8 สูตรเลือกแฟรนไชส์ที่ดี !!


8 สูตรเลือกแฟรนไชส์ที่ดี !!

  1. ขนาดของกิจการ
    ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนาดหน้าร้านที่ใหญ่โตเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จใยสายตาคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสาขา ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพื้นฐานที่สามารถนำพาไปพิจารณาเปรียบเทียบธุรกิจรายอื่นในเบื้องต้นได้ค่อนข้างชัดเจน
  2. อายุของกิจการ
    ยิ่งระยะเวลานานมากเท่าใด ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ที่เจ้าของกิจการมีต่อลักษณะธุรกิจและภาพรวมของตลาด ซึ่งพร้อมจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ทำตาม รวมถึงทิศทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคตด้วย
  3. ผลกำไรของกิจการ
    คงไม่มีใครอยากลงทุนในกิจการที่ไม่มีกำไร ฉะนั้นหากกิจการนั้นไม่มีกำไร หรือปรพสบภาวะขาดทุน ก็ส่อแววไม่สดใสเสียแล้ว เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นวิถีของการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ไม่ใช่วิธีเพื่อแสวงหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาความล้มเหลว อย่างไรก็ตาม การจะรู้ผลกำไร/ขาดทุนของธุรกิจอาจค่อนข้างยากสักหน่อย แฟรนไชส์ซอร์อาจใช้วิธีสอบถามจากผู้ประกอบการสาขา
  4. ความเป็นไปได้ในการทำการตลาด
    ใช่ว่าระบบแฟรนไชส์จะเหมาะสมกับทุกธุรกิจ เพราะถึงแม้ว่าผลประกอบการของกิจการก่อนหน้านี้จะประสบความสำเร็จ แต่การขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิม ซึ่งผู้สนใจร่วมลงทุนจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในเชิงการตลาดด้วยว่าเป้นเช่นไร กล่าวคือ ธุรกิจจะต้องสามารถเป็นที่ต้องการของทั้งกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ร่วมธุรกิจ เพราะหากระบบปฏิบัติการยาก หรือลงทุนสูงจะเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
  5. ความมีเอกลักษณ์
    ความมีเอกลักษณ์ในตัวสินค้า/บริการ เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ เพราะสามารถเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจจะมีเอกลักษณ์ แต่แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์
  6. ความพร้อมในการถ่ายทอดของแฟรนไชส์ซฮร์
    หากธุรกิจที่สนใจมีชื่อเสียง กิจการใหญ่โต และมีแววรุ่ง ตัวแฟรนไชส์ซอร์เองก็เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ มีกลยุทธ์รอบด้าน แต่กลับขาดการเป็นผู้ถ่ายทอดที่ดี คือไม่สามารถวางโมเดลธุรกิจทั้งกระบวนการผลิต การตลาด และบริหารจัดการอย่างมีระบบ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ให้แก่แฟรนไชส์ซีได้ การทำธุรกิจก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากระบบแฟรนไชส์คือการก๊อบปี้รูปบแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาดำเนินการด้วยผู้ประกอบการณ์อีกรายหนึ่ง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้แฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับตนเองได้ด้วย
  7. ความพร้อมในการถอดแบบของธุรกิจ
    การพิจารณาระบบธุรกิจเป้นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ เพราะหากโมเดลธุรกิจมีความซับซ้อนและถูกจัดวางอย่างไม่เป็นระบบ ก็ยากที่จะถอดแบบมาดำเนินนการได้ อีกทั้งควรพิจารณาด้วยว่าแฟรนไชส์ซอร์มีการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำธุรกิจในรูปของคู่มือด้วยหรือไม่ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถทบทวนความรู้เมื่อต้องการด้วย ทั้งนี้จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีมั่นใจได้ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้แฟรนไชส์ซอร์ควรกำหนดบทบาทที่ชัดเจนของทั้งแฟรนไชส์ซฮร์และแฟรนไชส์ซี โดยแฟรนไชส์ซอร์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี ระบบและให้สิทธิการใช้แบนด์เท่านั้น แต่จะไม่เข้าไปทำธุรกิจ ในขณะที่แฟรนไชส์ซี จะทำหน้าที่ ในการลงทุน ดูแลสาขา ดูแลลูกค้า และบริหารงานภายใต้แผนธุรกิจ
  8. ขนาดของการลงทุน
    สิ่งสำคัญประการสุดท้าย คือการพิจารณาถึงขนาดการลงทุนของแฟรนไชส์นั้นว่าเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปขนาดการลงทุนจะประกอบด้วย ค่าแรกเข้า ค่า Royalty Fee ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เป้นต้น หากเป็นการลงทุนมากเกินไป อาจกลายเป้นการแบกภาระ หรือน้อยเกินไปอาจส่อแววถึงความไม่มั่นคงของธุรกิจ เนื่องจากการที่เงินระดมทุนของแฟรนไชส์ซอร์จะกระทบต่อการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นผลพวงถึงแฟรนไชส์ในอนาคตได้