Present อย่างไร ให้โดนใจ Venturecap


คุณ กิตตินันท์ อนุพันธ์ (แจ๊ค) CEO บริษัท Anywhere to go และ claimdi ได้เปิดเผยในรายการตอบโจทย์SME ในงาน Smart SME Expo 2016 ว่า วันนี้ที่มาแชร์มุมมองของการเป็นตัวแทน Venture Cap จาก dtac accelerate และในฐานะที่เป็น Start Up ได้เข้าร่วมโครงการ dtac accelerate และผ่านเข้ารอบในปี 2014 โดยโครงการ dtac accelerate จะมีการบ่มเพาะ Start Up ที่ผ่านเข้ารอบ ซึ่งจะมีผู้หยั่งรู้และนักลงทุนมาสอนสัปดาห์ละ 1 วัน ตลอด 4 เดือน  เช่น Silicon Valley ,สิงคโปร์ ,ญี่ปุ่น,ฮ่องกง เป็นต้น โดยในปีนี้มี Start Up เข้ารอบ 11 ทีม จาก 500 กว่าทีม ซึ่งได้ให้มุมมองว่า Start Up มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกิดมาแล้วอยากทำ Start Up ซึ่งกลุ่มนี้จะศึกษาจาก Youtube และ Google เพื่อการเสนอต่อ Venture Cap กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม SME ที่ยังมีจุดด้อยของการนำเสนอ แต่ dtac accelerate จะสนใจในประเด็นของทีม ว่ามีพื้นหลังเรื่องที่เสนอได้ดีหรือไม่ และไอเดียในอนาคต ตลาดของธุรกิจของคุณ ส่วน dtac accelerate จะเปิดปีละ 1 รอบเท่านั้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.accelerate.dtac.co.th และเพจเฟซบุ๊ค dtac accelerate รวมถึงได้ให้ความหมายของ Unfair Advantage คือสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น หรือเรามีได้แต่คนอื่นมีไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นของการทำงาน 28 ชั่วโมงหรืออดหลับอดนอนได้ถึง 3 เดือน / มี Passion / มีไอเดียการแก้ไขปัญหาของคนหมู่มาก / มีซอฟแวร์ที่มี 200 ฟีเจอร์ เป็นต้น แต่ Unfair Advantage ที่เห็นได้ชัดคือ สัมปทาน หรือความรู้เฉพาะด้านที่ถูกสั่งสมมายาวนาน เช่น เคลิมดิ (claimdi) ของคุณแจ๊คเอง เป็น App ที่เขย่าเช็คกันแล้วจบเมื่อเกิดเหตุรถชน (มาเร็วเคลมเร็ว)เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ที่ปู่ทำธุรกิจประเภทประกัน ส่งมาให้พ่อและส่งมาต่อที่คุณแจ๊ค และคุณแจ๊คเองนำธุรกิจนี้ขึ้นสู่การเป็น Start Up ดังนั้น นักศึกษาจบใหม่ยังไม่มี Unfair Advantage ถึงแม้ว่าจะมีไอเดียแล้วก็ตาม ซึ่งส่วนใหญ่ Start Up ที่ประสบความสำเร็จจะเกิดจากการเป็น SME มาก่อน ที่เคยตกนรกกับความเจ็บปวด (Pain) เปรียบเหมือนกับการตอกตะปูแล้วโดนนิ้ว ซึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เคยประสบอุบัติเหตุรถชน ถนนเส้นชลบุรี-ระยอง เวลา 22.00-02.00 น. เป็นในยุคที่มีแค่โทรศัพท์และไม่สามารถอธิบายเส้นทางได้ ทำให้ และการเป็นStart Up คือต้องหาทางป้องกันการแทรกตลาดของเราได้ ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ซึ่งหากเป็น SME อาจจะขายซอฟแวร์ไปแล้วจบ แต่ Start Up จะเพิ่มฟีเจอร์ทุกสัปดาห์นั่นเอง ส่วนปัจจุบันนี้ VC มีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นเงินก้อนใหญ่ประมาณ 1 ล้านเหรียญขึ้นไป ต่อหนึ่งครั้งการลงทุน ซึ่งนั่นแปลว่า Start Up นั้นต้อง Growth Stage แต่เด็กในเมืองไทยยังไปไม่ถึง โดยจะมี Seed Round ซึ่งมีมูลค่า 150,000 เหรียญขึ้นไปไม่เกิน 1 ล้านเหรียญ และ Pre-Seed Round มีมูลค่า 20,000-60,000 เหรียญหรือต่ำว่า 100,000 เหรียญ ดังนั้น กลุ่มนักลงทุนในกลุ่ม accelerate หรือ Angel มีน้อย ซึ่ง Start Up ก็เปรียบเสมือนปลาตัวเล็กที่คอยตอดเหยื่อเพื่อให้ตัวเองเติบโตเป็น Seed Round

ซึ่งคุณแจ๊ค ได้แนะนำว่า ปัจจุบัน รัฐเดินทางผิด ที่ส่งเสริมเด็กโปรแกรมเมอร์สร้างเป็น Start Up เพราะเด็กกลุ่มนี้จะไม่มีคนกล้าลงทุนด้วยเพราะยังขาด Unfair Advantage ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องเริ่มด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์ให้ Start Up ก่อน แล้วค่อยผันตัวมาเป็น Start Up และอย่าทำเพราะอยากทำ อย่าทำเพราะแฟชั่น อย่าหาเหตุผลกับพ่อแม่ในการไม่ทำงาน

ส่วนประเด็นของ ฟินเทค (Fintech) ได้ยกตัวอย่าง โรงรับจำนำที่สิงคโปร์ ที่นำฟินเทคมาใช้ด้วยวิธีการถ่ายรูปสิ่งที่ต้องการจำนำ แล้วส่งไปให้โรงรับจำนำและโรงจำนำจะตีราคาให้เลยและหากตกลงราคากันได้จะมีรถมารับสิ่งที่ต้องการจำนำ เป็นต้น โดย Fin Tech นั้นต้องตัดขั้นตอนของธนาคารออกไป แต่ในเรื่องของกฎหมายต้องมองกันอีกที

คุณทวันทว์ บุณญะวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อินทัช โฮลดิ้งส์ เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นของ AIS ไทยคม โดยอินทัช จัดทำโครงการที่เรียกว่า Invent ที่ลงทุนใน Start Up เช่น Ookbee วงใน เป็นต้น ซึ่ง Invent เองจะดูสำหรับ Start Up ที่เติบโตมาได้ระยะหนึ่งทั้งรายได้และฐานลูกค้า ซึ่งได้ให้คำแนะนำว่าการนำเสนอไอเดียต่อ Invent นั้น ต้องทำการบ้านมาดีๆ เพราะแต่ละบริษัทมีระดับ Start Up ที่ต้องการลงทุนที่แตกต่างกัน และต้องรู้ว่าคนฟังคือใคร ซึ่ง อินทัช (Intouch) เป็น corporate venture capital ซึ่งใครก็ตามที่มี Service ,E-commerce,Product ที่สามารถใช้ร่วมกับบริษัทในเครือก็จะได้รับการสนับสนุน และที่สำคัญการนำเสนอ (Pitch) 2-3 นาที ต้องน่าสนใจ โดยจะเปิดให้ Pitch ตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ ถึงแม้ไอเดียหรือ Model ของ Start Up จะคล้ายๆกัน ก็จะทำให้มองด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี หรือ Unfair Advantage คือคนอื่นไม่สามารถทำให้คนอื่นเหมือนเราได้ ซึ่งมี2แบบ คือ ส่วนที่มี คือประสบการณ์ กับส่วนที่สร้าง (algorithm) ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือคุณเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาที่ทำการลงทุนกับ Ookbee นั้นมองว่าเป็นเจ้าตลาดเพียงคนเดียวและเวลามันใช่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆด้วย

ทั้งนี้ Start Up กับ VC ก็เปรียบเสมือนหนุ่มสาวจีบกัน ซึ่ง VC จะมีความเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการ เรื่องความเสี่ยง เรื่องระบบบัญชี กฎหมาย (เรื่องหลังบ้าน) แต่ Start Up เน้นเรื่องการพัฒนาและออกสู่ตลาดให้เร็ว ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้เน้นที่การสนับสนุนทีม Start Up ในจำนวนมากๆ เนื่องจากอาจจะดูแลไม่ทั่วถึง ดังนั้น มองว่า Start Up ไทยยังคงต้องการนักลงทุนอีกจำนวนมาก รวมถึง Invent สนใจ 4 ผลิตภัณฑ์หลักๆ คือ Telecom,Media,Digital content และ IT และเน้นที่เติบโตแล้ว สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.invent.com และเพจเฟซบุ๊ค invent

คุณธวัลพร พณนันท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บ. ทรูอินคิวบ์ จำกัด เปิดเผยว่า ทรูอินคิวบ์ มี concept คือการตั้ง Satrt Up ให้โตระดับโลก เช่น Sellsuki(เซลซุกิ) , Omise (โอมิเซะ) เป็นต้น ซึ่งมีการโค๊ชชิ่งกับต่างประเทศด้วย หรือ Start Up Factory พร้อมสนับสนุน Start Up ตั้งแต่ระดับไอเดียจนถึงมีผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยปีหนึ่งจะเปิดรับ 2 ครั้ง ส่วนเกณฑ์การเลือกนั้น อันดับแรกจะดูที่ทีมว่ามี passion หรือเปล่า มี developer อยู่ในทีมหรือไม่ มองปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร สามารถประเมินมูลค่าได้มากน้อยเท่าไหร่ และ Model Business นั้นจะ Capture value กี่เปอร์เซ็นของตลาดกลุ่มเดียวกันซึ่งที่ผ่านมาพบเจอทีมที่ทะเลาะกันเอง ส่งผลให้ไม่ผ่านเกณฑ์ของบริษัท ส่วนประเด็นการส่งเสริมจะมองที่ความเป็น Uniqueness ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าตลาด เป็นนวัตกรรมที่ต้อง Match กับเทรนด์ของโลก

ทั้งนี้ ทรูอินคิวบ์ จะเน้นในลักษณะ Angel Investor ทำในลักษณะช่วยเหลือ Start Up นอกจากเงินทุนที่ไม่หวังกำไรมากนัก เพราะต้องการสอนเยาวชนไทยให้มีการพัฒนาเท่านั้น โดยจะสอนทั้งในเรื่องของ กฎหมาย สอนPitch สอนด้านไฟแนนซ์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาสำหรับทีมที่ส่งเข้ามา โดยจะเลือก 5-6 ทีมเท่านั้น และStart Up ทีมใดที่สนใจยากให้ trueincube สนับสนุน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.trueincube.com และเพจเฟซบุ๊ค trueincube

ปัจจุบัน Start Up ยังประสบปัญหา developer อยู่ ซึ่งถ้ารัฐกับเอกชนอาจจะตั้งร่วมกันตั้ง developer School เพื่อปั้นโปรแกรมเมอร์เฉพาะเหมือนอย่างประเทศอินเดีย