ใครบ้างเปิดธุรกิจดูแลผู้สูงอายุได้ ? อยากรู้เช็คเลยยย


คุณแอน วรรณประทีป หุ้นส่วน บริษัท แอดลอว์ แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด  กล่าวในรายการ SME Smart Service มีใจความว่า

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โลก” กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และแน่นอนว่าเมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งนักการตลาดหลายท่านวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจดังกล่าวฯ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการ ดังนั้นธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด เนื่องจากพึ่งเป็นธุรกิจที่พึ่งได้รับความนิยมจากนักลงทุนสำหรับการเปิดกิจการไม่มาก สำหรับธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมีการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้ให้บริการนั้นจะต้องมีพื้นฐานการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือมีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียบร้อย

2. สถานบริการดูแลผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุสามารถพักค้างคืนหรือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟูสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ แต่ต้องไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นโรงพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยและต้องให้ยาเป็นประจำหรือมีแพทย์คอยตรวจตลอดเวลา หากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวความหมายจากสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ จะกลายเป็นสถานพยาบาล

คำถามที่พบบ่อย

ใครสามารถเปิดธุรกิจดูแลผู้สูงอายุได้

  • เจ้าของกิจการต้องเป็นบุคคลที่ผ่านการอบรมด้านสุขภาพจากหน่วยงานของรัฐบาล ต้องมีประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพไม่น้อยกว่า 420 ชั่วโมง จึงจะสามารถเป็นผู้ดำเนินการได้

ขออนุญาตเปิดธุรกิจดูแลผู้สูงอายุได้ที่ไหน

  • ตามพระราชบัญญัติการสาธารสุข พ.ศ.2535 ยังไม่ได้ประกาศกิจการดูแลผู้สูงอายุเป็นกิจการที่ต้องควบคุม แต่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการดูแลทั่วประเทศสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

ดังนั้นหากใครจะลงทุนธุรกิจดูแลผู้สูงอายุสิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือความพร้อมของตัวคุณและเจ้าหน้าที่ว่ามีพื้นฐานการดูแลผู้สูงอายุมากน้อยแค่ไหน รวมถึงที่สำคัญได้ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ เพื่อความสบายใจของผู้ใช้บริการและธุรกิจดูแลผู้สูงวัยของคุณถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย