สไตล์ความเป็นผู้นำของคนเป็นซีอีโอ และพนักงาน ถือเป็นสัญลักษณ์ส่งเสริมให้บริษัท องค์กร หรือธุรกิจ ตอบสนองต่อวิกฤตที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าด้วยแนวทาง วิธีการ ปรัชญา จะเป็นเครื่องชี้วัดได้เป็นอย่างดีว่าจะสามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่เป็นอยู่ออกไปได้หรือไม่
สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือการเตรียมแผนรับมือ โดยผู้นำแต่ละคนก็จะมีวิธีจัดการตามสไตล์ตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 สไตล์ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1.เผด็จการ
ความเป็นผู้นำแบบเผด็จการจะมีความโดดเด่นที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเลย คือผู้นำจะเป็นผู้ตัดสินใจฝ่ายเดียว ซึ่งก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป เช่น แนวทางนี้สามารถช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในระหว่างเกิดวิกฤต อย่างไรก็ตาม ในด้านลบการตัดสินใจที่เร็วเกินไปทำให้นำไปสู่โซลูชันในการแก้ไขปัญหาที่แคบลง เนื่องจากขาดข้อมูลที่หลากหลายกับการทำได้ดีกว่านี้
อีกทั้ง การที่ผู้นำเป็นคนตัดสินใจอยู่ฝ่ายเดียวทำให้เกิดความรู้สึกขาดการสื่อสารกับพนักงาน ส่งผลกระทบต่อกำลังใจ และความเชื่อมั่นที่มีต่อองค์กรลดลง
2.ทำงานร่วมกัน
ผู้นำในลักษณะนี้จะเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นทีม และมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยในช่วงวิกฤต ผ่านการแสวงหาข้อมูล, ระดมความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยการดำเนินการแก้ไขปัญหาอาจมีความล่าช้า เพราะมีกระบวนการ แต่ก็เป็นสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร และเกิดข้อผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาน้อยที่สุด
3.พนักงานมาก่อน
แนวทางนี้มีผู้บริหารระดับโลกใช้แล้วได้ผลได้หลาย ไม่ว่าจะเป็น Howard Schultz อดีตซีอีโอของ Starbuck และ J.W. Marriott Jr. ซีอีโอของ Marriott International ที่ถ่ายทอดสไตล์นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ กับการขับเคลื่อนองค์กรให้ผ่านวิกฤต โดยให้ความสำคัญกับลูกค้ามาเป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้บางครั้งอาจถูกมองว่ามีความอ่อนโยนมากเกินไป และขาดภาวะความเป็นผู้นำ ตลอดจนถูกค่อนขอดว่าเป็น “ผู้นำคนรับใช้”
4.ประชาธิปไตย
ผู้นำแบบประชาธิปไตยจะสนับสนุนสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานได้ตัดสินใจ ระหว่างเกิดวิกฤต โดยรูปแบบนี้ต้องใช้ระยเวลายาวนานขึ้น เนื่องจากต้องปรึกษา และสร้างฉันทามติ ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือทำให้โซลูชันที่ครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนรักษาขวัญกำลังใจของพนักงาน
สิ่งสำคัญของผู้นำสไตล์ประชาธิปไตยต้องสร้างสมดุลระหว่างการทำงานที่รวดเร็ว และการมีส่วนร่วมของทีมอย่างมีประสิทธิผลในสถานการณ์เหล่านี้
5.ยกอำนาจให้ทีม
แนวทางนี้ผู้นำจะมอบอำนาจให้กับทีมไปเลย จะไม่ค่อยเข้ามาวุ่นวาย หรือจุกจิก ขอแค่ให้ได้ผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่น่าพอใจเป็นพอ เพราะเขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าถึงศักยภาพ และการตัดสินใจของทีม แต่เรื่องที่ควรระวังคือเมื่อมอบอำนาจให้พนักงานตัดสินใจแล้ว บางทีอาจเกิดความละเลยภายในทีม หยุดที่จะพัฒนาอย่างจริงจัง
แล้วคุณล่ะ เวลาธุรกิจเกิดปัญหา มีอุปสรรคขึ้นมา คุณเป็นผู้นำแบบไหน
ที่มา: forbes