อุปสรรคธุรกิจออนไลน์ในตลาด AEC (อินโดฯกรณีศึกษาที่น่าเข้าลงทุน)


Anchanto บริษัทซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของสิงคโปร์ ที่ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะใน อินโดนีเซีย ให้ข้อมูลว่าการทำอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคแซงหน้าการทำอีคอมเมิร์ซเฉพาะภายในประเทศ แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมระหว่างประเทศก็ตาม

Anchanto ประธานผู้บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Vaibhav Dabhade บอกถึงปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาค AEC นั้นมาจากบริษัทโลจิสติกส์และผู้ประกอบการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้ให้บริการในราคาไม่สูงมาก รวมถึงการสื่อสารและการส่งเสริมในการให้บริการ แต่ขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็ยังมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง ภาษีศุลกากร และการจัดเก็บภาษี และความล่าช้าของภาครัฐเป็นเหตุผลที่ทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศมีข้อจำกัดในบางพื้นที่

(บริษัทโลจิสติกส์ทุกประเทศมีวิธีการและใช้ระยะเวลานานในการต่อรองกับระบบราชการ เช่น ประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย เนื่องจากกฎระเบียบมีจำนวนมากและไม่ชัดเจน กฎหมายอีคอมเมิร์ซในอินเดียห้ามบริษัทต่างประเทศขายสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค และต้องทำการซื้อขายโดยบริษัทอินเดีย)

ใน AEC ไม่มีขั้นตอนการซื้อขายร่วมอย่างเป็นทางการ ทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับขั้นตอนซื้อขายปกติของแต่ละประเทศ แต่ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย กฎระเบียบใหม่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างพรมแดน โดยการซื้อขายระหว่างประเทศที่ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯจะปลอดภาษี ซึ่งจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ

Zaldy Masita รองประธานด้านการวางแผนและพัฒนาธุรกิจของ JNE Express (บริษัทโลจิสติกส์ของอินโดนีเซีย) กล่าวว่าการเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเป็นประโยชน์อย่างมากกับ SMEsของอินโดนีเซีย โดยหวังว่า platform ซื้อขายระหว่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในอินโดนีเซีย อย่างเช่น Lazada, Bukalapak ฯลฯ  จะช่วยผลักดันการเติบโตของตลาด นั่นเพราะนโยบายของอินโดนีเซียที่ทำได้แล้วคือการจัดส่งฟรี โดยให้ Platform อย่างเช่น Lazada, Bukalapak ฯลฯ เป็นผู้รับผิดขอบค่าจัดส่งสินค้า และบริษัทโลจิสติกส์อย่าง JNE ก็ไม่สามารถขึ้นค่าจัดส่งกับคู่ค้าได้

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย เห็นว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียหันมาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางและสมาร์ทโฟนราคาถูก ทั้งการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียยังส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับธุรกิจโลจิสติกส์ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศ แต่ก็ยังคงมีกฏระเบียบและระบบราชการที่ล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้า ตลาดอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาจากบริษัท