขอเลขที่บัตรเครดิตจากลูกค้า

• ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ที่มีทั้งอินเทอร์เน็ต และโมบายแบงก์กิ้ง ให้ลูกค้าธุรกิจทำธุรกรรมออนไลน์ได้สะดวกและง่าย ควบคุมธุรกิจได้ในที่เดียว

• อีกทั้งผู้ประกอบการต้องมีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่าย ซึ่งธนาคารมีหลายผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ttb sme smart and fast ตอบโจทย์เสริมสภาพคล่องเร่งด่วนในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ttb sme smart biz ตอบโจทย์ทุกประเภทของวงเงินตามประเภทของธุรกิจ

ติดตามงานสัมมนาดี ๆ พร้อมศึกษาความรู้การทำธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ ด้วยแนวคิด “ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME” ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fin-biz
หรือสมัคร ttb SME LINE Official Account : @ttbsme เพื่ออัปเดตทุกความเคลื่อนไหวโลกธุรกิจ ดิจิทัลเทรนด์ องค์ความรู้ และข่าวสารที่ SME ต้องรู้ เพื่อใช้ต่อยอดธุรกิจ