รับแรงกระเพื่อมจาก AI กับหลายอาชีพที่ใกล้สูญหาย


อุตสาหกรรมโลกขณะนี้มีการนำหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มีความสามารถของมนุษย์ มีสติปัญญา คิดเองได้ เช่น Siri, Google now, Cortana ของ Microsoft ฯลฯ เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้การผลิตรวดเร็วมีประสิทธิภาพและใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งใน 1-2 ปีนี้คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเกือบทุกภาคธุรกิจหันมาใช้ AI จนส่งผลกระทบให้แรงงานในกลุ่มอาชีพเหล่านี้เสี่ยงต่อการหายไปในอนาคต

  • กลุ่มงานบริการด้านข้อมูล

เช่นการจองตั๋วหนัง โรงแรมและร้านอาหาร ฯลฯ ที่ปัจจุบันสามารถจองผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่ง AI จะส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มอาชีพให้บริการรับจองต่างๆ นั่นอาจเพราะเป็นงานบริการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Human Skills เยอะมาก ฉะนั้น AI จึงสามารถเข้ามาจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพแทนอาชีพนี้ได้

ตัวอย่างการพัฒนา AI ของบริษัท IBM ชื่อว่า Watson ซึ่งปัจจุบันธนาคารในสหรัฐฯได้นำไปใช้ในการเบิก-ถอนเงิน จนทำให้ตำแหน่งธุระการธนาคารหมดความสำคัญ และล่าสุด Watson ได้ถูกนำไปใช้ทางการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า Watson สามารถอ่านค่าได้ดีกว่าหมอซะอีก

  • กลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงานในสายการผลิต

นั่นเพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนา AI เข้ามาช่วยผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้มนุษย์ ส่งผลให้กลุ่มแรงงานที่เน้นการผลิตแบบรวดเร็ว เช่น ในโรงงานอุสาหกรรมที่ใช้ทักษะการทำงานแบบเดิมๆซ้ำๆ นอกจากนั้น AI ยังขยายผลไปถึงกลุ่มทำความสะอาดและกลุ่มงานที่อันตราย อย่างงานเช็ดกระจกที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบทำกัน

  • กลุ่มประเภทการตลาดออนไลน์

ต้องบอกว่าในกลุ่มนี้ เน้นไปที่งานการตลาดที่ต้องวางแผนซื้อโฆษณาสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เข้ามาจัดการส่วนนี้ได้ทั้งหมด ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตได้ว่าในอนาคต กลุ่มที่ซื้อโฆษณาออนไลน์อาจจะหายไป เพราะระบบ AI สามารถจัดการได้แล้ว โดยผู้ใช้งานอาจทำเพียงแค่ป้อนข้อมูลสำคัญบางสิ่งบางเพื่อให้ AI จัดการงบประมาณเหล่านั้นให้คุ้มค่ากับเงินมากที่สุด  ซึ่งคนที่ต้องจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็อาจเหลือเพียงคนควบคุมระบบ AI เพียงเท่านั้น

ผลกระทบนี้ส่งผลให้หลายอาชีพมีโอกาสก้าวขึ้นมาเฉิดฉายอย่างรวดเร็ว เช่นโปรแกรมเมอร์ เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ก็ยังต้องการคนที่คอยกำกับ เขียนโครงสร้างเพื่อให้ซอฟต์แวร์เหล่านี้คิดเองได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้มีเด็กรุ่นใหม่หันมาเรียนด้านไอทีกันมากขึ้น นั่นเพราะเราก้าวสู่ยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี หากใครปรับตัวก่อนก็จะได้เปรียบก่อนทั้งในเชิงแรงงานและโอกาสที่จะตามมา

สำหรับด้านการปรับตัว World Economic Forum ได้รวบรวม 10 ทักษะที่จำเป็นต้องมีในปี 2020 ไว้ดังนี้

  1. การแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex Problem Solving)
  2. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
  4. การบริหารจัดการคน (People Management)
  5. การประสานงานร่วมกับผู้อื่น (Coordinating with Others)
  6. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
  7. การตัดสินใจ (Judgment and Decision Making)
  8. การคิดเชิงการให้บริการ (Service Orientation)
  9. การต่อรอง (Negotiation)
  10. ความยืดหยุ่นในการปรับกระบวนการคิดให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ (Cognitive Flexibility)

(ลำดับความสำคัญของทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอดีตและอนาคตที่เปลี่ยนไป)

ซึ่งนอกจาก Skillset ข้างต้นก็ยังมีเรื่องของภาษาอังกฤษที่คนไทยจะสามารถแข่งขันใน Global Workforce ได้ อีกส่วนสำคัญที่เป็นตัวผลักดันให้ก้าวต่อไป คือกระบวนการวิธีคิดและการปรับเปลี่ยน Mindset เพราะปัจจุบันมีข้อมูลทั้งเท็จและจริงเยอะมาก ฉะนั้นไม่ว่าจะได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไรมาก็ตาม อย่าเพียงแค่จดจำหรือท่องจำเท่านั้น แต่ต้องการคิดวิเคราะห์และหาเหตุผลให้ลึกซึ้งมากขึ้น และการอัพเดทเทรนด์ใหม่ๆก็ยังถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสและต่อยอดโอกาสไปอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น

ด้าน HR ก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกัน เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนหางานเปลี่ยนและพฤติกรรมการหางานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป หลายๆอาชีพอาจไม่จำเป็นต้องทำงานประจำหรือทำงานแค่ในออฟฟิศ แต่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ ส่งผลให้ผู้คนหันมาเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะพวกเขาคาดหวังที่จะมีอิสระและได้รับความยืดหยุ่นจากบริษัท ฉะนั้นด้านบริษัทหรือองค์กรเองก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ดึงดูดผู้สมัครงานด้วย เช่น การปรับบรรยากาศในที่ทำงาน สร้างวัฒนธรรมที่น่าอยู่ ไม่กดดันเรื่องขั้นตอนและรูปแบบการทำงานที่เน้นหนักในเรื่องกฎระเบียบหรือวิธีการทำงานวิธีใดวิธีเดียว คนรุ่นใหม่ชอบทำในวิธีของพวกเขาเอง เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงเป้าหมายที่วางร่วมกันไว้ สิ่งนี้มันไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเก่งแล้วทำเองได้ แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเจ้านายต้องเข้าใจแล้วปรับเปลี่ยนตัวเองมาเป็นโค้ช ที่คอยระดมความคิด ส่งมอบประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหาร่วมกัน

ทั้งนี้การตัดสินใจแก้ปัญหายังเป็นการวัดศักยภาพความเป็นผู้นำ แต่คนไทยส่วนมากมักไม่กล้าตัดสินใจเนื่องจากวัฒนธรรมไทยไม่ได้เชิดชูการเรียนรู้ความผิดพลาดหรือความล้มเหลว แต่ยังไงก็ตาม การตัดสินใจมันก็สามารถพลิกกลับมาได้

ตัวอย่างเช่น Jeff Bezos CEO and Founder, Amazon.com กล่าวว่า การตัดสินใจที่จะออกจากงานแบบ Corporate มาเป็น Startup ขณะนั้น เขาก็มีเพื่อนออกจาก Consulting มาทำ Startup เช่นเดียวกัน ซึ่งเพื่อนของเขาล้มเหลวเนื่องจากตัดสินใจช้าไป จากนั้นเพื่อนของเขาก็ได้กลับไปทำ Consulting บริษัทเดิม ซึ่งมันสามารถพลิกกลับมาทำได้ มันยังดีกว่าการที่คุณไม่ได้ตัดสินใจลองทำอะไรใหม่ๆเพียงเพราะแค่ความกลัวเท่านั้น

Special thanks | GetLinks, CareerVisa, WorkVenture & STARTUP THAILAND