Rescue Center จับมือ OSS ช่วยเอสเอ็มอี


Rescue Center จับมือ OSS ช่วยเอสเอ็มอี

กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับพันธมิตร ทำการเปิดตัว “เรสคิว เซ็นเตอร์” อย่างเป็นทางการเมื่อวานี้  ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่จะทำให้ เอสเอ็มอี ที่ประสบปัญหา ได้รับความช่วยเหลือที่รวดเร็วขึ้น

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs หรือ SME Rescue Center ว่า

ภาครัฐมีนโยบายให้ความสำคัญ กับการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของไทย //   ให้มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดี //

พร้อมปรับโครงสร้างกลไกสนับสนุน และการขับเคลื่อน เอสเอ็มอี อย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการบริการต่างๆ ของภาครัฐได้จริง รวมถึง SME Rescue Center แห่งนี้ด้วย

ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานศูนย์ SME Rescue Center กล่าวว่า

ศูนย์แห่งนี้ จะทำหน้าที่ช่วยเหลือ เอสเอ็มอี โดยการรับฟังปัญหาทุกประเภท และเป็นพี่เลี้ยงที่จะร่วมแก้ไขปัญหากับผู้ประกอบการ

ไม่ว่าจะมีปัญหาถึงขนาดกิจการใกล้ล้ม หรือเป็นหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ในเวลานั้นๆ // กิจการเก่าไปจนไปต่อไม่ได้ หรือยื่นข้อกู้เงินแล้วธนาคารดำเนินการล้าช้า หรือกู้ไม่ผ่าน Rescue Center จะช่วยดำเนินการและให้คำปรึกษาทั้งหมดด้วยความรวดเร็ว

ทั้งนี้ หากหน่วยงานใด พบกับปัญหาของ เอสเอ็มอี ที่แก้ไขไม่ได้ก็สามารถส่งเรื่องต่อมายังศูนย์ SME Rescue Center ได้เช่นกัน โดยศูนย์แห่งนี้ จะมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ รวมทั้งหาทางออก ตลอดจนประสานงาน และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขณะที่นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กล่าวว่า นอกจาก Rescue Center แล้ว  สสว. ก็มีศูนย์ OSS เพื่อรับคำร้องช่วยเหลือ เอสเอ็มอี อยู่ถึง 12 จังหวัด และกำลังจะขยายเติมเพิ่ม ในปีหน้า

ซึ่งหลังจากนี้ศูนย์ OSS จะทำงานร่วมกับ SME Rescue Center โดยจะคัดกรอง และส่งต่อเพื่อช่วย เอสเอ็มอี ให้จัดการกับปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ สสว. ยังมีโครงการเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยมีความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาอีกด้วย

โดยปัจจุบันมี เอสเอ็มอี เข้าร่วมโครงการถึง 1.2 หมื่นกิจการ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยในโครงการ ก็จะช่วยวิเคราะห์ปัญหาในเชิงลึก และในขณะนี้สามารถดำเนินการไปได้แล้ว 5,000 กิจการ

ซึ่งพบว่า ปัญหามีตั้งแต่การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ไปจนถึการปรับโครงสร้างหนี้  ซึ่งในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ขณะนี้มีตัวเลขมากกว่า 2,000 ราย