“อิสราเอล” เมืองแห่ง Startup แต่กลับยากจนที่สุดในกลุ่ม OECD


The Taub Center for Social Policy Studies ของประเทศอิสราเอลได้รายงานสภาพเศรษฐกิจของประเทศอิสราเอลในปี 2017 โดยในรายงานดังกล่าวระบุว่า ถึงแม้รัฐบาลอิสราเอลจะเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐในหลายด้าน เช่น สุขภาพ การศึกษา สวัสดิการสังคม แต่ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ประชากรในประเทศอิสราเอลอยู่ในอันดับสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD (The Organization for Economic Cooperation and Development) ได้แก่ ออสเตรีย,เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา, เยอรมนีตะวันตก, แคว้นอิสระของตรีเอสเต, ชิลี, เช็ก, อิสราเอล, เม็กซิโก, ฮังการี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้, โปแลนด์, อิหร่าน, เอสโตเนีย, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนียและญี่ปุ่น

รายงานได้อธิบายว่าอัตราความยากจนเมื่อเทียบกับรายได้ประชากรของประเทศอิสราเอลอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศ OECD ก่อนจะนับผลกระทบจากการเก็บภาษีของรัฐบาลอิสราเอล ซึ่งจะทำให้ประเทศอิสราเอลถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายสุดเมื่อพิจารณาจากจำนวนรายได้ของประชากรหลังหักภาษีแล้ว

“ความแตกต่างระหว่างอัตราความยากจนที่วัดจากรายได้และรายได้หลังหักภาษีนี้ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอิสราเอลประสบความสาเร็จในการลดระดับความยากจนโดยใช้เครื่องมือด้านภาษีและระบบสวัสดิการสังคม”

รายงานดังกล่าวยังระบุว่าอัตราความยากจนที่วัดจากรายได้เริ่มมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราความยากจนที่วัดจากรายได้หลังหักภาษีไม่เป็นเช่นนั้น จากการเปรียบเทียบจากรายได้ จะเห็นว่าอัตราความยากจนของประเทศอิสราเอลยังอยู่ในระดับต่ำกว่าหลายประเทศในกลุ่มประเทศ OECD และมีแนวโน้มลดลงด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรสูงอายุที่อยู่ในช่วงเกษียณอายุที่หารายได้จากการทำงานอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในการเปรียบเทียบอัตราความยากจนที่วัดจากรายได้หลังหักภาษีพบว่าไม่ค่อยมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ลดลงมากว่าสิบปี โดยในกลุ่มประชากรวัยแรงงานมีอัตราความยากจนที่วัดจากรายได้หลังหักภาษีไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สัดส่วนของประชากรผู้ยากไร้ที่เป็นกลุ่มคนอาหรับหรือกลุ่มคน Haredim (ultra-Orthodox Jews) มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ในปี 2002 เป็นร้อยละ 57 ในปี 2015

นอกจากนี้ ในปี 2014 the Committee for the War Against Poverty ของประเทศอิสราเอล ได้เสนอแผนงานสำหรับการลดระดับอัตราความยากจนให้อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยความยกจนในกลุ่มประเทศ OECD ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยต้องใช้งบประมาณราว 7.4 พันล้านเชคเกลต่อปี โดยคาดการณ์ว่างบประมาณที่รัฐบาลอิสราเอลจะจัดสรรเพิ่มเติมให้แผนลดอัตราความยากจนอาจมีประมาณ 4 พันล้านเชคเกลในปี 2017 หรือร้อยละ 54 ของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เสนอโดย the Committee for the War Against Poverty “ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรลงไปในกิจกรรมเพื่อการออมเงินของเยาวชน ภาษีรายได้ลดลง และการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนสูงอายุของอิสราเอล”

สัดส่วนของค่าใช้จ่ายในด้านประกันสังคมของรัฐบาลอิสราเอลส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งจ่ายให้กับ National Insurance Institute อย่างไรก็ตาม มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการใช้จ่ายในเรื่องภาษีรายได้ที่เป็นลบ (negative income tax) ถึงประมาณร้อยละ 90 ของมูลค่าค่าใช้จ่ายด้านประกันสังคมของรัฐบาลอิสราเอลที่ให้กับประชากรที่อยู่ในวัยทำงานและมีรายได้โดยเป็นนโยบายของรัฐมาตั้งแต่ปี 2007 เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ทางานที่มีรายได้น้อยโดยเฉพาะ

อ่านเรื่อง : “อิสราเอล” ต้นกำเนิดความสำเร็จอันงอกงามของ “Startup”