พิโกไฟแนนซ์ เปลี่ยนสินเชื่อนอกระบบ ให้ปลอดภัยทั้งผู้ปล่อยและผู้กู้


กระทรวงการคลังเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบให้แก่ประชาชนรายย่อย ในขณะเดียวกันก็เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่ประชาชนจึงอนุญาตให้มีการทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อยแบบใหม่ขึ้นคือ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังหรือพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งกระทรวงการคลัง อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อได้ โดยสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการและค่าธรรมเนียมใดๆจากลูกหนี้ได้ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี

แต่การให้สินเชื่อ “พิโกไฟแนนซ์” เป็นกิจการที่มีลักษณะคล้ายกันกับกิจการของธนาคาร จึงต้องขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังนั้นผู้ที่ให้สินเชื่อแก่บุคคลอื่นในทางการค้าและมีลักษณะการปล่อยสินเชื่อที่เข้าข่ายตามลักษณะ ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง และดำเนินงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะผู้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจกำหนด

คุณสมบัติผู้ที่จะทำธุรกิจปล่อยเงินกู้

ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล 3 ประเภท ดังนี้

  1. ห้างหุ้นส่วน
  2. บริษัทจำกัด
  3. บริษัทมหาชนจำกัด

เมื่อผ่านการอนุมัติให้ประกอบธุรกิจ นิติบุคคลที่จะทำการปล่อยสินเชื่อสามารถกำหนดเงื่อนไขการปล่อยกู้เองได้ เช่น ผู้ยื่นขอสินเชื่อจะต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำ หรือไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้ แต่อัตราดอกเบี้ยต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน (แบบ effective rate – แบบลดต้นลดดอก) ไม่เกิน ร้อยละ 36 ต่อปี และสามารถให้วงเงินแก่ลูกหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย

อ่านเรื่อง : สายหนี้นอกระบบมีเฮ! 232 แหล่งเงินทุนท้องถิ่นแห่ตั้ง “พิโกไฟแนนซ์”

ข้อมูลเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ https://goo.gl/hYJqvo

02-169-7130 สายด่วน 1359

 อีเมลล์ [email protected]