2560 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเปลี่ยนอะไรไปบ้าง ?


อาจารย์พรรณี  วรวุฒิจงสถิต กรรมการภาษีอากรหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ซึ่งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000บาท

2. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อนมากขึ้น ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ เพิ่มเป็น 60,000 บาท ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้เพิ่มเป็น 60,000 บาท และค่าลดหย่อยสำหรับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้เพิ่มเป็น คนละ 30,000 บาท

3. ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วน คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

4. ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

อย่างไรก็ตามหากบุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการแบบบุคคลธรรมดา ควรให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวฯ เพราะทั้งหมดนี้คือสิทธิประโยชน์