ภาวะเงินเฟ้อของเมืองไทย ไม่ได้ขึ้นมาประมาณ 15 ปี ถ้าพูดถึงภาวะเงินเฟ้อก็คือราคาสินค้า ต้นทุนสูงขึ้น มีแนวโน้มความต้องการมากขึ้นก็ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หรืออีกหนึ่งด้านคือ ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ก็เลยทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ตัวเลขล่าสุดของประเทศไทยก็ขึ้นสูงสุดในรอบ 15 ปี โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาสูงถึง 7.7 % เดือนกรกฎาคม 7.6 % ตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาสูงถึง 5.9 % และคาดการณ์ว่าถึงสิ้นปีนี้เงินเฟ้อทั่วไปคงสูงถึง 7.8 % คิดว่าเป็นช่วงไม่ปกติ ก็คิดว่าเป็นช่วงที่ไม่ปกติ แต่ถ้าหากว่าเราหักราคาน้ำมันหรือพลังงาน อาหาร ออกไป เงินเฟ้อพื้นฐานนั้นซึ่งไม่รวมหมวด อาหารสด กับพลังงาน เห็นได้ชัดว่าเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 2.5 % เดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 3 % ก่อนหน้านี้เดือนพฤษภาคมก็เพิ่มขึ้น 1.9 % ตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 2 %
เงินเฟ้อที่ว่ามันจะกดดันทำให้อำนาจซื้อของครัวเรือน รวมถึงต้นทุนธุรกิจต่าง ๆ ก็จะสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อค่าครองชีพของชาวบ้าน ประชาชนปกติ แนวโน้มที่สำคัญก็คือ เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคมนี้ รัฐบาลจะขึ้นค่าไฟฟ้า ประมาณ 18 % ก็เป็นแรงกดดันที่ทำให้ ราคาสินค้าต่าง ๆ ก็สูงขึ้นด้วย
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา ซึ่งถ้าเงินกู้แล้วดอกเบี้ยแบบนี้ ก็ทำให้ต้นทุนธุรกิจต่าง ๆ ก็ เพิ่มขึ้นด้วย ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับเมืองไทย ส่วนใหญ่มาสะท้อนที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นตัวอย่างกรณีศึกษา ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเมืองไทยเมื่อ 15 ปีที่แล้วไม่ได้ปรับราคา แต่ปัจจุบันนี้มาเจอเงินเฟ้อก็ขอปรับราคาขึ้นมา 1 บาท รัฐบาลก็ยังไม่อนุญาต เพราะกลัวกระทบต่อค่าครองชีพ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 บริษัท ที่ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขอปรับเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 2 บาท ซึ่งปกแล้วเราหาซื้อได้ในราคาที่เรียกว่าสะดวก และราคาที่เรียกว่าย่อมเยา ประหยัด ก็คือ 6 บาทต่อซอง แต่ตอนนี้ขึ้นมา 8 บาทต่อซอง ทำไมถึงได้รับความสนใจและเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ เพราะปกติแล้วคนไทยทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อคนต่อปี ประมาณ 53 ซอง ก็เลยเป็นตัวชี้วัดอาหารที่ทำเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีก็จะดูจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขายดีไหม
วันนี้อยากจะฝากข้อคิดไปถึงผู้ประกอบการคือ บริษัทนี้ตั้งมาแล้ว 50 ปี เป็นบริษัทที่ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตอนเริ่มต้นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ซองละ 2 บาท และถูกระทบกระเทือนจากนโยบายรัฐบาลในการควบคุมสินค้าใน 56 รายการ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการต้องมีกลยุทธ์ในการตลาด เพื่อจะอยู่ในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติได้ พลังงานกับอาหารเป็นของคู่กัน เงินเฟ้อกับดอกเบี้ยก็จะตามมา ทั้งหมดนี้เรียกว่าภาวะถดถอย เศรษฐกิจก็จะหดตัวลง อันตรายถึงขั้นคนมีหนี้สินล้มละลาย คนตกงาน ไม่มีรายได้ ไม่มีบ้านอยู่ ซึ่งในต่างประเทศเราก็จะพบเห็นมาก และอาจจะก่อเกิดความไม่สงบในด้านสังคม
ในส่วนของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นตัวสะท้อนเล็ก ๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งตอนนี้เราถึงขั้นที่ว่าประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกติ และอีกอย่างที่สำคัญมาก ในช่วงที่ผ่านมาเขาขึ้นราคาไม่ได้ เขาเลยออกผลิตภัณฑ์มาใหม่ที่ลดความเค็ม 35-40 % พอลดความเค็มก็ขายเป็นซองละ 8 บาท ก็เท่ากับขึ้นราคาไปในตัว ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ลำดับแรกของเจ้าพ่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเหมือนกัน
กรณีศึกษาเรื่องเงินเฟ้อกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่มีกลยุทธ์ทางด้านการตลาด การควบคุมต้นทุน และมีการพัฒนานวัตกรรม จึงถือเป็นกรณีศึกษาที่ให้ผู้ประกอบการทั้งหลายที่อยู่ในภาวะนี้ได้ศึกษาไว้
ดร.มงคล ลีลาธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ SME D Bank และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารออมสิน ปัจจุบันเป็น ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)