ที่จะต้องมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ทั้งในส่วนที่เป็นมาตรการทางภาษี หรือTax intensive และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี หรือ Non tax intensive เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามา ลงทุนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาเมืองและพัฒนาประเทศในอนาคต
หนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ สมาร์ทซิตี้
โดยโครงการนี้จะไม่ใช่การลงทุนรูปแบบเดิม ที่จะให้การส่งเสริมรายอุตสาหกรรมต่างๆ แต่เป็นเรื่องของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้มีความทันสมัยและรองรับกับเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานเรื่องดิจิทัล และการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big data ซึ่งบีโอไอต้องมีเครื่องมือเหล่านี้เอาไว้รองรับการลงทุนในอนาคต
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการสร้างเมืองอัจฉริยะ นำร่องพัฒนาต้นแบบใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และ 3 จังหวัดในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 จังหวัด ซึ่งจะสร้างเสร็จในปี 2561 จากนั้นรัฐบาลมีแผนที่จะขยายโครงการเมืองอัจฉริยะไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศภายในปี 2564
นอกจากนี้นายสุวิทย์ ยังได้มอบนโยบายให้บีโอไอปรับรูปแบบการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจังหวัด และแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยจากการที่คณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปประชุม ครม.สัญจรนอกสถานที่ใน จังหวัดนครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา มีแนวทางการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจและจะขยายรูปแบบนี้ไปอีกหลายจังหวัด