การผ่อนคลายสถานการณ์โควิด-19 กับเรื่องที่ SME ต้องเตรียมรับมือ


ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่เริ่มเปิดประเทศแล้วก็มีผลผ่อนคลายถึงมาตรการโควิดต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกรรมทางด้านเศรษฐกิจและการให้บริการท่องเที่ยวหรือการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ก็มีผลคึกคักมากขึ้น โรงแรมและร้านอาหารหลายแห่งที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศนั้นก็มีผลตอบรับค่อนข้างดี เห็นได้ชัดว่า 2 เดือนที่ผ่านมา เราได้พบปัญหาที่สำคัญมากก็คือเรื่องกำลังซื้อที่ชะลอตัวจากราคาวัตถุดิบราคาขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคำสั่งซื้อ ด้านปริมาณผลิต การค้า บริการ ต้นทุนหรือกำไรที่ปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของอีก 3 เดือนข้างหน้าก็อยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 % แต่ก็ลดลงกว่าที่เคยสำรวจเมื่อคราวก่อน คราวก่อนสำรวจอยู่ที่ 52.1 % ใน 3 เดือนข้างหน้าผลสำรวจออกมาแล้วอยู่ที่ 51.6 % ซึ่งค่าดัชนีความเชื่อมั่นนั้นปรับตัวลดลง ผู้บริโภคก็มีความกังวลใจในเรื่องเงินเฟ้อ ค่าน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามมีผลทำให้กิจกรรมนอกบ้าน เศรษฐกิจต่าง ๆ ก็ยังเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามผลของราคาสินค้าที่สูงขึ้นนั้นก็มีผลทำให้ราคาการเกษตรดีขึ้นมาเล็กน้อย

จากผลสำรวจของผู้ประกอบการ SMEs มีประมาณ 2,718 ราย ของ 25 สาขาธุรกิจใน 6 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 9 – 17 พฤษภาคม 2565 เกี่ยวกับปัญหานี้ ก็จะเห็นชัดเจนว่า ปัญหาหลักของผู้ประกอบการนั้นก็คือด้านการต้นทุน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาก็เป็นกำลังซื้อของผู้บริโภค ร้อยละ 39 ด้านการแข่งขันเรื่องการราคาก็ร้อยละ 13 และยังมีความกังวลเรื่องหนี้สิน ค่าแรงก็สูงขึ้น ผู้ประกอบการก็เลยมีความประสงค์ที่อยากจะให้รัฐบาลเข้าช่วยเหลือ 3 เรื่องใหญ่ ๆ

เรื่องที่ 1 คือสิ่งที่ต้องควบคุมราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงต่าง ๆ ไม่ให้ผันผวนหรือสูงขึ้นทันทีทันใด ราคาวัตถุดิบหรือราคาสินค้า ซึ่งอาจมีผลต่อเนื่องที่ทำให้อำนาจซื้อและส่งผลทำให้การตลาดก็มีปัญหา

เรื่องที่ 2 เรื่องการวางแผน ควบคุมต้นทุนทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนยังไม่คุ้นเคย มีความกังวลเรื่องต้นทุน ดอกเบี้ยอาจจะสูงขึ้น ซึ่งก็มีผล

เรื่องที่ 3 ที่อยากให้รัฐบาลช่วยขยายเวลาการพักชำระหนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดกันในเดือนที่ผ่านมาออกไปด้วย
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังก็คือการบริหารต้นทุน ซึ่งผมคิดว่าต้นทุนจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในช่วงนี้ เพราะว่าทุกอย่างสูงขึ้นหมด ก็ต้องบริหารประสิทธิภาพ บริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เรื่องคู่แข่งขัน ในทำนองเดียวกันก็พยายามที่จะโปรโมทส่งเสริมการขายมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องติดตามและปรับตัวให้ได้เร็ว เรื่องหนี้สินที่ต้องเฝ้าระวังและก็จ่ายเท่าที่ไหว ต้องรีบเข้าไปเจรจากับทางสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้

อีกหนึ่งอย่างซึ่งจะมีผลมากก็คือแรงงาน โดยเฉพาะภาคบริการหลังจากที่เราขาดนักท่องเที่ยวไปร่วม 2 ปี ภาคบริการก็ย้ายถิ่นฐานหรือย้ายอาชีพก็ไม่ได้กลับมา เพราะฉะนั้น แรงงานที่มีทักษะภาคบริการก็ล้วนแล้วแต่หายาก และค่าแรงก็สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อของผู้บริโภคนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ทุกคนมีความหวัง ว่าอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการผ่อนคลายของสถานการณ์ต่าง ๆ คงคิดว่าน่าเป็นทางที่บวกมากขึ้น คำสั่งซื้อด้านการส่งออกก็ดีอยู่ เพราะว่าอัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่อ่อนค่าลง ผู้ประกอบการภาคส่งออกก็ดีหมด ส่วนเรื่องนำเข้าก็ถือว่าต้นทุนสูงขึ้น เพราะค่าเงินอ่อนค่าลง สินค้าก็แพงขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องหาเรื่องอย่างอื่นมาทดแทน ผู้ประกอบการทั้งหลายจึงจำเป็นต้องวางแผนต้นทุน หรือประสิทธิภาพของกระบวนการที่จะควบคุมการดำเนินงานของตัวเองให้ต้นทุนประหยัด หรือต่ำที่สุด

ดร.มงคล ลีลาธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ SME D Bank และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารออมสิน ปัจจุบันเป็น ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)