SME ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางความผันผวนเศรษฐกิจโลก


ท่ามกลางความผันผวนเศรษฐกิจโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการค้า และมีเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ SME ไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ในปี 2017 เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย จนกระทบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) เผยแพร่รายงานโดยใจความระบุว่า เศรษฐกิจโลก 2017 จะขยายตัว (Real GDP) กลับมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากแรงหนุนของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อาทิ เอเชียตะวันออก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นการประเมินจากธนาคารโลก (World Bank) แต่ที่ผ่านมาโลกก็กำลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งความไม่ชัดเจนของนโยบายกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ กระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร การเปลี่ยนแปลงผู้นำของประเทศหลักที่ขับเคลื่อน GDP เศรษฐกิจโลกอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส การไหลของกระแสเงินทุนจากการเปลี่ยนแปลงการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ในหลายมิติ

การเปลี่ยนแปลงของระบบการค้าโลก
จากการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นในโลก จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าโลกอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับการที่ระบบการค้าโลกกำลังเผชิญกับการกีดกันทางการค้าและความเป็นชาตินิยมทางเศรษฐกิจ รวมถึงกระแสโลกาภิวัฒน์ตีกลับจากเสรีการค้าเป็นการจับมือทางการค้าแบบ FTA หรือการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศและทวิภาคี แทนที่พหุภาคี

อย่างที่นักวิชาการหลายฝ่ายวิเคราะห์โดยเฉพาะการล่มของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) การบรรลุการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Agreement on Trade Facilitation : TFA) ภายใต้ WTO การเร่งเจรจา RCEP ให้สำเร็จของกลุ่ม ASEAN+6 นโยบายเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล การขึ้นภาษีนำเข้าของจีน และเม็กซิโก ล้วนบีบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการค้าโลกขึ้นมาใหม่ ซึ่งยังไม่รวมปัญหาความเสี่ยงจากผู้อพยพ ก่อการร้าย ความสามารถในการแข่งขันถดถอย หนี้สาธารณะ และโครงสร้างประชากรสูงอายุ

ปัญหาเชิงโครงสร้างในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นจากการปรับโครงสร้างนโยบายและความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้น จะสามารถพา GDP ประเทศขยายตัวได้ราวร้อยละ 3.2 ซึ่งคุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้แถลงการณ์อีกว่า เศรษฐกิจประเทศไทยจะขยายตัวมากถึงร้อยละ 3.5 – 4 จากการสนับสนุนของนโยบายการลงทุนของรัฐและเอกชน โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟใต้ดิน รถไฟรางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 และจากการจับจ่ายเพิ่มขึ้นของประชาชน ผนวกกับการส่งออกชายแดนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากประเทศในอาเซียนที่ขยายตัวเป็นบวกโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 – 6 ในฝั่งกลุ่มอินโดจีนและเมียนมา ที่เป็นผลบวกต่อการค้าชายแดนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

โดยการคาดการณ์ของรัฐบาลนั้นค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเผยแพร่รายงานเงินเฟ้อโดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 และยังเป็นการเห็นพ้องกับนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนหลายแห่งที่มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะยังคงอยู่ในช่วงร้อยละ 3.2-3.6

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนา ซึ่งรัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนร่วมกับสภาบันการเงินหลายแห่งเพื่อช่วยSME คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเนื่องจากปัญหาขาดเทคโนโลยี และการยกระดับนวัตกรรม ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Factory) เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิต เทคโนโลยีขั้นสูง ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน กระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศ และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนร่วมกัน ธนาคารกรุงเทพ จับมือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สนับสนุนลูกค้า SME ของธนาคารเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยวงเงินพิเศษ เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร

ซึ่งมีจุดเด่นด้วยวงเงินพิเศษเพิ่มเติมจากสินเชื่อเดิม เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 จากอัตราดอกเบี้ยปกตินานถึง 5 ปี สำหรับผู้สนใจสามารถยื่นคำขอสินเชื่อออนไลน์ ได้ที่ goo.gl/jmDA3d หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพที่ท่านสะดวก

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: [email protected] สายด่วน 1333