ไขข้อสงสัย! ออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างไรให้มีอัตลักษณ์


คุณมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดเผยในรายการตอบโจทย์ SME มีใจความว่า ปัจจุบันนี้พื้นที่การค้าใน จ.นครราชสีมา มากถึง 1 ล้านตารางเมตร มีห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นมากมาย ล่าสุดคือเทอมินัล21 ซึ่งหากดูโดยรวมแล้วพื้นที่ทางการค้าใหญ่รองจากกรุงเทพมหานคร , การจัดสร้างบ้านจัดสรร โรงแรม เริ่มมีการขยับขยายไปยังชานเมืองมากขึ้น ด้านโลจิสติกส์เริ่มมีหลากหลายเส้นทางที่เข้าไปสู่เมืองอื่นๆและมีเส้นทางเชื่อมมอเตอร์เวย์ มีรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะตามมา นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังได้ประมานขอความร่วมมือกับสายการบิน ด้วยการเชื่อมจาก โคราช-อุดร , โคราช-ภูเก็ต , โคราช-เชียงใหม่ , โคราช-ย่างกุ้ง ,โคราชคุนหมิง เป็นต้น และมีผลผลิตทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวส่งเสริมสินค้าโอทอปของจังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมากที่มีถึง 4,000 ผลิตภัณฑ์  ในจำนวนนี้มีโอทอป 5 ดาว 100 ผลิตภัณฑ์ / 4 ดาว 100 กว่าผลิตภัณฑ์ และ1-3 ดาวมีเป็นพันๆผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้รับการพัฒนา จึงเกิดโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่มD 1-3 ดาว) จากกรมการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่จะมาร่วมมือกันให้ความรู้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใหม่ การตลาด ผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ด้วยการจัดระเบียบให้แก่กลุ่มนี้ให้ชัดเจน

นอกจากนี้ จุดแข็งของโอทอป1-3ดาว คือมีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น แต่จุดอ่อนที่เห็นได้ชัด คือการขาดประสบการณ์ ที่จะนำสินค้าตนเองไปขายสู่ตลาดภายนอก โดยเฉพาะการออกบูธตามงานต่างๆด้วยการสังเกตผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อจุดประกายความคิดของตนเองหรือนำมาปรับใช้กับสินค้าตนเอง และหากสินค้าน่าสนใจแต่ไม่มีเรื่องเล่าบนบรรจุภัณฑ์อาจจะลดความน่าสนใจ เช่น กาแฟดงมะไฟ ของอำเภอสูงเนิน ที่ปลูกบนเขาไม่เกิน 1 พันฟิต อาราบิก้าจะให้คาเฟอีนไม่เกิน 1% แต่ถ้าเป็นพื้นที่สูงจะปลูกได้ 3% จึงนำคาเฟอีน 1%มาเป็นจุดขาย ทำให้ขายไม่ทัน เป็นต้น

ทั้งนี้  จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองวิเศษ เพราะเป็นจังหวัดเดียว ใน 3 จังหวัดทั้งโลก คือ จังหวัดที่อิตาลี , เชจอน เกาหลีใต้ และ นครราชสีมา ประเทศไทย ที่เป็นเมือง 3 มงกุฎ ประกอบด้วย1.มีมรดกโลกทางด้านิเวศวิทยา 2.มีพื้นที่หลากหลายของพันธุกรรมใหม่ๆ เช่น สแกลาศ และ3.มีฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ เช่น ซากช้างโบราณ อายุ7-8 ล้านปีขึ้น,แมมมอธ 7-16 ล้านปี,ยีราฟคอสั้น,ม้าสามกีบ,ม้าฮิปโปเลี่ยน บนพื้นที่ เนินสูง,สีคิ้ว เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเป็นอัตลักษณ์บนผลิตภัณฑ์โอทอป 1-3 ดาวในโครงการนี้ได้

ด้านนายนิติ วิทยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เปิดเผยถึงรูปแบบของโครงการ ใน 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ , สุรินทร์ , นครราชสีมา , ชัยภูมิ ที่ได้ทำโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่มD 1-3 ดาว) โดย 4 จังหวัดนี้มีวัฒนธรรมที่มีจุดเด่นของตนเองอยู่แล้ว แต่โอทอป 1-3 ดาวใน 4จังหวัดยังไม่สามารถนำอัตลักษณ์ของตนเองออกมาใช้ ดังนั้น โครงการนี้โอทอป 1-3 ดาว ใน 4 จังหวัดนี้ จะสามารถหยิบยกสิ่งที่อยู่รอบตัวมาสร้างเป็นจุดเด่นบนบรรจุภัณฑ์ได้ โดยเฉพาะในอนาคต โดยหากกลุ่มนี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4-5 ดาวได้ ต่อไปกลุ่มเหล่านี้ก็จะได้รับการสนับสนุนในโครงการใหญ่ๆได้ ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นโครงการที่จะปิดจุดอ่อนโอทอป 1-3 ดาวด้วย นอกจากนี้ หากรายใดที่เข้าร่วมโครงการต้องการพัฒนาด้านอื่นๆที่ไม่ใช่แค่บรรจุภัณฑ์ ก็สามารถบอกกับที่ปรึกษาในโครงการได้ ทั้ง คุณภาพมาตรฐาน ตัวผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพราะทางโครงการจะจัดสรรที่ปรึกษาเฉพาะด้านให้