เพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างไรสู่ ‘ไทยแลนด์ 4.0’


ในการเสวนางาน Productivity “คำตอบสุดท้ายอนาคตประเทศไทย” ในหัวข้อ “โมเดลใหม่..สู่การเพิ่มผลิตภาพ” หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวโดยมีเนื้อหาในเรื่องการผลิตภาพแรงงานคือโจทย์สำคัญที่สุดที่จะต้องร่วมมือกัน สถานการณ์กำลังแรงงานของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงแรงงานพร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาคนไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 โดยมองการก้าวสู่ Brain Power ในระยะเวลา 20 ปี การที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นได้ คือ การทำให้แรงงานทุกคนสามารถขับเคลื่อนได้เต็มกำลัง (Power) ให้แต่ละคนได้พัฒนาตัวเอง มีความสามารถ(Skill)ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)ครบทุกสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ด้านอุตสาหกรรม บริการ เกษตร และธุรกิจต่างๆ ได้

โดยมีโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมพัฒนาหลักสูตรการยกระดับฝีมือแรงงานให้ทันเทคโนโลยีในยุคไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ

1) ฝึกยกระดับผลิตภาพแรงงาน โดยใช้หลักสูตรที่จะเข้าไปช่วยธุรกิจขนาดย่อม(SME) เพื่อให้แรงงานมีความสามารถที่หลากหลาย ลดต้นทุนในการผลิตได้ เป็นหลักสูตร ระยะเวลา 1 ปี จำนวน 180-200 แห่ง ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อม(SME)เพื่อช่วยในเรื่องการปรับตัว นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรให้กับศึกษาในการดูกระบวนการต่างๆ และยังสามารถกู้เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานพร้อมที่จะออกแบบหลักสูตรร่วมกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในการยกระดับฝีมือของทุกกลุ่มธุรกิจไปสู่ระดับ 4.0

2) ฝึกตาม พ.ร.บ. สถานประกอบการสามารถออกแบบหลักสูตรในการพัฒนาคนโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

3) ฝึก Multi-Skills ให้แรงงานมีความสามารถที่หลากหลาย ปรับเรื่องของทักษะฝีมือให้ผู้ใช้แรงงานสามารถพัฒนาไปสู่ในโลกเทคโนโลยีใหม่ๆได้

4) ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน การพัฒนาคนต้องมีทิศทาง มีกรอบพัฒนา ต้องให้มีองค์ความรู้ มีทักษะ มีทัศนคติที่มีมาตรฐาน

5) จัดทำมาตรฐานเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยกระทรวงแรงงานส่งเสริมให้อุตสาหกรรมจัดทำมาตรฐานเฉพาะ ขณะนี้มีอุตสาหกรรมชั้นนำจัดทำมาตรฐานเฉพาะในการกลั้นกรองคนของตนเอง จัดกลุ่มคนของตนเอง พัฒนาคนของตนเอง ซึ่งเราก็จะมีการสนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

6) การเข้าโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าโครงการได้ ท่านสามารถที่จะยกระดับของการแก้ไขเรื่องผลผลิต การออกแบบว่าอยากยกระดับในเชิงเพิ่มผลผลิตในบางกระบวนการก็ทำได้ ทั้งนี้การดำเนินการทุกอย่างร่วมกันกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ3 และ

7)การยกระดับการเพิ่มผลิตภาพแรงงานบางกระบวนงาน

งานสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีประสานความร่วมมือแบบบูรณาการทั้งจากภาครัฐภาคเอกชน สถาบัน องค์กรที่มีบทบาท และเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับผลิตภาพแรงงาน รวมถึงเป็นเวทีที่รวบรวมผู้นำด้าน Productivity ที่รู้ลึก รู้จริง มาร่วมระดมความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะและความต้องการของผู้ประกอบการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่อไป และยังเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับกลยุทธ์ของสถานประกอบการ โดยเฉพาะด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นอีกด้วย