โดยคณะกรรมการค่าจ้างเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งมีผู้แทนทั้งฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และราชการ ฝ่ายละ5 คน และยังมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่จะให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้าง
กระทรวงแรงงาน มองค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเครื่องมือปกป้อง
สำหรับค่าจ้างขั้นต่ำ ถือเป็นเคื่องมือปกป้องแรงงานแรกเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อมิให้แรงงานแรกเข้าทำงานถูกปฏิบัติจากนายจ้างอย่างไม่ถูกต้อง หรือจ่ายค่าจ้างที่ต่ำจากที่ควรจะเป็น ประกอบกับคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งมีตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างนั่งอยู่ด้วย สามารถชี้แจงความต้องการของฝ่ายลูกจ้างได้ทุกประเด็น เพื่อให้คณะกรรมการท่านอื่นๆ ได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลเหตุผล โดยที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถเข้าไปชี้นำ หรือแทรกแซงให้เป็นอย่างอื่นได้
สำหรับการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำวันละ 712 บาท ของ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้นำกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นั้น หากมองในมุมกลับของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการผลิต การลงทุน และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังฟื้นตัว และเป็นช่วงเวลาของการจูงใจให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศสนใจที่จะมาลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
เพื่อโอกาสในการจ้างงานก็จะสูงมากขึ้นไปตามลำดับด้วยนั้น การเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนคิดอย่างไร ผลดีหรือผลเสียเกิดขึ้นกับใคร “เรียกได้ แต่ไม่มีคนจ้าง” เหมือนกับตั้งราคาขายสินค้าไว้สูง แต่ไม่มีคนซื้อ จึงเป็นการเรียกร้องที่ไม่มีประโยชน์
นายวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงานยังคงผลักดันให้แรงงานไทยได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานต่อไป เพื่อรองรับการผลิตที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ และค่าจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งรัดจัดทำหลักสูตรและเปิดรับให้แรงงานไทยมีโอกาสและทางเลือกที่จะพัฒนาฝีมือของตนเองให้มีความพร้อมและมีมาตรฐานฝีมือ
เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับแรงงานเอง ดังนั้นค่าจ้างที่จะได้รับก็ต้องสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้ให้การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้วกว่า 68 สาขาอาชีพ ได้ค่าจ้างสูงสุดถึง 815 บาท/วัน และภายในปีงบประมาณ 2561 จะให้การรับรองเพิ่มขึ้นอีกกว่า 16 สาขาอาชีพ
อ่านเรื่อง: ลูกจ้างเฮ! กฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ สวัสดิการเพียบ